04 ธันวาคม 2556 กสทช. ประทับใจ การโยนย้ายจาก 2G ไป 3G เร็วกว่า เร็วกว่า ประเทศญี่ปุ่น!! ปัจจัยราคาระบบ 2G ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานไม่ปรับลดลงซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคาระหว่าง 2G และ 3G มีความใกล้เคียงกัน
ประเด็นหลัก
วันนี้ (4ธ.ค.) ที่โรงแรม วี ร้อยโท ดร. เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประจำรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรทัศน์ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์ (กทค.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีประชาชนโอนย้ายจากระบบ 2จี มายังระบบ 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซแล้วจำนวน 20.5 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 25.6% ของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทั้งหมดประมาณ 80 ล้านเลขหมาย
โดยแบ่งเป็น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค จำกัด มีลูกค้า 3 จี จำนวน 10 ล้านเลขหมาย บริษัท ดีแทคเนทเวอร์ค จำกัด หรือไตรเน็ต จำนวน 4.5 ล้านเลขหมาย และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จำนวน 6 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือว่าประเทศไทยมีการโอนย้ายที่รวดเร็วภายหลังเปิดให้บริการเมื่อช่วงเดือน พ.ค.56 เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการ 3จี เมื่อช่วงปี 2001 ใช้เวลานานกว่า 4 ปี ในการโอนย้ายลูกค้าได้เพียง 50% เท่านั้น
สำหรับประเทศไทยมีการโอนย้ายอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัจจัยราคาค่าบริการที่ถูกลง 15% และราคาโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนลดลง โดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 1,200 บาท ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้งาน 3จี จึงเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการโอนย้ายที่เติบโตขึ้นรวมถึงปัจจัยราคาระบบ 2จี ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานไม่ปรับลดลงซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคาระหว่าง 2จี และ 3จี มีความใกล้เคียงกัน
______________________________________
?กสทช.เผยผู้บริโภคโอนย้าย 3 จี เพิ่มขึ้น?
ผู้บริโภคโอนย้ายเลขหมายจาก 2จี ไป 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซแล้ว 20.5 ล้านเลขหมาย กสทช.ชี้ มาจากค่าบริการที่ถูกลง และราคาอุปกรณ์สมาร์ทโฟนลดลง
วันนี้ (4ธ.ค.) ที่โรงแรม วี ร้อยโท ดร. เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประจำรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรทัศน์ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์ (กทค.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีประชาชนโอนย้ายจากระบบ 2จี มายังระบบ 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซแล้วจำนวน 20.5 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 25.6% ของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทั้งหมดประมาณ 80 ล้านเลขหมาย
โดยแบ่งเป็น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค จำกัด มีลูกค้า 3 จี จำนวน 10 ล้านเลขหมาย บริษัท ดีแทคเนทเวอร์ค จำกัด หรือไตรเน็ต จำนวน 4.5 ล้านเลขหมาย และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จำนวน 6 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือว่าประเทศไทยมีการโอนย้ายที่รวดเร็วภายหลังเปิดให้บริการเมื่อช่วงเดือน พ.ค.56 เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการ 3จี เมื่อช่วงปี 2001 ใช้เวลานานกว่า 4 ปี ในการโอนย้ายลูกค้าได้เพียง 50% เท่านั้น
สำหรับประเทศไทยมีการโอนย้ายอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัจจัยราคาค่าบริการที่ถูกลง 15% และราคาโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนลดลง โดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 1,200 บาท ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้งาน 3จี จึงเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการโอนย้ายที่เติบโตขึ้นรวมถึงปัจจัยราคาระบบ 2จี ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานไม่ปรับลดลงซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคาระหว่าง 2จี และ 3จี มีความใกล้เคียงกัน
ร้อยโท ดร. เจษฎา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์และการตื่นตัวของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันโดยต้องคำนึงถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ของประเทศนั้นๆ ดังนั้นต่างชาติจึงให้ความสนใจว่าประเทศไทยมีการพัฒนาเรื่องการโอนย้ายเลขหมายที่มีแนวโน้มสูงอย่างต่อเนื่อง ทว่าเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาประเทศแรกๆ ที่ทำ 3จี มีการโอนย้ายน้อยมาก เนื่องจากค่าบริการที่แพงมาก และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือยังมีราคาสูงเช่นกัน
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/199594/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8
%8A.%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%
B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B9%82%E0
%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2+
ไม่มีความคิดเห็น: