02 ธันวาคม 2556 TRUE ยอมรับ การตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม "ทรูโกรท" เป็นการขายทรัพย์สินของ TRUE เพื่อนำเงินมาลดหนี้ โดยเป้าหมาย TRUE โอเปอเรเตอร์ที่ไม่ได้แข่งขันบนเสา
ประเด็นหลัก
- หลังตั้งกองทุนจะเกิดอะไรขึ้นกับทรู
นพ ปฏล : กองทุนนี้เป็นเรื่องสำคัญของทรูในการปรับปรุงโครงสร้างทุนให้เข้มแข็งรองรับ โอกาสในอนาคต การตั้งกองทุนในแง่ทรูเราขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาลดหนี้ ซึ่งทรัพย์สินของเรามีหลายแบบ หลายธุรกิจ ทั้งมือถือ เพย์ทีวี เคเบิลทีวี ไฮสปีดอินเทอร์เน็ต ซึ่งเทียบกับคู่แข่งในแง่ทุนเราอ่อนแอกว่า แต่เมื่อไรที่ลดหนี้ลงได้นอกจากผู้ถือหุ้นจะได้เพิ่มขึ้นแล้ว เราจะแข่งขันได้ดีขึ้น
- ทรูจะเหลืออะไร
คงต้องบอกว่า เราเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ไม่ได้แข่งขันบนเสา (โทรคมนาคม) หรือโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก แต่ลูกค้าซื้อบริการเพราะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการของเรา
______________________________________
ปั้น "ทรูโกรท" ล้างหนี้ เดิมพันอนาคตกลุ่มทรู
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม "ทรูโกรท" (ทรูจีไอเอฟ หรือ TRUEGIF) ตัดสินใจฝ่ากระแสม็อบ เตรียมเปิดขายหน่วยลงทุนให้ได้ภายในปีนี้ และคาดว่าจะระดมทุนได้ 60,000-80,000 ล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินโดยบริษัทกลางอยู่ที่ 70,000 ล้านบาท)
ชื่อก็บอกอยู่แล้ว "ทรูโกรท" ทรัพย์สินที่นำมาเข้ากองทุนจึงย่อมเป็นของกลุ่มทรูล้วน ๆ ประกอบด้วย กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคม 6,000 เสา (ที่ให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ภายใต้ใบอนุญาตของ กสทช.)
กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนำแสงหลัก และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง ความยาว 5,112 กิโลเมตร และบรอดแบนด์ในต่างจังหวัด 1.2 ล้านพอร์ต รวมถึงสิทธิ์ในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่เกิดจากการให้เช่าเสาโทร คมนาคม 5,845 เสา และระบบใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณความยาว 47,250 กิโลเมตร รวมถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจำนวนหนึ่ง
ในเบื้องต้นกองทุนมีรายได้จากค่าเช่าหรือสิทธิ์ในการรับประโยชน์จากรายได้ จาก "กสท โทรคมนาคม" ผ่านกลุ่มทรูเป็นเวลา 12 ปี รายได้จากค่าเช่าบรอดแบนด์ 4,300 ล้านบาท และค่าเช่าเสาโทรคมนาคม 6,000 เสา (ทยอยสร้างในปี 2557-2558 ทยอยส่งมอบทุกไตรมาส) สัญญาเช่า 10 ปี
ปีนี้จ่ายค่าเช่าให้ล่วงหน้า 1,243 ล้านบาท (ค่าเช่าจะเพิ่มปีละ 1-2%)จากที่แจกแจงข้างต้น รวม ๆ แล้วปี 2557 กองทุนจะมีรายได้ 5,357 ล้านบาท หลังหักค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่าง ๆแล้วจะปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนปีละไม่ต่ำกว่า 90% โดยจ่ายเป็นรายไตรมาส
งานนี้ 2 แม่ทัพกลุ่มทรู "นพปฏล เดชอุดม" และ "ทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์"ควง แขนกันมาชี้แจงข้อมูลทั้งหมดในฐานะแม่ทัพการเงิน และ Telecom Asset Manager (ซึ่งต้องรับหน้าที่นำทรัพย์สินที่กลุ่มทรูขายให้กองทุนไปหารายได้เพิ่ม เติม) ชัดเจนว่ากลุ่มทรูมีความตั้งใจที่จะนำเงินที่ได้จากการขาย ทรัพย์สินไปลดหนี้เพื่อทำให้ฐานะทางการเงินของทรูเข้มแข็งขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ
มีคำถามและข้อสงสัยไม่ใช่น้อยทั้งต่ออนาคตของกลุ่มทรู และหรือสำหรับ TRUEGIF เอง
- หลังตั้งกองทุนจะเกิดอะไรขึ้นกับทรู
นพ ปฏล : กองทุนนี้เป็นเรื่องสำคัญของทรูในการปรับปรุงโครงสร้างทุนให้เข้มแข็งรองรับ โอกาสในอนาคต การตั้งกองทุนในแง่ทรูเราขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาลดหนี้ ซึ่งทรัพย์สินของเรามีหลายแบบ หลายธุรกิจ ทั้งมือถือ เพย์ทีวี เคเบิลทีวี ไฮสปีดอินเทอร์เน็ต ซึ่งเทียบกับคู่แข่งในแง่ทุนเราอ่อนแอกว่า แต่เมื่อไรที่ลดหนี้ลงได้นอกจากผู้ถือหุ้นจะได้เพิ่มขึ้นแล้ว เราจะแข่งขันได้ดีขึ้น
- ทรูจะเหลืออะไร
คงต้องบอกว่า เราเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ไม่ได้แข่งขันบนเสา (โทรคมนาคม) หรือโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก แต่ลูกค้าซื้อบริการเพราะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการของเรา
- จะนำเงินที่ได้ไปลดหนี้เท่าไร
นพปฏล : ขึ้นอยู่กับขนาดของกองทุน แต่จะเกินครึ่งของที่ได้มาไปลดหนี้ ขณะที่กลุ่มทรูจะถือกองทุนนี้ไม่น้อยกว่า 18% และไม่เกิน 33%
- โครงข่ายที่โอนไปจะเหลือให้รายอื่นเช่าได้อีกเท่าไร
ทรู จะใช้ 60% ของคาพาซิตี้ที่มี ดังนั้นกองทุนจึงนำเสาโทรคมนาคมอีก 40% ไปขายต่อได้ เสา 1 ต้น อยู่ได้ 4 โอเปอเรเตอร์โดยสันติสุข แต่จริง ๆ มากกว่านั้นก็ยังได้ เช่นเดียวกับไฟเบอร์ออปติกเราเช่าใช้อยู่ 60% อีก 40% นำไปใช้ต่อได้เลย
- มีโอกาสที่คู่แข่งมาใช้โครงข่าย TRUEGIF แค่ไหน
ทรง ธรรม : เมื่อเร็ว ๆ นี้ทั้งเอไอเอสและดีแทคเพิ่งประกาศความร่วมมือในการแชร์ใช้เครือข่ายไวไฟ ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายชัดเจนว่าเพื่อลดต้นทุน ซึ่งก็ไม่ต่างจากประโยชน์ที่ได้จากการเข้ามาใช้โครงข่ายของกองทุนรวมโครง สร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
ดังนั้น จึงมีโอกาสทั้งสำหรับเอไอเอสและดีแทคที่จะไปนำเสนอ เพราะการสร้างเสาหรือไฟเบอร์ออปติกเองคำนวณได้ว่าต้นทุนจะเป็นอย่างไร เฉพาะ การลงทุนในระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ถ้าต้องการให้ครอบคลุมทั่วประเทศต้องการเสาโทรคมนาคมถึง 3 หมื่นเสาต่อ 1 โอเปอเรเตอร์ถึงจะให้บริการได้ครอบคลุมทุกตำบลในประเทศไทย
ในอนาคต ถ้า กสทช.เปิดประมูลคลื่นใหม่ ๆ ยิ่งสัญญาณแคบ เสายิ่งต้องเยอะ ผู้ประกอบการต้องสร้างเสาสัญญาณมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แทนที่จะสร้างกันหมด เสียทรัพยากร ลงทุนซ้ำซ้อน ถามว่าทำไมไม่มารวมกัน
- คู่แข่งก็มาลงทุนในกองทุนได้
นพ ปฏล : การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปโดยมืออาชีพที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. คือไทยพาณิชย์ไม่ใช่ทรู ทั้งยังมีคณะกรรมการที่ปรึกษากองทุนในการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการ ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินด้วย
ในแง่ผู้ลงทุนอยากให้มั่นใจว่า การจัดตั้งกองทุนไม่เกี่ยวกับเสาของทรูมูฟจึงไม่มีความเสี่ยงจากข้อพิพาทกับ กสทฯ ทั้งได้ประโยชน์จากการเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรายแรกที่รวม ทรัพย์สินหลักที่เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคม ประเทศเราต้องประมูลคลื่น ถามว่าจะเอาเงินจากไหนมาประมูล ก็มาจากการประหยัดต้นทุน กองทุนนี้ไม่ใช่ของเรา เราถือได้ไม่เกิน 1 ใน 3 เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังออกแบบกองทุนโดยป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ โดยทรัพย์สินที่เลือกมามีความเสี่ยงต่ำในแง่ความล้าหลังทางเทคโนโลยี เอาเฉพาะเทคโนโลยีที่มีอายุยืนยาว และมีรายได้แน่นอนจากค่าเช่า มากกว่านั้น ผู้เช่ารายต่อไปที่จะมาเช่ากองทุนนอกเหนือจากทรูก็ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ความคล่องตัวในการให้บริการของทรูอาจลดลง
ไม่มีปัญหาเรื่องการให้บริการ อุปกรณ์อะไรที่เกี่ยวกับบริการอยู่กับทรูหมด เราไม่ได้ขาย เพราะความเสี่ยงเรื่องล้าสมัยก็ส่วนหนึ่ง และเพื่อให้ทรูดูแลคุณภาพและสร้างความต่างจากคู่แข่งได้ด้วย ในต่างประเทศก็ได้ การแชร์ใช้โครงข่ายเป็นเรื่องปกติ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1385981728
ไม่มีความคิดเห็น: