Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 พฤศจิกายน 2556 AIS ชี้สัดส่วนการใช้ INTERNET ( AIS 42%)( DTAC 30%)( TRUE 28%) // สัดส่วนทางการตลาด ( AIS 43%)( DTAC 31%)( TRUE 26%)


ประเด็นหลัก


"สุนีย์ โรจนโอฬารรัตน์" ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริการเสริม และ 3G บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดเผยว่า ผู้ใช้มือถือในประเทศไทย ปัจจุบันมี 79 ล้านราย หรือ 110% ของประชากร แต่มีซิมการ์ดหรือเบอร์ถึง 90 ล้านเลขหมาย มีอัตราการเข้าถึงอุปกรณ์มือถือถึง 132% ของประชากร 67 ล้านคน

ธุรกิจต่าง ๆ จึงใช้ช่องทางดังกล่าวเข้าถึงผู้บริโภคได้ โดยคนไทยมีพฤติกรรมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 250 ล้านครั้ง/วัน มีการใช้งาน "น็อนวอยซ์" เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ยังมีสัดส่วนไม่มากเท่าบริการด้านเสียง

"เอไอเอสมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาด 90 ล้านเครื่อง หรือ 43% ขณะที่ดีแทคมีส่วนแบ่ง 31% ทรูมูฟ เอช 26% ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในไทยมีประมาณ 35 ล้านคน เป็นลูกค้าเอไอเอส 42% ทรูมูฟ เอช 28% และดีแทค 30%"


______________________________________



เมื่อเทคโนโลยีขับเคลื่อนธุรกิจ รู้ทัน-เข้าถึงผู้บริโภคยุคดิจิทัล



อย่างที่รู้กันว่า จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในบ้านเราโตแซงหน้าประชากรในประเทศไปไกลมาก ยิ่งมีแรงส่งจากการขยายเครือข่าย 3G ของค่ายมือถือกับความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟน และโซเชียลเน็ตเวิร์ก ยิ่งเร่งให้ภาพรวมตลาดในหลายด้านเติบโต และเปลี่ยนแปลง ทั้งการใช้ดาต้า, จำนวนสมาร์ทโฟน, การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ อีกมาก


ย่อมมีโอกาสใหม่ ๆ ที่แปรสภาพเป็นวิกฤตได้เช่นกัน หากปรับไม่ได้-รู้ไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ในงานสัมมนา Digital Evolution โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีข้อมูลน่าสนใจที่ไม่ควรมองข้าม

เร่งปักธงสมาร์ทไทยแลนด์

น.อ. (พิเศษ) สุรพล นะวะมวัฒน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า11 ปีที่แล้วมีคนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก 500 ล้านคน มีการใช้งานเฉลี่ย 46 นาที/วัน

มีเว็บไซต์กว่า 3 ล้านเว็บ แต่ปี 2555 ผู้ใช้เพิ่มเป็น 2,200 ล้านคน ใช้งานเฉลี่ย 4 ชั่วโมง/วัน มีเว็บไซต์ 555 ล้านเว็บ

ในประเทศไทย จากประชากร 20 ล้านครัวเรือน เข้าถึงอินเทอร์เน็ต 14 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็นบรอดแบนด์ทางสายกว่า 4 ล้านครัวเรือน ซึ่งน้อยมาก แต่ชดเชยด้วยโครงข่ายไร้สายที่มีอยู่กว่า 9 ล้านครัวเรือน โดยกระทรวงไอซีทีเดินหน้าผลักดันโครงการสมาร์ทซิตี้ ในปีนี้จะขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมอีก 10 จังหวัด คาดว่าใน 2 ปีทั่วประเทศตามนโยบาย "สมาร์ทไทยแลนด์" ทำให้คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็น 48 ล้านคน จีดีพีโต 9.8% มีงานใหม่อีก 2 แสนตำแหน่ง

คนใช้มือถือทะลุ 90 ล้าน

"สุนีย์ โรจนโอฬารรัตน์" ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริการเสริม และ 3G บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดเผยว่า ผู้ใช้มือถือในประเทศไทย ปัจจุบันมี 79 ล้านราย หรือ 110% ของประชากร แต่มีซิมการ์ดหรือเบอร์ถึง 90 ล้านเลขหมาย มีอัตราการเข้าถึงอุปกรณ์มือถือถึง 132% ของประชากร 67 ล้านคน

ธุรกิจต่าง ๆ จึงใช้ช่องทางดังกล่าวเข้าถึงผู้บริโภคได้ โดยคนไทยมีพฤติกรรมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 250 ล้านครั้ง/วัน มีการใช้งาน "น็อนวอยซ์" เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ยังมีสัดส่วนไม่มากเท่าบริการด้านเสียง

"เอไอเอสมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาด 90 ล้านเครื่อง หรือ 43% ขณะที่ดีแทคมีส่วนแบ่ง 31% ทรูมูฟ เอช 26% ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในไทยมีประมาณ 35 ล้านคน เป็นลูกค้าเอไอเอส 42% ทรูมูฟ เอช 28% และดีแทค 30%"

ด้าน "จักรพงษ์ คงมาลัย" ผู้จัดการอาวุโสด้านคอนเทนต์แอนด์เซอร์วิส จาก "ซัมซุง" เสริมว่า มีคนใช้อินเทอร์เน็ตในไทยประมาณ 25 ล้านคน เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4.5 ล้านคน อยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง 31% รองลงมาเป็นอีสาน 18% และภาคใต้ 18% ขณะที่ภาคเหนือมี 12% ภาคตะวันออก 9%

กลุ่มคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด มีอายุระหว่าง 12-17 ปี คิดเป็น 31.67% รองลงมาอายุระหว่าง 18-23 ปี ที่ 23.67% และอายุระหว่าง 24-35 ปี คิดเป็น 22.75% คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่โตมากับเทคโนโลยีดิจิทัล ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงและเล่นเกม

สร้างแบรนด์ยุคดิจิทัล

"คนไทยใช้เฟซบุ๊ก 23 ล้านคน ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงเฟซบุ๊ก ยังพบว่าคนไทยมักเสิร์ชข้อมูลก่อนซื้อสินค้าถึง 78% และ 58% เชื่อตามรีวิวสินค้าบนอินเทอร์เน็ต อีก 32% นำข้อมูลที่พบไปโพสต์บอกคนอื่นอีกต่อ หากคุณเป็นแบรนด์สินค้า คุณจำเป็นต้องใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กในการเข้าถึงความคิดเห็นของผู้บริโภค"

ทั้งลูกค้ายังต้องการรู้สึกว่าแบรนด์ได้ยินคำพูดของเขาด้วย โดยปีหนึ่ง วงการโฆษณาไทยใช้เงินประมาณ 1 แสนล้านบาท ใช้กับดิจิทัล 3% มีโอกาสโตเฉลี่ยปีละ 48%

เทรดหุ้นออนไลน์สุดฮอต

"เฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์" รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบซื้อขายสำหรับสมาชิก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นักลงทุนรายย่อยเริ่มหันมาซื้อขายหุ้นออนไลน์มากขึ้น ทุกโบรกเกอร์ใช้ระบบซื้อขายหุ้น SET Trade อยู่แล้ว และคงเพิ่มขึ้นอีก โดยปัจจุบันคนไทยนิยมใช้แอป Settrade Streaming บนไอแพดมากที่สุด เพราะหน้าจอใหญ่ ดูข้อมูลได้ครบถ้วนกว่า รองลงมาเป็นไอโฟน และแอนดรอยด์

ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีสัดส่วนการซื้อขายหุ้นออนไลน์ 70-80% เช่น ในเกาหลีเทรดหุ้นผ่านเน็ตมากกว่า 90%

ฟากแบงก์กสิกร "สีหนาถ ล่ำซำ" ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์การชำระเงินและช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ บมจ.กสิกรไทย พูดถึงภาพรวมการทำธุรกิจผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตในไทยว่า รูปแบบการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ตมีช่องทางมากขึ้น วันนี้ 1 คนใช้ดีไวซ์มากถึง 3 จอ โดยเปลี่ยนอุปกรณ์ในการใช้งานไปเรื่อย ๆ ในแต่ละเวลาจากคอมพิวเตอร์พีซี มาเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเลต

คนทั่วไปเข้าถึงการทำธุรกรรมออนไลน์ได้ง่าย โดยข้อมูลการสำรวจของ "กสิกร" พบว่าทุกวันนี้อีคอมเมิร์ซแบบบีทูซี (ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค) ในไทยมีมากถึง 75.2% รองลงมาเป็นบีทูบี (ซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการ) 23.4% และบีทูจี (ผู้ประกอบการกับภาครัฐ) อยู่ที่ 1.4% โดยอุตสาหกรรมที่ใช้มากเป็นอันดับ 1 คือท่องเที่ยว คิดเป็น 32.8% อันดับ 2 คือสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอที 14.5% อันดับ 3 คือสินค้าแฟชั่น มีสัดส่วน 12.6%

เหตุผลที่ อีคอมเมิร์ซŽ บูม

"ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยน่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าเลขสองหลัก มีปัจจัยมาจากการที่ร้านค้าผันตัวเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะโซเชียลคอมเมิร์ซ หรือการค้าขายผ่านโซเชียลมีเดีย ผู้บริโภคมีช่องทางในการเข้าถึงร้านค้าออนไลน์ได้จากอุปกรณ์ทุกชนิด ทุกเวลา ทุกสถานที่ส่วนรูปแบบการชำระเงินออนไลน์ในไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเกิดเครือข่าย 3G"

ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยยังใช้วิธีชำระเงินผ่านบัตรเดบิต และบัตรเครดิต เพียง 25% อีก 75% ใช้วิธีจ่ายด้วยเงินสด ชี้ให้เห็นว่าธนาคารยังมีโอกาสอีกมากในการดึงคนให้เข้ามาในระบบ โดยการชำระเงินซื้อสินค้าออนไลน์ของลูกค้าเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย 52% จากบัตรเครดิตของธนาคารอื่น 27%

ขณะที่การใช้บัตรเดบิตของกสิกรเพื่อจ่ายเงินซื้อสินค้าออนไลน์มีน้อยมากแค่ 1% คาดว่า ต่อไปธนาคารต่าง ๆ จะกระตุ้นให้คนใช้บัตรเดบิตจ่ายเงินออนไลน์มากขึ้น

"เหตุผลหลักที่คนไทยสนใจขายสินค้าผ่านออนไลน์ คือ เริ่มต้นธุรกิจได้เร็ว, ต้นทุนต่ำ และช่วยเพิ่มช่องทางการซื้อขาย แต่ผู้ประกอบการยังกังวลเรื่องลูกค้ายกเลิกสั่งจองสินค้า, ไม่ชำระเงิน และลูกค้าไม่เชื่อใจร้านค้าออนไลน์นั้น ๆ ส่วนเหตุผลหลักที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ คือความสะดวกสบาย, ราคาถูกกว่า และเปิด 24 ชั่วโมง แต่ยังกังวลเรื่องความปลอดภัยในการจ่ายเงินเป็นหลัก ซึ่งธนาคารช่วยแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างวิธีรับประกันสินค้าและคืนเงิน"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1385097114

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.