Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 ธันวาคม 2556 IDC ระบุ การเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ในปีหน้าจะมีราว 40% ไอทีซิตี้ชี้รายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในปีหน้าจึงมีแผนลดต้นทุนคงที่ (Fix Cost) การลดระยะเวลาในการเก็บสินค้าในคลังจาก 45-55 วัน เหลือ 35-45 วัน


ประเด็นหลัก


"บริษัทวิจัยไอดีซีชี้ว่า ตลาดไอทีทั่วโลกน่าจะหดตัว 10-11% จากปีก่อน เนื่องจากสมาร์ทดีไวซ์ที่เข้ามาทดแทนการใช้งานสินค้ากลุ่มนี้ เมื่อโลกหดตัว พื้นที่เอเชีย-แปซิฟิกก็จะหดตัว ประมาณ 12% แต่จริง ๆอาจลดลง มากกว่านี้ ถ้าจีนไม่ช่วยเอาไว้ คาดว่าปีหน้าก็จะยังอยู่ในสภาพนี้ แต่อาจหดตัวน้อยกว่าเดิม ขณะที่การเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ในปีหน้าจะมีราว 40% หรือน้อยกว่านี้เล็กน้อย เพราะทุกประเทศเริ่มมีการใช้งานแพร่หลาย จากวิกฤตนี้ทำให้ร้านค้าปลีกสินค้าไอที, ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยทำงานยากขึ้น"

นายเอกชัยกล่าวว่า ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือการสนับสนุนของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านการตลาด และการกำหนดราคาสินค้า โดยตั้งราคาที่มีกำไรค่อนข้างน้อย เพราะต้องการผลักดันการขายสินค้าส่งผลให้ดีลเลอร์ และร้านค้าปลีกมีการแข่งขันสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้ไอทีซิตี้กลับมามีกำไร และรายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในปีหน้าจึงมีแผนลดต้นทุนคงที่ (Fix Cost) เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการทำธุรกิจ โดยเริ่มจากการลดระยะเวลาในการเก็บสินค้าในคลังจาก 45-55 วัน เหลือ 35-45 วัน พร้อมลดขนาดสาขาเปิดใหม่ และสาขาเดิม เพราะค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการบริหารจัดการพนักงานเน้นสร้างคนคุณภาพให้รับผิดชอบแต่ละผลิตภัณฑ์ ได้อย่างเหมาะสม

______________________________________


ยักษ์ไอทีซิตี้ขยับใหญ่มุ่งฟื้นกำไร ปูพรมร้านไซซ์เล็กบุกตจว.เพิ่มโฟกัสสมาร์ทดีไวซ์



ยักษ์ ซูเปอร์สโตร์ "ไอทีซิตี้" ขยับใหญ่ปรับแผนธุรกิจพลิกฟื้นกำไร-ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนคงที่ พร้อมเร่งสปีดขยายสาขาบุกต่างจังหวัดมุ่งร้านไซซ์เล็ก ผุด "ไอทีซิตี้ โมบาย" เข้าถึงลูกค้าในพื้นที่ชุมชน และเพิ่มน้ำหนักการขาย "สมาร์ทดีไวซ์" แชร์รายได้รวมจาก 15% เป็น 30% ในปีหน้า ยอมรับสถานการณ์ตลาดไอทีซึมยาว

นายเอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ไอทีซิตี้ กล่าวว่า จากหลายปัจจัยทำให้ตลาดรวมสินค้าไอที ไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก, พรินเตอร์ และอื่น ๆ ในประเทศไทยในปีนี้หดตัวลง 15-20% ทำให้บริษัทมีรายได้ลดลงจากปีก่อนราว 10% เทียบปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 5,900 ล้านบาท แม้จะนำสินค้าอื่นที่ได้รับความนิยมมาจำหน่ายเพิ่มเติม เช่น สมาร์ทดีไวซ์อย่างแท็บเลต และสมาร์ทโฟน เป็นต้น แต่ยังไม่สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาได้ ทั้งเป็นครั้งแรกที่มีผลประกอบการขาดทุนหลังดำเนินธุรกิจ และได้กำไรมาตลอด 17 ปีที่ผ่านมา

โดยรายได้ ณ ไตรมาส 3/2556 อยู่ที่ 4,100 ล้านบาท น้อยกว่าปีก่อน 10% และขาดทุนประมาณ 6 ล้านบาท จากปีก่อนจบปีมีกำไร 87 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้รายได้ทั้งหมดมาจากการจำหน่ายสินค้าไอที 85% แต่มูลค่าลดลง 15% จากปีก่อน ที่เหลือมาจากสมาร์ทดีไวซ์ 15% เพิ่มจากปีก่อนที่ 7% ของรายได้รวม แต่ไม่สามารถทดแทนมูลค่าที่หายไปจากสินค้าไอทีได้ เพราะมียอดขายรวม 800-900 ล้านบาทเท่านั้น




"บริษัทวิจัยไอดีซีชี้ว่า ตลาดไอทีทั่วโลกน่าจะหดตัว 10-11% จากปีก่อน เนื่องจากสมาร์ทดีไวซ์ที่เข้ามาทดแทนการใช้งานสินค้ากลุ่มนี้ เมื่อโลกหดตัว พื้นที่เอเชีย-แปซิฟิกก็จะหดตัว ประมาณ 12% แต่จริง ๆอาจลดลง มากกว่านี้ ถ้าจีนไม่ช่วยเอาไว้ คาดว่าปีหน้าก็จะยังอยู่ในสภาพนี้ แต่อาจหดตัวน้อยกว่าเดิม ขณะที่การเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ในปีหน้าจะมีราว 40% หรือน้อยกว่านี้เล็กน้อย เพราะทุกประเทศเริ่มมีการใช้งานแพร่หลาย จากวิกฤตนี้ทำให้ร้านค้าปลีกสินค้าไอที, ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยทำงานยากขึ้น"

นายเอกชัยกล่าวว่า ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือการสนับสนุนของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านการตลาด และการกำหนดราคาสินค้า โดยตั้งราคาที่มีกำไรค่อนข้างน้อย เพราะต้องการผลักดันการขายสินค้าส่งผลให้ดีลเลอร์ และร้านค้าปลีกมีการแข่งขันสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้ไอทีซิตี้กลับมามีกำไร และรายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในปีหน้าจึงมีแผนลดต้นทุนคงที่ (Fix Cost) เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการทำธุรกิจ โดยเริ่มจากการลดระยะเวลาในการเก็บสินค้าในคลังจาก 45-55 วัน เหลือ 35-45 วัน พร้อมลดขนาดสาขาเปิดใหม่ และสาขาเดิม เพราะค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการบริหารจัดการพนักงานเน้นสร้างคนคุณภาพให้รับผิดชอบแต่ละผลิตภัณฑ์ ได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ยังเข้าไปรุกตลาดสมาร์ทดีไวซ์เต็มตัวเพื่อ พลิกฟื้นกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง โดยจะเปิดสาขาเพิ่มอีกกว่า 30 แห่ง ทำให้มีสาขารวมเกือบ 100 แห่ง เน้นไปที่ "ไอทีซิตี้ โมบาย" (ขนาดพื้นที่น้อยกว่า 100 ตร.ม.) เน้นต่างจังหวัด และในคอมมิวนิตี้มอลล์เปิดใหม่ เพราะการขยายขนาดร้านปกติมีพื้นที่มากกว่า 100 ตร.ม. ทำให้ขยายเร็วยาก โดยสิ้นปีนี้จะมีสาขาทั้งหมด 69 แห่ง เป็นร้านที่มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตร.ม. จำนวน 10 แห่งมากกว่า 100 ตร.ม. (ส่วนใหญ่ 500 ตร.ม.) จำนวน 50 แห่ง และต่ำกว่า 100 ตร.ม. หรือที่ใช้ชื่อว่าไอทีซิตี้ โมบาย จำนวน 9 สาขา

"ถ้าอยากขายสมาร์ท ดีไวซ์ แต่มีสาขาน้อยก็คงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะถ้าจะขายให้ได้ดีต้องมีอย่างน้อย 100 สาขา ดังนั้นเราจะเพิ่มสาขาให้ได้เร็วที่สุด โดยตั้งเป้าปีหน้าไว้ที่ 30 แห่ง แต่อาจได้มากกว่านั้น ทำให้มีประสิทธิภาพพอที่จะแข่งในตลาดสมาร์ทดีไวซ์ได้ ซึ่งต้องบอกว่าในตลาดนี้เราเป็นหน้าใหม่ เพราะมีคนที่อยู่มาก่อนทั้งค้าปลีกมือถือเดิม และค้าปลีกไอทีที่มี 100 สาขาขึ้นไป รวมแล้ว 5 เจ้า ทำให้การแข่งขันปีหน้าดุเดือดแน่นอน แต่เราก็พร้อมแข่ง โดยจะเข้าไปใกล้กับผู้ซื้อ เพราะสินค้าปัจจุบันนี้ซื้อที่ไหนก็เหมือนกันทั้งยี่ห้อและราคา"

ขณะ เดียวกันในปีหน้าจะเริ่มรีโนเวตร้านเดิมให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับปรับประเภทสินค้าที่จำหน่ายในร้านโดยเพิ่มสัดส่วนสมาร์ทดีไวซ์มาก ขึ้น แม้การขยายสาขาจะเน้นไปที่พื้นที่เล็กลง แต่เชื่อว่าภาพลักษณ์แบรนด์ไอทีซิตี้ในฐานะ "ซูเปอร์สโตร์ไอที" ยังคงอยู่ เพราะในสาขาใหญ่ยังวางสินค้าที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภค ขณะที่ร้านขนาดเล็กจะเป็นศูนย์รวมโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นจุดขายประจำชุมชนและ เมื่อไอทีซิตี้เร่งการจำหน่ายสมาร์ทดีไวซ์ จะทำให้ในปีหน้าสัดส่วนรายได้จะมาจากสมาร์ทดีไวซ์เพิ่มขึ้นเท่าตัว หรือเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด ชดเชยรายได้จากสินค้าไอทีที่จะหายไปได้ ส่งผลให้กลับขึ้นมาเติบโตและมีกำไรอีกครั้ง

"ปีนี้เป็นปีที่ทุกคน ต้องปรับตัวเยอะ ไอทีซิตี้ก็ต้องปรับตัวเยอะ แต่การปรับตัวเป็นธรรมดาของธุรกิจ ขอให้ปรับตัวได้และปรับตัวให้ทัน การมาขายสมาร์ทโฟนเป็นอะไรที่ทุกคนเห็นเหมือนกัน อย่างเราตั้งเป้า ยอดขายจากสมาร์ทโฟนปีนี้ 15% ถามว่าทำไมไม่ตั้ง 30% ก็เพราะทุกคนกระโจนลงมาตรงนี้หมดไม่ใช่แค่เรา แต่ไอทีซิตี้ได้เปรียบเรื่องทุน เราไม่ได้กู้ และมีกระแสเงินสดที่ดี แม้ผลประกอบการ

ปีนี้จะไม่ดีที่สุดตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเป็น ต้นมา แต่ก็ต้องบอกว่าทิศทางธุรกิจยังชัดเจนและแข็งแรง ถามว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะดีไหม เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่เราจะมุ่งมั่นทำในสิ่งที่คอนโทรลได้เป็นหลัก"

ด้านนายมินทร์ อิงค์ธเนศ กรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเดียวกันเสริมว่า แม้จะกระจายร้านระดับเล็กออกไป แต่ยังคงความได้เปรียบในการขายเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพราะมีแบรนด์ไอทีซิตี้ ทำให้ผู้ซื้อเชื่อถือ และตัดสินใจซื้อมากกว่าร้านตู้ทั่วไป ที่สำคัญจากแผนการขยายร้านขนาดเล็กทำให้ภายใน 3-5 ปี ไอทีซิตี้จะมีสาขารวมกัน 200-300 แห่ง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1386577098

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.