Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ธันวาคม 2556 HTC ไทยตัดสินใจจับมือค่ามือถือดีกว่า เหตุ กฏหมายไทยการผูกมัดสัญญาให้บริการระยะยาว จึงทำให้ไม่สามารถลดค่าเครื่องเพื่อจูงใจลูกค้า จึงใช้กลยุทธสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้เข้าไปใกล้เคียงกับแอปเปิล


ประเด็นหลัก

 แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเอชทีซี ในประเทศไทยรายหนึ่งมองว่า เหตุที่ทำให้ช่วงหลังๆ เอชทีซี มีที่ยืนในตลาดที่น้อยลงคือ การปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจเพื่อหันเข้าหาโอเปอเรเตอร์ เพราะสภาพของตลาดในประเทศไทยไม่เหมาะกับโอเปอเรเตอร์โมเดล ทั้งจากข้อบังคับและกฏหมายในประเทศที่ไม่ส่งเสริมให้มีการผูกมัดสัญญาให้บริการระยะยาว จึงทำให้ไม่สามารถลดค่าเครื่องเพื่อจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้ได้ และยังมองอีกว่าเอชทีซีต้องการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้เข้าไปใกล้เคียงกับแอปเปิล ทั้งยังมีการดึงอดีตผู้บริหารของแอปเปิลเข้ามาช่วย โดยไม่คำนึงถึงจุดแข็งหลักเดิมของเอชทีซี แต่รุกเข้าไปในจุดนี้แอปเปิลมีความแข็งแกร่งอย่างการบริหารจัดการคลังสินค้า และการจัดการต้นทุน ของ ทิม คุก ซีอีโอ แอปเปิล
   
       'จะเห็นได้ว่าเอชทีซี ใช้เวลาค่อนข้างนานในการหาผู้บริหารที่จะเข้ามากุมบังเหียนในตลาดประเทศไทย เพราะหลายๆคน ที่ได้รับคำเชิญเข้ามารู้ว่าต้องเจอกับสภาพปัญหาอะไร ทั้งจากนโยบายของบริษัทแม่ที่สอดคล้องกับตลาดในประเทศ และปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของการออกผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ทำให้ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าหลังจากนี้เอชทีซี จะกลายเป็นแบล็กเบอร์รี่รายต่อไปหรือไม่'


      ซึ่งแนวทางบริหารดังกล่าว เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยทางเอชทีซี พยายามที่จะเข้าไปจับมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่แบบเอ็กซ์คลูซีฟ ดังจะเห็นได้ตั้งแต่การนำ HTC Butterfly S ที่ในช่วงเวลานั้นจับมือกับทางทรูมูฟ เอช เพื่อดึงจุดแข็งในเรื่องของการให้บริการ 4G เข้ามา เนื่องจากตัวเครื่องรองรับการใช้งาน พร้อมๆไปกับการแนะนำจุดเด่นของเครื่องเกี่ยวกับแบตเตอรีที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น











______________________________________

ลุ้น 'เอชทีซี’ ในวันที่ต้องปรับตัว (Cyber Weekend)



จากชื่อชั้นของแบรนด์ที่ติดหูว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกสมาร์ทโฟนที่ดีที่สุดในท้องตลาดอย่างเอชทีซี กลับพบเจอปัญหาหลักหนักอกเพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ออกมาสอดรับกับตลาดในช่วงที่แบรนด์คู่แข่งในตลาดกำลังปีนขึ้นสู่ยอดเขา แถมยังเกือบตกหน้าผาจากการเปลี่ยนแนวทางบริหารที่บริษัทแม่เน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับโอเปอเรเตอร์ ส่งผลให้การรับรู้ของผู้บริโภคเริ่มตกลงไป
     
       โดยในตลาดระดับโลกเอชทีซี พยายามพลิกฟื้นโอกาสในการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ด้วยการดึงตัว 'โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์’ นักแสดงนำไอร่อนแมน มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ให้ดูทันสมัย พร้อมกระจายแคมเปญดังกล่าวออกไปสู่ทุกทวีป เพื่อเรียกความมั่นใจของผู้บริโภคกลับคืนมา ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นรุ่นต่อยอดของ HTC One ตามออกมาทำตลาดในรุ่น One mini และ One Max ในช่วงปลายปี
     
       ส่วนในประเทศไทย หลังจากมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงที่จะให้เข้ามาคุมตลาดในไทย ซึ่งถือเป็นประเทศที่กำลังมีอัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนสูง จากการผลัดเปลี่ยนเทคโนโลยี 2G ไปเป็น 3G ก็ทำให้บริษัทแม่ในไต้หวัน เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน โดยล่าสุด เอชทีซี ได้ดึงอดีตผู้บริหารจาก เอ็ม ลิงค์ เอเชีย ที่เคยดูแลในส่วนของการตลาด และธุรกิจ MVNO อย่าง พลณรงค์ วัฒนโพธิธร เข้ามารับตำแหน่ง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอชทีซี (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการบริหารของบริษัทแม่ ที่จะเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโอเปอเรเตอร์ ในการจำหน่ายสมาร์ทโฟน
     
       ซึ่งแนวทางบริหารดังกล่าว เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยทางเอชทีซี พยายามที่จะเข้าไปจับมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่แบบเอ็กซ์คลูซีฟ ดังจะเห็นได้ตั้งแต่การนำ HTC Butterfly S ที่ในช่วงเวลานั้นจับมือกับทางทรูมูฟ เอช เพื่อดึงจุดแข็งในเรื่องของการให้บริการ 4G เข้ามา เนื่องจากตัวเครื่องรองรับการใช้งาน พร้อมๆไปกับการแนะนำจุดเด่นของเครื่องเกี่ยวกับแบตเตอรีที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
     
       จนมาถึงความเคลื่อนไหวล่าสุด คือการเข้าไปจับมือเป็นพันธมิตร กับโอเปอเรเตอร์เบอร์ 2 ในตลาดอย่างดีแทค เพื่อหวังที่จะสานต่อความสำเร็จที่เคยร่วมมือกันในอดีตในการผลักดันอีก 2 สมาร์ทโฟนที่วางจำหน่ายแล้วในต่างประเทศอย่าง One mini และ One Max ให้กระจายเข้าสู่ท้องตลาด ในวันที่การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กำลังปะทุ เข้าสู่จุดเดือดในช่วงปีหน้า
     
       แน่นอนว่า การมาของ One Mini และ One Max ที่เพิ่งวางขาย ถือเป็น 2 สมาร์ทโฟนที่เอชทีซี หวังว่าจะกลับมากู้คืนสภาพคล่องในการดำเนินงานของเอชทีซี เพราะจากผลประกอบการตลอดปีที่ผ่านมาของเอชทีซี มีแต่จะตกลง และลดลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นช่วงเวลาที่มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ดูแล้วจะกระเตื้องขึ้นมาบ้าง แต่เพราะขาดความต่อเนื่องทำให้โดยรวมแล้วผลประกอบการในปีนี้ไม่เติบโตตามแผนที่วางไว้
     
       ก่อนหน้านี้ทางปีเตอร์ ชู ซีอีโอของเอชทีซี เคยตั้งเป้าในช่วงไตรมาส 4 ว่า จะเติบโตให้ได้ไม่ต่ำกว่า 20% เพื่อให้มีเงินทุนเข้ามาหมุนเวียน สำหรับการแข่งขันในช่วงปีหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้โดนวิจารณ์อย่างหนักว่า สมาร์ทโฟนของเอชทีซี ในรุ่น HTC One นั้นมีราคาสูงเกินไป จนไม่เหมาะสำหรับลูกค้าทั่วไป ทำให้การมาของเครื่องรุ่นใหม่ทั้ง 2 รุ่น ซึ่งออกมาวางจำหน่ายใน 2 ช่วงราคา จะช่วยให้เอชทีซี มีผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคในวงที่กว้างขึ้นเช่นเดียวกัน
     
       แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเอชทีซี ในประเทศไทยรายหนึ่งมองว่า เหตุที่ทำให้ช่วงหลังๆ เอชทีซี มีที่ยืนในตลาดที่น้อยลงคือ การปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจเพื่อหันเข้าหาโอเปอเรเตอร์ เพราะสภาพของตลาดในประเทศไทยไม่เหมาะกับโอเปอเรเตอร์โมเดล ทั้งจากข้อบังคับและกฏหมายในประเทศที่ไม่ส่งเสริมให้มีการผูกมัดสัญญาให้บริการระยะยาว จึงทำให้ไม่สามารถลดค่าเครื่องเพื่อจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้ได้ และยังมองอีกว่าเอชทีซีต้องการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้เข้าไปใกล้เคียงกับแอปเปิล ทั้งยังมีการดึงอดีตผู้บริหารของแอปเปิลเข้ามาช่วย โดยไม่คำนึงถึงจุดแข็งหลักเดิมของเอชทีซี แต่รุกเข้าไปในจุดนี้แอปเปิลมีความแข็งแกร่งอย่างการบริหารจัดการคลังสินค้า และการจัดการต้นทุน ของ ทิม คุก ซีอีโอ แอปเปิล
     
       'จะเห็นได้ว่าเอชทีซี ใช้เวลาค่อนข้างนานในการหาผู้บริหารที่จะเข้ามากุมบังเหียนในตลาดประเทศไทย เพราะหลายๆคน ที่ได้รับคำเชิญเข้ามารู้ว่าต้องเจอกับสภาพปัญหาอะไร ทั้งจากนโยบายของบริษัทแม่ที่สอดคล้องกับตลาดในประเทศ และปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของการออกผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ทำให้ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าหลังจากนี้เอชทีซี จะกลายเป็นแบล็กเบอร์รี่รายต่อไปหรือไม่'
     
       2 คู่หูลุยตลาดปลายปี
     
       HTC One Max และ HTC One mini ถือเป็นสมาร์ทโฟน 2 รุ่นที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HTC One ที่เอชทีซี ใช้เวลาทุ่มเทในการพัฒนามานานโดยถอดแบบดีไซน์เดียวกันมา เพียงแต่มีการปรับเพิ่ม และลดขนาด ตามชื่อรุ่น เพื่อให้มีขนาดหน้าจอที่หลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้
     
       สำหรับ HTC One Max จะมาพร้อมกับหน้าจอขนาด 5.9 นิ้ว ที่ให้ความละเอียด Full HD 1080p เพียงแต่ยังไม่ได้ใช้ซีพียูรุ่นท็อบของควอลคอมม์ แต่เลือกใช้รุ่นรองลงมาอย่าง Snapdragon 600 ให้ RAM มา 2GB แบตเตอรีขนาด 3,300 mAh มีหน่วยความจำในตัวเครื่องให้เลือกทั้ง 16 GB และ 32 GB สามารถเพิ่มไมโครเอสดีการ์ดได้ ซึ่งจุดเด่นที่มีการเพิ่มเข้ามาคือระบบสแกนลายนิ้วมือ ที่บริเวณด้านหลังเครื่อง สำหรับใช้ปลดล็อกเครื่อง คล้ายๆกับการทำงานของ iPhone 5S
     
       ส่วน HTC One mini ที่ถือว่าเป็นรุ่นที่จะมาเจาะตลาดระดับกลาง ทำให้มีการลดสเปกลงมาเหลือซีพียู Snapdragon 400 ให้ RAM 1 GB บนขนาดหน้าจอ 4.3 นิ้ว ความละเอียด HD 720p แบตเตอรี 1,800 mAh
     
       แน่นอนว่าทั้ง 2 รุ่นมาพร้อมเทคโนโลยีกล้องแบบ UltraPixel และลำโพงคู่หน้า BoomSound ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญใน HTC One มาอย่างพร้อมเพียง


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000152664

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.