28 พฤศจิกายน 2556 posttoday ระบุ 3G และ 4G ไทยโตมาก!! 2-3 ปีข้างหน้าจะมีสภาพเดียวกับญี่ปุ่น เพราะไลน์มีการใช้งานสูงมาก AIS DTAC TRUE CAT TOT ต้องปรับตัวแทนการใช้บริการเสียง
ประเด็นหลัก
สำหรับในประเทศไทยมี 3จี และ 4จี ทำให้รายได้จากอินเทอร์เน็ตไร้สายเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่เชื่อว่าใน 2-3 ปีข้างหน้าจะมีสภาพเดียวกับญี่ปุ่น เพราะไลน์มีการใช้งานสูงมากในไทย ถ้าโครงข่ายแข็งแรงมากพอ คนจะแชตและโทรผ่านไลน์ รวมถึงแอพอื่นๆ แทนการใช้บริการเสียง ซึ่งเอไอเอส ดีแทค และทรู ต้องเร่งหาทางออก เพื่อรับมือ
ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ตทางสาย ไทยมีการให้บริการประมาณ 7% ของครัวเรือนถือว่าต่ำมาก แต่แนวโน้มคือรายได้จากบริการนี้จะคงที่ไม่ลดลง เนื่องจากมีรูปแบบบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น วีโอไอพี ไอพีทีวี และบริการรีโมตต่างๆ ผ่านไฟเบอร์ทูเดอะโฮม ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับทรูและทีโอที โดยทั้งส่วนของโมบายและทางสายจะต้องสร้างอีโคซิสเต็มส์ใหม่ให้เกิดขึ้นใน 2-3 ปีนี้
นอกจากนี้ การพัฒนาโทรคมนาคมและไอทีในประเทศไทย ต้องการการวางแผนโดยภาครัฐเพื่อให้มีทิศทางที่ชัดเจน เช่น ในสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ที่มีแผนโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติที่รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน
______________________________________
ส่องอนาคตโทรคม-ไอทีท่ามกลางการเมืองระอุ
โทรคมนาคมและไอที เป็นอุตสาหกรรมที่ชี้วัดให้เห็นถึงการพัฒนาและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ภาคธุรกิจมีเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพ นำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งครั้งนี้ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน พร้อมด้วย มาร์ค ไอน์สไตน์ นักวิเคราะห์ไอซีที ได้ร่วมกันเปิดเผยแนวโน้มและวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจ
เริ่มต้นด้วยการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบริการรูปแบบอื่นๆ โดยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการใช้ประมาณ 60% ของประชากร ขณะที่ไทยอยู่ที่ 30% ส่วน 3 ประเทศแรกที่มีการใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุดคือ เกาหลีใต้ 85% สิงคโปร์ 75% และสหราชอาณาจักร 68% เชื่อว่าการเปิดให้บริการ 3จี และ 4จี จะเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นการใช้งานให้เพิ่มขึ้น
ขณะที่แท็บเล็ตทั่วโลกยังมีอัตราการใช้ต่ำกว่า 50% โดยสิงคโปร์มีการใช้มากที่สุด 45% ตามด้วยสหราชอาณาจักร 41% ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ 6% ของประชากร และยังพบว่า ผู้ใช้แท็บเล็ตบริโภคคอนเทนต์แบบเสียเงินมากกว่าสมาร์ทโฟน 4 เท่า แสดงว่าการเพิ่มจำนวนของการใช้แท็บเล็ตจะทำให้อุตสาหกรรมพัฒนาคอนเทนต์ขยายตัวมากขึ้น
ด้านตัวเลขผู้ใช้สมาร์ทโฟนปีนี้อยู่ที่ 15 ล้านราย ปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20 ล้านราย และเป็น 27 ล้านรายในปีถัดไป ส่วนแท็บเล็ตปีนี้มีผู้ใช้ 4 ล้านราย จะเพิ่มเป็น 7.5 ล้านรายปีหน้า ขณะที่จำนวนการใช้งาน พบว่า 3 ระบบปฏิบัติการหลักเรียงตามลำดับคือ แอนดรอยด์ 60% ไอโอเอส 20% และอื่นๆ 20% ส่วนใหญ่คือ วินโดวส์โฟน ส่วนซิมเบี้ยนและแบล็คเบอร์รี่ยังใช้งานน้อย
“การเปิดตัวไอโฟน 5 ซี แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้แอปเปิลไม่ได้ต้องการสินค้าราคาถูก แต่ต้องการสินค้าคุณภาพที่บ่งบอกความเป็นแอปเปิล ส่วนแอนดรอยด์ด้วยความหลากหลายทำให้ยังเป็นอันดับ 1 ในตลาด แต่ไอโอเอสคือระบบที่สร้างรายได้จากคอนเทนต์ 66% เป็นอันดับ 1 อยู่ ขณะที่วินโดวส์โฟนต้องเป็นระบบเปิดมากกว่านี้” ไอน์สไตน์ กล่าว
การใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มากขึ้น ทำให้รูปแบบบริการและรายได้จากบริการของผู้ให้บริการมือถือเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ในญี่ปุ่น แอพพลิเคชั่น ไลน์ มีบทบาทมาก ทำให้คนเปลี่ยนมาแชตและโทรผ่านไลน์มากกว่าการใช้บริการเสียง ส่งผลให้รายได้จากบริการเสียงของผู้ให้บริการใน|ญี่ปุ่นลดลงเฉลี่ย 5% ทุกไตรมาส และบริการด้านอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือก็ไม่เติบโตขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการต้องขยายบริการใหม่ๆ รวมถึงขยายไปยังอุตสาหกรรมใหม่เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
สำหรับในประเทศไทยมี 3จี และ 4จี ทำให้รายได้จากอินเทอร์เน็ตไร้สายเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่เชื่อว่าใน 2-3 ปีข้างหน้าจะมีสภาพเดียวกับญี่ปุ่น เพราะไลน์มีการใช้งานสูงมากในไทย ถ้าโครงข่ายแข็งแรงมากพอ คนจะแชตและโทรผ่านไลน์ รวมถึงแอพอื่นๆ แทนการใช้บริการเสียง ซึ่งเอไอเอส ดีแทค และทรู ต้องเร่งหาทางออก เพื่อรับมือ
ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ตทางสาย ไทยมีการให้บริการประมาณ 7% ของครัวเรือนถือว่าต่ำมาก แต่แนวโน้มคือรายได้จากบริการนี้จะคงที่ไม่ลดลง เนื่องจากมีรูปแบบบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น วีโอไอพี ไอพีทีวี และบริการรีโมตต่างๆ ผ่านไฟเบอร์ทูเดอะโฮม ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับทรูและทีโอที โดยทั้งส่วนของโมบายและทางสายจะต้องสร้างอีโคซิสเต็มส์ใหม่ให้เกิดขึ้นใน 2-3 ปีนี้
นอกจากนี้ การพัฒนาโทรคมนาคมและไอทีในประเทศไทย ต้องการการวางแผนโดยภาครัฐเพื่อให้มีทิศทางที่ชัดเจน เช่น ในสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ที่มีแผนโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติที่รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน
ขณะที่การเมืองมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมมาก และจะมีผลทำให้การพัฒนาล่าช้า แม้จะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่เป็นหน่วยงานอิสระ แต่มีกระบวนการที่เป็นอุปสรรค เช่น ทางกฎหมายและการฟ้องศาลมาขัดขวางอยู่พอสมควร ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น หากเลื่อนเวลาออกไปบ้าง อาจเป็นผลดีเพื่อสร้างการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นของประชาชน
จากทิศทางและวิสัยทัศน์ด้านโทรคมนาคมและไอทีไทย ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นใน 2-3 ปีจากนี้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้บริโภคเตรียมรับมือกันได้เลย
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%
E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/261664/%E0
%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%
E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1-
%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B
2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%
B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8
%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8
ไม่มีความคิดเห็น: