08 ธันวาคม 2556 กสทช.ประวิทย์ ระบุสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดขึ้น ต้องเชิญ FREE TV และ น่าจะเชิญผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีและดาวเทียม มาหารือถึงกรอบกติกา จรรยาบรรณ เพื่อที่จะไม่เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่นำไปสู่การยั่วยุ
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ ตนและนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ได้ทำบันทึกเสนอถึงเลขาธิการ กสทช.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูล ข้อชี้แจงที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ว่าสำนักงานได้ดำเนินการใดๆ แล้วบ้าง พร้อมทั้งเสนอให้บรรจุวาระเรื่องนี้ไว้ในการประชุม กสทช. วันที่ 11 ธ.ค.2556 และกรณี บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ขอเสนอเป็นผู้ให้บริการเผยแพร่บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (Must carry) ผ่านระบบดาวเทียมอีกด้วย
"วาระที่สำคัญที่สุดหนีไม่พ้นสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ศอ.รส. และ กปปส. ได้ร้องเรียนมายัง กสทช. ถึงการทำหน้าที่ของสื่อ ส่วนตัวเห็นว่า บอร์ด กสท. ควรจะมีแนวทางเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบการสถานีแล้ว น่าจะเชิญผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีและดาวเทียม มาหารือถึงกรอบกติกา จรรยาบรรณ เพื่อที่จะไม่เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่นำไปสู่การยั่วยุ เพื่อสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะการพูดคุยกับสื่อของรัฐที่ต้องยึดหลักการเปลี่ยนผ่านเป็นสื่อบริการสาธารณะในระบบใบอนุญาต ของ กสทช.ในอนาคต ควรทำหน้าที่เป็นกลางและเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม" นางสาวสุภิญญา กล่าว
______________________________________
จับตา บอร์ด กสท.หาทางออก สื่อเสนอข่าวช่วงชุมนุมวันพรุ่งนี้
จับตา บอร์ด กสท. พิจารณาแนวทาง กสทช.ต่อการขอความร่วมมือสถานีวิทยุ – โทรทัศน์ ในการนำเสนอข่าวสารในช่วงการชุมนุม และบริษัทลูกไทยคม เสนอให้บริการเผยแพร่สัญญาณดิจิตอลทีวีผ่านดาวเทียม ตามกฎ Must carry พร้อมเผยรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติประมูลทีวีดิจิตอล...
เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 56 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วันพรุ่งนี้ (9 ธ.ค.) บอร์ดเตรียมพิจารณารายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตมีจำนวนทั้งสิ้น 29 บริษัท 41 ชุด แบ่งเป็น หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 6 บริษัท หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ 10 บริษัท หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (เอสดี) 16 บริษัท และหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (เอชดี) 9 บริษัท หลังจากสำนักงาน กสทช. ได้เปิดให้ผู้ประกอบการยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ระหว่างวันที่ 28 – 29 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยได้มอบหมายให้ศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมตรวจสอบคุณสมบัติเงื่อนไขการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ของผู้รับใบอนุญาต
นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า วาระที่น่าสนใจ คือ การขอความร่วมมือในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ ในสถานการณ์ที่มีการประกาศพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร หลังจากเกิดสถานการณ์การเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนทั้งด้านวิทยุและโทรทัศน์ด้วย ได้มีการออกประกาศศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เรื่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ประกอบกับคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ยื่นหนังสือถึง กสทช. ว่า รัฐบาลแทรกแซงสื่อมวลชนของรัฐทำให้ไม่สามารถรายงานข่าวอย่างเป็นกลางได้
ทั้งนี้ ตนและนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ได้ทำบันทึกเสนอถึงเลขาธิการ กสทช.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูล ข้อชี้แจงที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ว่าสำนักงานได้ดำเนินการใดๆ แล้วบ้าง พร้อมทั้งเสนอให้บรรจุวาระเรื่องนี้ไว้ในการประชุม กสทช. วันที่ 11 ธ.ค.2556 และกรณี บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ขอเสนอเป็นผู้ให้บริการเผยแพร่บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (Must carry) ผ่านระบบดาวเทียมอีกด้วย
"วาระที่สำคัญที่สุดหนีไม่พ้นสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ศอ.รส. และ กปปส. ได้ร้องเรียนมายัง กสทช. ถึงการทำหน้าที่ของสื่อ ส่วนตัวเห็นว่า บอร์ด กสท. ควรจะมีแนวทางเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบการสถานีแล้ว น่าจะเชิญผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีและดาวเทียม มาหารือถึงกรอบกติกา จรรยาบรรณ เพื่อที่จะไม่เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่นำไปสู่การยั่วยุ เพื่อสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะการพูดคุยกับสื่อของรัฐที่ต้องยึดหลักการเปลี่ยนผ่านเป็นสื่อบริการสาธารณะในระบบใบอนุญาต ของ กสทช.ในอนาคต ควรทำหน้าที่เป็นกลางและเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม" นางสาวสุภิญญา กล่าว
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/388006
ไม่มีความคิดเห็น: