10 ธันวาคม 2556 ประชาชาติธุรกิจ ระบุ ควรโหลดมาเก็บไว้ใน "สมาร์ทดีไวซ์" แอปพลิเคชั่นรายงานสภาพการจราจรติดขัด พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
ประเด็นหลัก
"ประชาชาติธุรกิจ" จึงถือโอกาสรวบรวมทั้งเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นที่ควรโหลดมาเก็บไว้ใน "สมาร์ทดีไวซ์" เริ่มที่ "TVIS" (Traffic Voice Information System) แอปพลิเคชั่นรายงานสภาพการจราจรติดขัด พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จุดเด่นคือสามารถเลือกดูเส้นทางต่าง ๆ ได้ด้วยเสียง เพราะมีระบบจำเสียงพูดภาษาไทย ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในบางสถานการณ์ที่ไม่สะดวกพิมพ์ (เหมาะมากเพราะระหว่างขับรถไม่ควรพิมพ์ข้อความใด ๆ ทั้งสิ้นอยู่แล้ว) เพียงพูดชื่อถนนที่ต้องการเท่านั้นก็จะแสดงผลเส้นทางเหล่านั้นออกมา เพียงแต่มีข้อควรระวังนิดหนึ่งว่า ผู้ใช้ต้องพูดชื่อถนนให้ถูกต้องด้วย
การแสดงผล ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูผ่านกล้องวงจรปิด CCTV ซึ่งติดตั้งไว้ทั่วกรุง หรือดูแบบแผนที่ธรรมดาก็ได้ รวมถึงสามารถฟังรายงานสถานการณ์บริเวณต่าง ๆ ได้ด้วยเสียงเช่นกัน เพียงเลือกถนนที่ต้องการทราบ ระบบจะโทร.ไปยังสถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 โดยอัตโนมัติเพื่อรายงานสถานการณ์กลับมาเป็นเสียงแถมด้วยฟังก์ชั่นพิเศษอย่างการขอให้แสดงเส้นทางลัดบริเวณที่เราอยู่ เพื่อไปถนนเส้นหลักอีกเส้น แบบหลีกเลี่ยงการจราจรบริเวณนั้น ยกตัวอย่าง เช่น หากเราอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิตและกำลังต้องการไปเส้นพหลโยธิน แต่การจราจรบริเวณเส้นวิภาวดีฯไม่เอื้อ "แอป" นี้จะบอกทางลัดให้ลัดเข้าซอยวิภาวดี 32 เพื่อให้ทะลุออกถนนพหลโยธิน ซอย 23 ได้ เป็นต้น
______________________________________
คลิกก่อนเดินทาง "จราจร" ไม่จลาจล ด้วยเทคโนโลยี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปัญหาหนักใจของคนกรุงตลอดกาลหนีไม่พ้น "รถติด" ไม่ว่าจะเพราะการมีรถมาวิ่งบนท้องถนนมากขึ้นมากจากโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล หรือการประท้วงทางการเมือง ทำให้การวางแผน (ก่อน) เดินทางเป็นเรื่องสำคัญ โชคดีที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือบรรดาแอปพลิเคชั่นสำหรับรายงานสภาพการจราจร
"ประชาชาติธุรกิจ" จึงถือโอกาสรวบรวมทั้งเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นที่ควรโหลดมาเก็บไว้ใน "สมาร์ทดีไวซ์" เริ่มที่ "TVIS" (Traffic Voice Information System) แอปพลิเคชั่นรายงานสภาพการจราจรติดขัด พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จุดเด่นคือสามารถเลือกดูเส้นทางต่าง ๆ ได้ด้วยเสียง เพราะมีระบบจำเสียงพูดภาษาไทย ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในบางสถานการณ์ที่ไม่สะดวกพิมพ์ (เหมาะมากเพราะระหว่างขับรถไม่ควรพิมพ์ข้อความใด ๆ ทั้งสิ้นอยู่แล้ว) เพียงพูดชื่อถนนที่ต้องการเท่านั้นก็จะแสดงผลเส้นทางเหล่านั้นออกมา เพียงแต่มีข้อควรระวังนิดหนึ่งว่า ผู้ใช้ต้องพูดชื่อถนนให้ถูกต้องด้วย
การแสดงผล ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูผ่านกล้องวงจรปิด CCTV ซึ่งติดตั้งไว้ทั่วกรุง หรือดูแบบแผนที่ธรรมดาก็ได้ รวมถึงสามารถฟังรายงานสถานการณ์บริเวณต่าง ๆ ได้ด้วยเสียงเช่นกัน เพียงเลือกถนนที่ต้องการทราบ ระบบจะโทร.ไปยังสถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 โดยอัตโนมัติเพื่อรายงานสถานการณ์กลับมาเป็นเสียงแถมด้วยฟังก์ชั่นพิเศษอย่างการขอให้แสดงเส้นทางลัดบริเวณที่เราอยู่ เพื่อไปถนนเส้นหลักอีกเส้น แบบหลีกเลี่ยงการจราจรบริเวณนั้น ยกตัวอย่าง เช่น หากเราอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิตและกำลังต้องการไปเส้นพหลโยธิน แต่การจราจรบริเวณเส้นวิภาวดีฯไม่เอื้อ "แอป" นี้จะบอกทางลัดให้ลัดเข้าซอยวิภาวดี 32 เพื่อให้ทะลุออกถนนพหลโยธิน ซอย 23 ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถดูสภาพภูมิอากาศ เช่น มีฝนตกหนักบริเวณใดบ้างดูภาพเคลื่อนไหวเรดาร์น้ำฝนได้ โดยข้อมูลในส่วนนี้รายงานโดยสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
ขณะเดียวกันยังมีการรายงานสภาพการจราจรจากผู้เกี่ยวข้องผ่านฟังก์ชั่นสังคมออนไลน์อีกทาง โดยระบบจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาอัพเดตแบบ Real Time ไม่ว่าจะเป็นจากทวิตเตอร์ จส.100 (@js100) ทวิตเตอร์จาก longdotraffic หากใช้เส้นทางไหนบอกก็สามารถปักหมุดเส้นทางนั้นได้เพื่อทราบการรายงานสถานการณ์ตลอดเวลา โดยไม่ต้องกดค้นหาตลอด แอปพลิเคชั่นนี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้ฟรี ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และไอโอเอส
อีกแอปพลิเคชั่นที่ "เนคเทค" มีส่วนร่วมพัฒนาด้วยเช่นกัน คือ "Traffroid" เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้ได้เฉพาะในระบบปฏิบัติการ "แอนดรอยด์" เท่านั้น (ตามชื่อ)เพื่อดูสภาพการจราจรต่าง ๆ ด้วยฟังก์ชั่น พิเศษ เช่น ฟังก์ชั่นรายงานข่าวจราจรจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ส่งข้อมูลมายังทวิตเตอร์ @Traffroid ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายงานอุบัติเหตุ สภาพรถติดในจุดต่าง ๆ สภาพอากาศ ฝนตก แดดออกด้วยฟังก์ชั่นกล้องจราจรวงจรปิด (CCTV) ซึ่งมีกว่า 160 กล้องทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเส้นทางที่ต้องการได้ตามถนนสายหลักในกรุงเทพฯ
แบ่งการแสดงผลเป็น 2 หน้าจอ คือ ด้านบนเป็นการแสดงผลแบบภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง CCTV ส่วนด้านล่างเป็นการแสดงผลในมุมมองแผนที่จะบอกสภาพการจราจรโดยใช้สีเป็นเกณฑ์ นั่นคือ "สีเขียว" แทนการจราจรคล่องตัว "สีเหลือง" แทนการจราจรเริ่มติดขัดสลับเคลื่อนตัวได้ "สีแดง" แทนการจราจรที่ติดขัด
ส่วนฟังก์ชั่นป้ายจราจรอัจฉริยะจะแสดงเป็นความหนาแน่นติดขัดของการจราจรแต่ละพื้นที่โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ และภาพรวมของการจราจรในบริเวณนั้น ๆ และยังมีฟังก์ชั่นระดับน้ำท่วมบนถนน ซึ่งได้ข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร มาช่วยบอกระดับน้ำเพื่อให้หลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วมได้
ขณะที่ผู้ที่ถนัดกับการใช้งานบนเว็บไซต์มากกว่า สามารถตรวจสอบสภาพการจราจรแบบ Real Time ได้จาก www.traffic.longdo.com ซึ่งจะปรากฏแผนที่ให้เลือกคลิกย่อ-ขยาย-ขยับไปตามพื้นที่
ที่ต้องการได้ รวมถึงมีการรายงานสถานการณ์สั้น ๆ ในแต่ละพื้นที่ไว้ในหน้าแรกด้วย หรือจะค้นหาสถานที่หรือเหตุการณ์ที่สนใจได้ เช่น อาจพิมพ์คำว่า "รถติด" ระบบจะประมวลการรายงานทั้งหมดให้ทราบว่ามีรถติดบริเวณไหนบ้าง หรืออาจค้นหาเป็นสถานที่แทนก็ได้
สำหรับการรายงานสภาพการจราจรในเว็บไซต์นี้ แบ่งออกเป็น 4 สี 4 ระดับ ได้แก่ "สีเขียว" แทนสภาพการจราจรคล่องตัว "สีเหลือง" เริ่มหนาแน่น "สีแดง" การจราจรติดขัด และ "สีแดงเลือดหมู" บ่งบอกว่าการจราจรติดขัดมาก
นอกจากนี้ยังสามารถขอให้ระบบวางแผนเส้นทางการเดินทางให้ได้ เพียงเลือก "ฟังก์ชั่นเส้นทาง" แล้วกำหนดจุดในแผนที่ด้วยการคลิกเมาส์ด้านขวา เพื่อเริ่มต้นและลากไปที่จุดสิ้นสุด ระบบจะประมวลผลออกมาให้ทางซ้ายมือของหน้าเว็บไซต์ พร้อมคำนวณเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทาง และเมื่อประสบเหตุต่าง ๆ ผู้ใช้งานที่สมัครสมาชิกกับเว็บไซต์ไว้แล้วก็สามารถมีส่วนร่วมในการรายงานเหตุการณ์ให้เพื่อนร่วมทางได้รับรู้ด้วย
ที่สำคัญคือทุก ๆ 5 นาที เว็บนี้จะมีการคำนวณ "ดัชนีรถติด Longdo" (Longdo Traffic Index) หรือตัวชี้วัดสภาพความติดขัดของท้องถนนในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลจากข้อมูลการจราจรทั้งหมด โดยใช้ตัวเลข 0-10 ในการแสดงผล ค่าที่มาก หมายถึง ติดขัดมาก, 0 = รถไม่ติดเลย, 10 = รถติดทุกถนน และเว็บนี้ยังพร้อมรายงานสถานการณ์น้ำท่วมต่าง ๆ ได้ด้วย
ข้อมูลที่ใช้ทั้งหมด ระบบจะเชื่อมโยงจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย บริษัท Oriscom เป็นบริษัทที่ให้บริการ TAXI ซึ่งวิ่งทั่วกรุงเทพฯตลอด 24 ชั่วโมง และข้อมูลจากอาสาสมัครที่ใช้บริการเว็บไซต์
ล่าสุดพัฒนาเป็น "แอปพลิเคชั่น" บนสมาร์ทโฟนแล้ว โดยในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จะอยู่ในชื่อ Longdo Mobile ส่วนใน "ไอโอเอส" ชื่อ Longdo Traffic
ไหน ๆ ก็ซื้อ "สมาร์ทดีไวซ์" ราคาแพงมาใช้กันแล้ว อย่าลืมโหลด "แอปพลิเคชั่น" ดี ๆ มีประโยชน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1386652598
ไม่มีความคิดเห็น: