07 ธันวาคม 2556 กสทช.หมอลี่และสุภิญญา โดยจัดทำเป็นวาระเพื่อการพิจารณาในที่ประชุม กสทช. วันที่ 11 ธ.ค.นี้ เพื่อได้ข้อสรุปในการชี้แจงต่อสาธารณชน รวมถึงตอบหนังสือ กปปส. ตลอดจนหาแนวทางป้องกันสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
ประเด็นหลัก
น.พ.ประวิทย์ กล่าวว่า การทำบันทึกเสนอครั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้สำนักงานรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา โดยจัดทำเป็นวาระเพื่อการพิจารณาในที่ประชุม กสทช. วันที่ 11 ธ.ค.นี้ เพื่อได้ข้อสรุปในการชี้แจงต่อสาธารณชน รวมถึงตอบหนังสือ กปปส. ตลอดจนหาแนวทางป้องกันสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
______________________________________
?แนะ กสทช.ทำวาระเร่งด่วนแจงผลกระทบการสื่อสารจากการชุมนุม?
"หมอลี่-สุภิญญา" ชงวาระเข้าที่ประชุมกสทช. 11 ธ.ค.นี้ ให้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การสื่อสารในกิจการโทรคมนาคมและโทรทัศน์ ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา
วันนี้ (5 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้ทำบันทึกข้อความถึง นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เรื่อง ขอให้จัดทำวาระเร่งด่วนเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม กสทช. เพื่อหารือผลกระทบด้านสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่เดือน พ.ย.เป็นต้นมา ที่ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ เป็นปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารของประชาชนตามที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ
โดยปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย ปัญหาคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเฉพาะในสถานที่ชุมนุม เหตุการณ์การตัดไฟฟ้าในอาคารศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เขตบางรัก ที่ส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ตลอดจนเหตุการณ์ที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) นำมวลชนไปยังสถานีโทรทัศน์ เพื่อกดดันให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวและคำแถลงของ กปปส.
นอกจากนี้ สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้งดเว้นการรบกวนคลื่นและการออกอากาศของโทรทัศน์ดาวเทียม เนื่องจากสมาชิกของสมาคมถูกละเมิดสิทธิการทำหน้าที่ตามกฎหมาย จนล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทน กปปส. ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงประธาน กสทช. ในฐานะผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่สื่อของรัฐสองแห่ง ได้แก่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ โดยขอให้ กสทช. สั่งการให้สื่อของรัฐปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
น.พ.ประวิทย์ กล่าวว่า การทำบันทึกเสนอครั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้สำนักงานรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา โดยจัดทำเป็นวาระเพื่อการพิจารณาในที่ประชุม กสทช. วันที่ 11 ธ.ค.นี้ เพื่อได้ข้อสรุปในการชี้แจงต่อสาธารณชน รวมถึงตอบหนังสือ กปปส. ตลอดจนหาแนวทางป้องกันสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/199750/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0+%E0%B
8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0
%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E
0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%88
___________________________________________________________
______________________________________
?กสทช.ยืนยันตรวจเนื้อหาถ้ามีผู้ร้องเรียน?
กสทช.แสดงจุดยืน การตรวจสอบเนื้อหารายการทีวี ต้องมีผู้ร้องเรียนเท่านั้น ลั่นกระบวนการตรวจสอบค่อนข้างนาน เตรียมประชุมบอร์ดวาระข้อร้องเรียนของ ศอ.รส. และ กปปส. จันทร์นี้
วันนี้ (6 ธ.ค.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)เปิดเผยว่า จากกรณีที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) เตรียมออกหมายจับผู้บริหารช่องบลูสกาย ชาแนล ในข้อหากบฏ ร่วมกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้น ยังไม่เข้าข่ายหน้าที่ของกสทช.เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้สั่งปิดสถานี โดยยังเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการพิจารณาไต่สวนตามกระบวนการ
ขณะที่ กสทช.มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตรวจสอบเนื้อหารายการที่ออกอากาศว่ากระทำความผิดตาม ม.37 ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจกากระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.2551หรือไม่ ส่วนขั้นตอนการพิจารณาต้องมีผู้ร้องเรียนเข้ามาก่อนจึงจะสามารถให้คณะอนุกรรมการเนื้อหาและผังรายการพิจารณา ซึ่งใช้กระบวนการค่อนข้างนานในการหาข้อเท็จจริง สำหรับโทษนั้นหากพบการกระทำผิดจะเริ่มจากการเตือน การปรับ การพักใช้ และสูงสุดคือการเพิกถอนใบอนุญาต
“ที่ผ่านมากสทช.ใช้ระยะเวลาการตรวจสอบค่อนข้างนาน อย่างกรณีรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนท์ ที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบพิจาณาจึงจะสามารถสั่งปรับได้ และย้ำว่าบทบาท กสทช.คือการตรวจสอบเนื้อหาในกรณีทีมีผู้ร้องเรียนว่าขัดต่อม.37หรือไม่” พ.อ.ดร.นที กล่าว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางกสท.เตรียมพิจารณาวาระของศอ.รส.ที่ร้องเรียนช่องบลูสกาย และพิจารณาข้อร้องเรียนของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) กรณีช่อง 9และช่อง 11 ร้องเรียนว่ามีการนำเสนอข่าวสารทางการเมืองไม่เป็นกลางและไม่มีการนำเสนอแถลงการณ์ของกลุ่มกปปส.ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/200000/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2
_____________________________________________
2 กสทช.เสนอเลขาฯ ชงวาระผลกระทบจากม็อบเข้าบอร์ดใหญ่ 11 ธ.ค.
2 กสทช.เสนอเลขาฯ ชงวาระผลกระทบจากม็อบเข้าบอร์ดใหญ่ 11 ธ.ค.
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และ น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
“สุภิญญา-ประวิทย์” 2 กสทช.เสนอเลขาฯ กสทช.รวบรวมข้อมูลผลกระทบด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ชงเข้าที่ประชุม กสทช. 11 ธ.ค.นี้
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2556 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ทำบันทึกข้อความถึง นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เรื่อง ขอให้จัดทำวาระเร่งด่วนเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม กสทช. เพื่อหารือผลกระทบด้านสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมือง
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ที่ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ เป็นปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารของประชาชนตามที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ เช่น ปัญหาคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเฉพาะในสถานที่ชุมนุม เหตุการณ์การตัดไฟฟ้าในอาคารศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เขตบางรัก ที่ส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ตลอดจนเหตุการณ์ที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) นำมวลชนไปยังสถานีโทรทัศน์ เพื่อกดดันให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวและคำแถลงของ กปปส. รวมถึงการที่สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้งดเว้นการรบกวนคลื่นและการออกอากาศของโทรทัศน์ดาวเทียม อันเนื่องมาจากสมาชิกของสมาคมถูกละเมิดสิทธิการทำหน้าที่ตามกฎหมาย
จนล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ตัวแทน กปปส.ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่สื่อของรัฐ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ โดยขอให้ กสทช.สั่งการให้สื่อของรัฐปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
นพ.ประวิทย์กล่าวว่า การทำบันทึกเสนอถึงเลขาธิการ กสทช.ครั้งนี้เพื่อประสงค์ให้สำนักงานรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา โดยจัดทำเป็นวาระเพื่อการพิจารณาในที่ประชุม กสทช.ในวันที่ 11 ธันวาคมนี้ เพื่อได้ข้อสรุปในการชี้แจงต่อสาธารณชน รวมถึงตอบหนังสือ กปปส. ตลอดจนหาแนวทางป้องกันสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000150706
ไม่มีความคิดเห็น: