08 ธันวาคม 2556 ( เกาะติดประมูลDigital TV ) ประชุมกสท.จะมีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติ มีจำนวนทั้งสิ้น 29 บริษัท 41 แบบคำขอ
ประเด็นหลัก
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้(9 ธ.ค.) ที่ประชุมกสท.จะมีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
ภายหลังจากที่สำนักงาน กสทช. ได้เปิดให้ผู้ประกอบการยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ระหว่างวันที่ 28 – 29 ต.ค. ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 29 บริษัท 41 แบบคำขอ
แบ่งเป็น หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 6 บริษัท หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ 10 บริษัท หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (เอสดี) 16 บริษัท และ หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (เอชดี ) 9 บริษัท ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมตรวจสอบคุณสมบัติเงื่อนไขการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ของผู้รับใบอนุญาต
______________________________________
กสทช.จ่อเปิดชื่อผู้ได้ประมูลทีวีดิจิตอล
"สุภิญญา"กรรมการ กสทช.เตรียมประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติประมูลทีวีดิจิตอล นัดถก9ธ.ค.นี้
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้(9 ธ.ค.) ที่ประชุมกสท.จะมีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
ภายหลังจากที่สำนักงาน กสทช. ได้เปิดให้ผู้ประกอบการยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ระหว่างวันที่ 28 – 29 ต.ค. ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 29 บริษัท 41 แบบคำขอ
แบ่งเป็น หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 6 บริษัท หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ 10 บริษัท หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (เอสดี) 16 บริษัท และ หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (เอชดี ) 9 บริษัท ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมตรวจสอบคุณสมบัติเงื่อนไขการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ของผู้รับใบอนุญาต
นอกจากนี้จะได้หารือขอความร่วมมือในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ ในสถานการณ์ที่มีการประกาศพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หลังจากเกิดสถานการณ์การเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการรวมถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนทั้งด้านวิทยุและโทรทัศน์ และพิจารณาหนังสือของคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.) ถึงกรณีที่รัฐบาลแทรกแซงสื่อมวลชนของรัฐทำให้ไม่สามารถรายงานข่าวอย่างเป็นกลางได้
“วันจันทร์นี้เรื่องที่สำคัญที่สุดหนีไม่พ้นสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดในขณะนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ศอ.รส. และ กปปส. ได้ร้องเรียนมายังกสทช. ถึงการทำหน้าที่ของสื่อ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า บอร์ดกสท. ควรจะมีแนวทางเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบการสถานีแล้ว น่าจะเชิญผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีและดาวเทียม มาหารือถึงกรอบกติกา จรรยาบรรณ เพื่อที่จะไม่เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่นำไปสู่การยั่วยุ เพื่อสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะการพูดคุยกับสื่อของรัฐที่ต้องยึดหลักการเปลี่ยนผ่านเป็นสื่อบริการสาธารณะในระบบใบอนุญาต ของ กสทช.ในอนาคต ควรทำหน้าที่เป็นกลางและเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม” น.ส.สุภิญญา กล่าว
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%
E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/263635/%E0
%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%9
4%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9
%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B
8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0
%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5
ไม่มีความคิดเห็น: