02 ธันวาคม 2556 ASTV เจาะ แฉสัญญาทาส MVNO TOT กับ i-mobile3gx อายุสัญญา 12 ปี ( ถูกจำกัดเทคโนโลยี WCDMA กับ HSPA เท่านั้น,เพิ่มสถานีฐาน,พัฒนา4Gความถี่ไม่พอ,แก้ไขเพิ่มเติมต้องเห็นชอบทั้งคู่ )
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากเซ็นสัญญา MVNO ที่มีประเด็นผูกมัดด้านเทคนิคตามแนบท้ายสัญญาลำดับที่ 5 จะทำให้ทีโอทีเป็นทาสเอกชนไปตราบอายุสัญญา 12 ปีหรือถึงปี 2568 ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. ทีโอทีจะถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะเทคโนโลยี WCDMA กับ HSPA ที่เป็นเทคโนโลยี 3G เท่านั้น ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดไปเพื่อให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE เหมือนอย่างทรูมูฟเอชในปัจจุบันได้ เพราะในสัญญาไม่ได้ให้สิทธิทีโอทีในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็น 4G LTE บนย่านความถี่ 2.1 GHz ของตนเอง ทำให้ทีโอทีไม่สามารถปรับปรุงเทคโนโลยีในอนาคตให้แข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้
2. การกำหนดให้สถานีฐานจำนวน 3,458 สถานีฐานใน กทม.และปริมณฑล ต้องสามารถให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps นั้นเท่ากับบังคับให้ทีโอทีต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เพิ่มจากปัจจุบันมากกว่าพันล้านบาท เพราะสถานีฐานในปัจจุบันที่รองรับความเร็วสูงสุด 42 Mbps มีไม่ถึง 1 พันสถานีฐานใน กทม.เท่านั้น
ประเด็นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะกลุ่มสามารถเป็นผู้ติดตั้งโครงข่าย 3G เฟส 1 ให้ทีโอที ย่อมรู้แก่ใจว่ามีสถานีฐานมากน้อยแค่ไหนที่รองรับความเร็ว 42 Mbps การกำหนดจำนวนสถานีฐานที่มากถึง 3,458 สถานีฐานย่อมหมายถึงอยากขายอุปกรณ์เพิ่มในลักษณะรีพีตออเดอร์วิธีพิเศษ เพราะถือว่าเป็นส่วนขยายเพิ่มของโครงการ
ข้อเท็จจริงเรื่องจำนวนสถานีฐานที่รองรับความเร็วสูงสุด 42 Mbps ไม่เกิน 1 พันแห่ง ปรากฏชัดในทีโออาร์การประมูล 3G เฟส 1 ข้อ 1.3.4.1 “สถานีฐานแบบ Macro Site จำนวน 4,292 แห่ง แบ่งเป็นสถานีฐานที่ติดตั้งในพื้นที่ Dense และ Urban Area ของพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จำนวน 985 สถานี ให้เสนอเป็นแบบ 3 Sectors โดยมีความถี่ในการใช้งาน 2 Carrier สำหรับ Voice และ HSPA ที่ความเร็วสูงสุดในแต่ละ Sector ไม่น้อยกว่า 42 Mbps/11 Mbps (DL/UL)”
“เป็นการสร้างโครงข่ายใหญ่เกินความต้องการใช้จริง สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งในสัญญาไม่ได้มีข้อผูกมัดใดๆ ว่าเอกชนจะต้องซื้อบริการขายส่งขายต่อบริการจากทีโอทีเป็นปริมาณเท่าไหร่จึงจะคุ้มค่าการลงทุน แต่กลับมีข้อสัญญาด้านโครงข่ายมาผูกมัด”
3. การกำหนดให้ 3,458 สถานีฐานใน กทม.และปริมณฑล ต้องใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณให้บริการจำนวน 10 MHz จากความถี่ที่ทีโอทีมีอยู่ทั้งหมด 15 MHz ทำให้แผนทีโอทีที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารที่จะพัฒนาบริการโทรศัพท์มือถือจาก 3G ไปเป็น 4G จำนวน 2 พันสถานีฐานก็จะทำไม่ได้เพราะความถี่ไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องใช้ความถี่อย่างน้อย 10 MHz จึงจะสามารถให้บริการ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถแข่งขันได้
4. ถึงแม้สัญญาจะเขียนไว้ว่าสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็ตาม แต่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งในการประกอบธุรกิจ หากเสียประโยชน์เอกชนก็คงไม่ยอมแก้ไขสัญญาแน่นอน รวมทั้งการผูกมัดสัญญาตามเอกสารแนบท้ายก็สุ่มเสี่ยงเป็นการขัดมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 เนื่องจากทีโอทีในฐานะผู้ได้รับการจัดสรรความถี่ แต่กลับไม่มีสิทธิที่จะใช้ความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมได้อย่างสมบูรณ์
______________________________________
แฉสัญญาทาส MVNO TOT
แฉสัญญาทาส MVNO TOT
แฉเบื้องลึกสัญญา MVNO บริการ 3G ทีโอทีที่จ่อคิวรอเซ็นสัญญากับไอ-โมบาย พลัสของกลุ่มสามารถคอร์ปอเรชั่น พบผูกปมด้านเทคนิคทำให้ทีโอทีต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มกว่า 1 พันล้านบาท มัดมือจำกัดสิทธิด้านความถี่ไม่สามารถพัฒนาระบบไป 4G LTE ได้ ดับอนาคต ดับความหวังธุรกิจมือถือทีโอที
แหล่งข่าวจากบริษัท ทีโอที กล่าวว่า ถึงแม้ร่างสัญญาขายส่งขายต่อบริการโทรศัพท์มือถือ 3G (MVNO) ระหว่างทีโอที กับบริษัท ไอ-โมบาย พลัส ในกลุ่มสามารถคอร์ปอเรชั่น ผ่านการตรวจร่างสัญญาจากอัยการสูงสุดแล้วก็ตาม แต่ผู้บริหารระดับสูงของทีโอทียังมีความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะหากมีการเซ็นสัญญาดังกล่าวจะทำให้ทีโอทีตกเป็นเบี้ยล่างเอกชนทันที
“ในสัญญามีการผูกด้านเทคนิคที่ซับซ้อนเข้ามา หากไม่พิจารณาให้รอบคอบจะเห็นว่าสัญญาไม่มีอะไรตุกติกน่าจะเซ็นได้ แต่ผู้รู้ด้านเทคนิคชี้ให้เห็นว่าถ้าเซ็นสัญญาลงไป ทีโอทีจะไม่สามารถขยายบริการ 4G LTE ได้ และถูกเอกชนยึดบริการนี้ไปในที่สุด”
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องจินตนาการ แต่มีหลักฐานประกอบพิสูจน์ได้ทางวิศวกรรมและเชิงธุรกิจอย่างชัดเจน จากเอกสารแนบท้ายสัญญาลำดับที่ 5 เรื่องโครงข่ายสถานีฐาน (Radio Access Network) โดยผูกมัดให้ระบบโครงข่ายสถานีฐานของทีโอทีให้ใช้มาตรฐานเทคโนโลยี WCDMA (Wideband Code Division Multiple Access) และ High Speed Packet Access (HSPA) บนย่านความถี่ 2.1 GHz โดยใช้ความถี่ย่าน 1965-1980 MHz สำหรับการสื่อสารขาขึ้น (UL) และ 2155-2170 MHz สำหรับการสื่อสารขาลง (DL) โดยมีสถานีฐานทั้งหมด 5,320 สถานีฐาน โดยพื้นที่ที่มีการใช้งานสูงสุด เช่น กทม.และปริมณฑล รวมถึงสถานีฐานที่ติดตั้งในอาคาร ซึ่งมีจำนวน 3,458 สถานีฐาน ต้องสามารถรองรับบริการข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 42 Mbps/11 Mbps (DL/UL)
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากเซ็นสัญญา MVNO ที่มีประเด็นผูกมัดด้านเทคนิคตามแนบท้ายสัญญาลำดับที่ 5 จะทำให้ทีโอทีเป็นทาสเอกชนไปตราบอายุสัญญา 12 ปีหรือถึงปี 2568 ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. ทีโอทีจะถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะเทคโนโลยี WCDMA กับ HSPA ที่เป็นเทคโนโลยี 3G เท่านั้น ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดไปเพื่อให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE เหมือนอย่างทรูมูฟเอชในปัจจุบันได้ เพราะในสัญญาไม่ได้ให้สิทธิทีโอทีในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็น 4G LTE บนย่านความถี่ 2.1 GHz ของตนเอง ทำให้ทีโอทีไม่สามารถปรับปรุงเทคโนโลยีในอนาคตให้แข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้
2. การกำหนดให้สถานีฐานจำนวน 3,458 สถานีฐานใน กทม.และปริมณฑล ต้องสามารถให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps นั้นเท่ากับบังคับให้ทีโอทีต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เพิ่มจากปัจจุบันมากกว่าพันล้านบาท เพราะสถานีฐานในปัจจุบันที่รองรับความเร็วสูงสุด 42 Mbps มีไม่ถึง 1 พันสถานีฐานใน กทม.เท่านั้น
ประเด็นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะกลุ่มสามารถเป็นผู้ติดตั้งโครงข่าย 3G เฟส 1 ให้ทีโอที ย่อมรู้แก่ใจว่ามีสถานีฐานมากน้อยแค่ไหนที่รองรับความเร็ว 42 Mbps การกำหนดจำนวนสถานีฐานที่มากถึง 3,458 สถานีฐานย่อมหมายถึงอยากขายอุปกรณ์เพิ่มในลักษณะรีพีตออเดอร์วิธีพิเศษ เพราะถือว่าเป็นส่วนขยายเพิ่มของโครงการ
ข้อเท็จจริงเรื่องจำนวนสถานีฐานที่รองรับความเร็วสูงสุด 42 Mbps ไม่เกิน 1 พันแห่ง ปรากฏชัดในทีโออาร์การประมูล 3G เฟส 1 ข้อ 1.3.4.1 “สถานีฐานแบบ Macro Site จำนวน 4,292 แห่ง แบ่งเป็นสถานีฐานที่ติดตั้งในพื้นที่ Dense และ Urban Area ของพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จำนวน 985 สถานี ให้เสนอเป็นแบบ 3 Sectors โดยมีความถี่ในการใช้งาน 2 Carrier สำหรับ Voice และ HSPA ที่ความเร็วสูงสุดในแต่ละ Sector ไม่น้อยกว่า 42 Mbps/11 Mbps (DL/UL)”
“เป็นการสร้างโครงข่ายใหญ่เกินความต้องการใช้จริง สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งในสัญญาไม่ได้มีข้อผูกมัดใดๆ ว่าเอกชนจะต้องซื้อบริการขายส่งขายต่อบริการจากทีโอทีเป็นปริมาณเท่าไหร่จึงจะคุ้มค่าการลงทุน แต่กลับมีข้อสัญญาด้านโครงข่ายมาผูกมัด”
3. การกำหนดให้ 3,458 สถานีฐานใน กทม.และปริมณฑล ต้องใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณให้บริการจำนวน 10 MHz จากความถี่ที่ทีโอทีมีอยู่ทั้งหมด 15 MHz ทำให้แผนทีโอทีที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารที่จะพัฒนาบริการโทรศัพท์มือถือจาก 3G ไปเป็น 4G จำนวน 2 พันสถานีฐานก็จะทำไม่ได้เพราะความถี่ไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องใช้ความถี่อย่างน้อย 10 MHz จึงจะสามารถให้บริการ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถแข่งขันได้
4. ถึงแม้สัญญาจะเขียนไว้ว่าสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็ตาม แต่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งในการประกอบธุรกิจ หากเสียประโยชน์เอกชนก็คงไม่ยอมแก้ไขสัญญาแน่นอน รวมทั้งการผูกมัดสัญญาตามเอกสารแนบท้ายก็สุ่มเสี่ยงเป็นการขัดมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 เนื่องจากทีโอทีในฐานะผู้ได้รับการจัดสรรความถี่ แต่กลับไม่มีสิทธิที่จะใช้ความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมได้อย่างสมบูรณ์
“ถึงแม้สัญญาจะผ่านจากอัยการสูงสุดมาแล้วก็ตาม แต่ก็น่าจะทบทวนใหม่ได้ เพราะปมด้านเทคนิคที่ผูกไว้ หากคลายออกให้เห็นข้อเท็จจริงก็น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะสิ่งที่ทำให้สัญญาผ่านมันน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่เอกชนจะได้รับ แต่ที่สำคัญหากทีโอทีเซ็นสัญญาทาส MVNO ก็จะเป็นการดับอนาคต ดับความหวังในธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 3G อย่างสมบูรณ์แบบ”
ด้านนายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวยอมรับว่า คงไม่สามารถเซ็นสัญญา MVNO ได้ทันภายในปีนี้ เพราะผู้บริหารระดับสูงของทีโอทียังมีความกังวลรายละเอียดสัญญาเป็นอย่างมาก
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148945
ไม่มีความคิดเห็น: