02 ธันวาคม 2556 กสทช. ร่อนหนังสือ ขอความร่วมมือ ฟรีทีวี – เคเบิลทีวี – ทีวีดาวเทียม – สถานีวิทยุ ำเสนอข่าวสารที่เป็นกลาง รอบด้าน ไม่นำเสนอข้อมูลที่นำไปสู่การรับชมที่คลาดเคลื่อนของประชาชน
ประเด็นหลัก
วันนี้(2ธ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)เปิดเผยว่า กสท.มีมติให้สำนักงานกสทช.ทำหนังสือขอความร่วมมือให้ช่องฟรีทีวี 6 ช่อง เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม จำนวน 800 ช่อง และสถานีวิทยุทุกสถานี ขอให้ผู้อำนวยการสถานี ใช้ดุลยพินิจในการนำเสนอข่าวสารที่เป็นกลาง รอบด้าน ไม่นำเสนอข้อมูลที่นำไปสู่การรับชมที่คลาดเคลื่อนของประชาชน โดยจะเร่งส่งหนังสือให้เร็วที่สุดภายในวันนี้ ซึ่งการขอความร่วมมือดังกล่าวนี้เป็นไปตามหน้าที่ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ
ในขณะเดียวกันกสท.จะพิจารณาข้อเรียกร้องของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.) ตามที่ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้มีการพิจารณาช่อง 9 และช่อง 11 ที่ตัดการแถลงการณ์ของกปปส.เมื่อช่วงวันที่ 1ธ.ค. ที่ผ่านมา
“สำหรับสิทธิเสรีภาพสื่อกำหนดในรัฐธรรมนูญม.46 และกสทช.ก็จัดตั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูณบัญญัติ เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลโดยผ่านผู้รับใบอนุญาตคือ ผู้อำนวยการสถานี ส่วนการออกอากาศเนื้อหา เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งกสทช.มีขอบเขตอำนาจในการกำกับ แต่ไม่สามารถกำกับเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดได้” พ.อ.ดร.นที กล่าว
______________________________________
?กสทช.ร่อนหนังสือถึงสื่อ เสนอข่าวเป็นกลาง?
กสทช. ร่อนหนังสือ ขอความร่วมมือ ฟรีทีวี – เคเบิลทีวี – ทีวีดาวเทียม – สถานีวิทยุ เสนอเนื้อหาเป็นกลาง รอบด้าน ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน รับพิจารณาข้อเรียกร้อง กปปส. เผยไม่มีการตั้งวอร์รูม
วันนี้(2ธ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)เปิดเผยว่า กสท.มีมติให้สำนักงานกสทช.ทำหนังสือขอความร่วมมือให้ช่องฟรีทีวี 6 ช่อง เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม จำนวน 800 ช่อง และสถานีวิทยุทุกสถานี ขอให้ผู้อำนวยการสถานี ใช้ดุลยพินิจในการนำเสนอข่าวสารที่เป็นกลาง รอบด้าน ไม่นำเสนอข้อมูลที่นำไปสู่การรับชมที่คลาดเคลื่อนของประชาชน โดยจะเร่งส่งหนังสือให้เร็วที่สุดภายในวันนี้ ซึ่งการขอความร่วมมือดังกล่าวนี้เป็นไปตามหน้าที่ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ
ในขณะเดียวกันกสท.จะพิจารณาข้อเรียกร้องของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.) ตามที่ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้มีการพิจารณาช่อง 9 และช่อง 11 ที่ตัดการแถลงการณ์ของกปปส.เมื่อช่วงวันที่ 1ธ.ค. ที่ผ่านมา
“สำหรับสิทธิเสรีภาพสื่อกำหนดในรัฐธรรมนูญม.46 และกสทช.ก็จัดตั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูณบัญญัติ เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลโดยผ่านผู้รับใบอนุญาตคือ ผู้อำนวยการสถานี ส่วนการออกอากาศเนื้อหา เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งกสทช.มีขอบเขตอำนาจในการกำกับ แต่ไม่สามารถกำกับเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดได้” พ.อ.ดร.นที กล่าว
อย่างไรก็ตามสำหรับแนวคิดการตั้งวอรูมประสานงานร่วมกับฟรีทีวี เพื่อรับมือสถานการณ์ในขณะนี้ ไม่มีการตั้งใดๆทั้งสิ้น ให้เป็นหน้าที่ของสถานีผู้อำนวยการสถานีในการพิจารณาการออกอากาศ นอกจากนี้มองว่าหากมีทีวีดิจิทัลจะทำให้มีช่องทางการรับข่าวสารมากขึ้น
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/199083/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD+%E0%B9%80
_____________________
กสทช.ส่งหนังสือขอความร่วมมือสื่อใช้ดุลพินิจเสนอข่าว
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที » IT Update
กสทช. มีมติส่งหนังสือถึงฟรีทีวี เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมทุกช่อง และวิทยุกระจายเสียง ขอความร่วมมือใช้ดุลพินิจเสนอข่าวช่วงชุมนุม ระบุมีอำนาจตามปกครอง มีแค่ขอความร่วมมือ คาดประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติประมูลทีวีดิจิตอลได้ 9 ธ.ค.ก่อนเปิดประมูล กลาง ธ.ค.56 - ต้น ม.ค. 57...
วันที่ 2 ธ.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ว่า บอร์ดมีมติให้ส่งหนังสือขอความร่วมมือฟรีทีวี เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมทุกช่อง และวิทยุกระจายเสียงทุกสถานี ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และขอให้ผู้บริหารสถานีใช้ดุลพินิจเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ดำรงไว้ซึ่งการเป็นสื่อสารมวลชน
"กสทช. ขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา เสนอข้อมูลโดยใช้ดุลพินิจ มีความรอบด้าน ไม่ทำให้เนื้อหาที่ส่งไปมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงแก่ประชาชน" ประธาน กสท. กล่าว
พ.อ.นที กล่าวต่อว่า เสรีภาพสื่อนั้นเป็นไปตามมาตรา 46 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ส่วน กสทช.ก็มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ โดยอำนาจนั้นก็ต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย โดยไม่สามารถทำหน้าที่นอกกรอบของกฎหมายได้ ส่วนอำนาจ กสทช. เป็นไปตามปกครอง ดังนั้นจะดำเนินการอะไรที่หักมากไม่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะจะเกิดปัญหาต่อส่วนรวมมากกว่าการแก้ปัญหา และไม่มีการตั้งวอร์รูมร่วมกับฟรีทีวีด้วย
ส่วนความคืบหน้าเรื่องประมูลทีวีดิจิตอลนั้น คาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติผู้เข้าประมูลได้วันที่ 9 ธ.ค. ซึ่งภาพรวมยังไม่พบปัญหา และจัดประมูลได้ช่วงปลายเดือน ธ.ค.2556 - ต้นเดือน ม.ค.2557
ต่อข้อถามที่ว่า กรณีที่มีการประมูลทีวีดิจิตอลจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง และการทำหน้าที่สื่อได้อย่างไร ประธาน กสท. กล่าวว่า การมีทีวีดิจิตอลจะทำให้มีช่องทางเพิ่มขึ้นและหลากหลายขึ้น ทำให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น 7-8 เท่า
นอกจากนี้ ยังออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 47 ใบ แบ่งเป็นประเภท ธุรกิจ 38 ใบ สาธารณะ 7 ใบ และชุมชน 2 ใบ
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/386725
ไม่มีความคิดเห็น: