11 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.นที ระบุ กสท. ได้เตรียมกระบวนการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิตอลมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ถึงวันนี้พร้อมจัดการประมูลแล้ว
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการ กสท. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ทาง กสท. จะจัดให้มีการทดลองการประมูล (Mock Auction) สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูล 4 ครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีและกระบวนการประมูล นอกจากนี้ กสท. จะจัดให้มีการทดลองการประมูล (Mock Auction) สำหรับสื่อมวลชนอีก 1 ครั้ง เพื่อซักซ้อมให้เห็นภาพกระบวนการประมูล
นอกจากนี้ พ.อ.นที ยังยืนยันว่า กสท. ได้เตรียมกระบวนการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิตอลมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน รวมถึงการกำหนดกฎ กติกา สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การประกาศบังคับใช้ประกาศ กสทช. หลายฉบับ เพื่อสร้างกระบวนการแข่งขันที่เป็นธรรม โปร่งใส เป็นตัวอย่างของการดำเนินการ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง.
______________________________________
ประธาน กสท.พร้อมจัดประมูลดิจิตอลทีวี ยันโปร่งใส
ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โพสต์ทวิตเตอร์ ระบุ กสท.พร้อมจัดประมูลดิจิตอลทีวี พร้อมเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนร่วมซ้อมเพื่อความเข้าใจ ยืนยันโปร่งใสเป็นธรรม...
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 56 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการประมูลดิจิตอลทีวี ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 56 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ประชุมร่วมกัน โดยคณะกรรมการ กสท. ได้พิจารณาผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตดิจิตอลทีวี ตามที่ กสท. ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการดิจิตอลทีวีตั้งแต่ วันที่ 28-29 ต.ค. 56 โดยมีผู้สนใจจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ดิจิตอลทีวีเข้ามายื่นแบบคำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งสิ้น 29 บริษัท 41 แบบคำขอรับใบอนุญาต
จากนั้น สำนักงาน กสทช. ได้แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อร่วมกันดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติทั่วไปของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามที่กำหนด โดยจ้างที่ปรึกษา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อการตรวจสอบคุณสมบัติทั่วไปและการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันได้ดำเนินการเสร็จสิ้น จึงได้นำเสนอต่อ กสท. เพื่อพิจารณา
ผลการพิจารณาได้ยืนยันว่า ผู้ยื่นแบบคำขอทั้ง 41 แบบคำขอรับใบอนุญาต ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดและไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่ง กสท. ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่ปรึกษา และสำนักงาน กสทช. ให้ทุกรายผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ โดยให้สำนักงาน กสทช. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ตามที่กำหนดไว้ในสรุปข้อสนเทศดิจิตอลทีวี ภายในวันที่ 12 ธ.ค. 56 ซึ่ง "ผู้ขอรับอนุญาต" ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น "ผู้เข้าร่วมการประมูล" ตามประกาศประมูลของ กสทช.
จากนั้น เมื่อประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติแล้ว กสท. ต้องดำเนินการประมูลให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน (ก่อน 11 ม.ค. 57) โดย กสท. จะต้องกำหนด วัน เวลา สถานที่ และลำดับการประมูล หลังจากนั้นแจ้งให้ผู้เข้าร่วมการประมูลทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน และผู้เข้าร่วมการประมูลจะต้องแจ้งรายชื่อผู้แทน จำนวนไม่เกิน 5 คน (ต่อรอบการประมูล) ล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันประมูล ซึ่งคาดว่า กสท. จะพิจารณากำหนด วัน เวลา สถานที่ การประมูลและแจ้งให้ผู้เข้าร่วมการประมูลทราบในการประชุม 16 ธ.ค. นี้
ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการ กสท. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ทาง กสท. จะจัดให้มีการทดลองการประมูล (Mock Auction) สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูล 4 ครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีและกระบวนการประมูล นอกจากนี้ กสท. จะจัดให้มีการทดลองการประมูล (Mock Auction) สำหรับสื่อมวลชนอีก 1 ครั้ง เพื่อซักซ้อมให้เห็นภาพกระบวนการประมูล
นอกจากนี้ พ.อ.นที ยังยืนยันว่า กสท. ได้เตรียมกระบวนการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิตอลมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน รวมถึงการกำหนดกฎ กติกา สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การประกาศบังคับใช้ประกาศ กสทช. หลายฉบับ เพื่อสร้างกระบวนการแข่งขันที่เป็นธรรม โปร่งใส เป็นตัวอย่างของการดำเนินการ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/388621
ไม่มีความคิดเห็น: