Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.นที ระบุถึงความเท่าเทียม โดย กำหนดให้การประมูลมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ คุณสมบัติ-ประมูล-ขออนุญาต กออกแบบให้ง่าย ชัดเจน โปร่งใส ทั้งเอกสารการตรวจสอบ ด้


ประเด็นหลัก

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า กสท. กำหนดให้การประมูลมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ คุณสมบัติ-ประมูล-ขออนุญาต ขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน กำหนดให้ไว้ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การขออนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ผู้ชนะการประมูลต้องดำเนินการ ขั้นตอนแรก ถูกออกแบบให้ง่าย ชัดเจน โปร่งใส ทั้งเอกสารการตรวจสอบ ด้วยกระบวนการที่มีหลักเกณฑ์ล่วงหน้าที่ชัดเจน โดยการกำหนดคุณสมบัติในขั้นตอนแรก เป็นคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด การวางหลักประกัน การรับรองของสถาบันการเงิน และการตรวจสอบความสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วมการประมูล เพื่อป้องกันการสมยอมในการเสนอราคา (ฮั้ว) และตัวแทน (นอมินี)

"ในการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิตอลนั้น กสท. ได้ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายรับรองตนเองในการเข้าร่วมประมูล ทำให้ขั้นตอนการตรวจสอบและการใช้ดุลยพินิจโดยผู้เชี่ยวชาญ และ กสท. ลดลง เป็นภาระที่ผู้เข้าประมูลต้องตรวจสอบรับผิดชอบครับ" ประธาน กสท. กล่าว.


______________________________________



ประธานกสท. แจง ประมูลทีวีดิจิตอลซับซ้อนเพื่อความเท่าเทียม


ประธาน กสท.โพสต์ทวิตเตอร์ส่วนตัว ชี้แจงการประมูลทีวีดิจิตอล ต้องมีขั้นตอนซับซ้อน เพื่อสร้างความเท่าเทียม และป้องกันฮั้วประมูล และนอมินี...

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 56 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสท.) โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัว อธิบายเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ประเภทบริการธุรกิจ ระบุว่า กฎหมายกำหนดให้มีการจัดสรร โดยวิธีการประมูล และปกติการประมูลประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน คือ การตรวจสอบคุณสมบัติ การตรวจสอบข้อเสนอทางเทคนิค และการประมูล

พ.อ.นที อธิบายว่า การตรวจสอบคุณสมบัติ เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นเอกสารการประมูลและความสัมพันธ์ระหว่างกัน ของผู้เข้าร่วมประมูล ส่วนการตรวจสอบข้อเสนอทางเทคนิค มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมของผู้เข้าร่วมประมูล

ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า การประมูลคลื่นความถี่ สำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอล มีข้อกำหนดของกฎหมาย เฉพาะผู้ได้รับการอนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่ จะได้รับการอนุญาตประกอบกิจการบริการโทรทัศน์และวิทยุคมนาคมไปด้วยในคราวเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมที่สุดในการประมูล

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า กสท. กำหนดให้การประมูลมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ คุณสมบัติ-ประมูล-ขออนุญาต ขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน กำหนดให้ไว้ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การขออนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ผู้ชนะการประมูลต้องดำเนินการ ขั้นตอนแรก ถูกออกแบบให้ง่าย ชัดเจน โปร่งใส ทั้งเอกสารการตรวจสอบ ด้วยกระบวนการที่มีหลักเกณฑ์ล่วงหน้าที่ชัดเจน โดยการกำหนดคุณสมบัติในขั้นตอนแรก เป็นคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด การวางหลักประกัน การรับรองของสถาบันการเงิน และการตรวจสอบความสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วมการประมูล เพื่อป้องกันการสมยอมในการเสนอราคา (ฮั้ว) และตัวแทน (นอมินี)

"ในการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิตอลนั้น กสท. ได้ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายรับรองตนเองในการเข้าร่วมประมูล ทำให้ขั้นตอนการตรวจสอบและการใช้ดุลยพินิจโดยผู้เชี่ยวชาญ และ กสท. ลดลง เป็นภาระที่ผู้เข้าประมูลต้องตรวจสอบรับผิดชอบครับ" ประธาน กสท. กล่าว.

โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/385469

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.