Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 ธันวาคม 2556 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ปี 57 โต 14-16% จะมีมูลค่าสูงถึง 32,690 - 33,260 ล้านบาท รายการโทรทัศน์ที่มุ่งนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม


ประเด็นหลัก

altจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีแผนเปิดการประมูลทีวีดิจิทัลในส่วนของช่องบริการธุรกิจ 24 ช่องราวช่วงกลางเดือนธันวาคม 2556 ถึงกลางเดือนมกราคม 2557 และคาดว่าจะสามารถเผยแพร่ภาพได้ราวไตรมาส 1 ปี 2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลในปี 2557 จะเป็นปัจจัยหลักในการช่วยผลักดันให้ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทยเติบโตและมีความคึกคักมากขึ้น โดยคาดว่าตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ในปี 2557 จะมีมูลค่าสูงถึง 32,690 - 33,260 ล้านบาท เติบโตกว่าร้อยละ 14-16 จากปี 2556 ที่คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 28,780 ล้านบาท  ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลจะก่อให้เกิดแนวโน้มและโอกาสทางธุรกิจ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

•    ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มีช่องทางในการผลิตรายการป้อนสู่ช่องฟรีทีวีมากขึ้น
จากจำนวนช่องฟรีทีวีในปัจจุบันที่มีจำกัดเพียง 6 ช่อง ส่งผลให้มีผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายหลักไม่กี่รายผลิตรายการและป้อนสู่ฟรีทีวีช่องต่างๆ ในขณะที่ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายอื่นๆต้องนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมแทน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนครัวเรือนที่รับชมเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมน่าจะใกล้ถึงจุดอิ่มตัวและอาจส่งให้ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ที่มุ่งนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมเติบโตอย่างชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ทีวีดิจิทัลที่จะมีช่องธุรกิจมากถึง 24 ช่อง ย่อมนำมาซึ่งความต้องการรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการขยายโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มุ่งนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม จะสามารถหันมาผลิตรายการป้อนสู่ช่องฟรีทีวีได้มากขึ้น รวมถึงทีวีดิจิทัลยังเป็นช่องทางสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์หน้าใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์แต่ยังขาดโอกาสในการนำเสนอรายการออกสู่สายตาผู้ชม สามารถนำเสนอผลงานสู่สายตาผู้ชมในวงกว้างผ่านช่องฟรีทีวีได้มากขึ้น



______________________________________



ทีวีดิจิทัล'หนุนมูลค่าตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ปี 57 โต 14-16%




บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ปี’ 57   โตร้อยละ 14-16 จับตา ... ทีวีดิจิทัลปัจจัยหนุน"

ประเด็นสำคัญ

•    ด้วยการพัฒนาและการเติบโตที่ก้าวกระโดดของเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่มีโอกาสเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และต่างก็มีความเชี่ยวชาญในการผลิตรายการที่แตกต่างกัน จึงส่งผลให้เนื้อหารายการโทรทัศน์มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ในปี 2557 จะมีมูลค่าสูงถึง 32,690 - 33,260 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 14-16 จากปี 2556 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 28,780 ล้านบาท
•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทีวีดิจิทัลก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ทั้งในด้านช่องทางการผลิตรายการป้อนสู่ช่องฟรีทีวีที่มากขึ้น การยกระดับคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ รวมถึงยังส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในการรับจ้างช่วงต่อในกิจกรรมต่างๆ


“รายการโทรทัศน์” นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจสื่อโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นปัจจัยดึงดูดรายได้จากค่าโฆษณามูลค่ามหาศาล โดยในปัจจุบัน รายการโทรทัศน์มักอยู่ในรูปแบบของละคร วาไรตี้ ข่าว และรายการสำหรับเด็ก ซึ่งจะออกอากาศอยู่ในสามแพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ ฟรีทีวีอะนาล็อก เคเบิ้ลทีวี และทีวีดาวเทียม ทั้งนี้ รายการโทรทัศน์จะถูกดำเนินการจัดหาและผลิตโดยกลุ่มผู้ประกอบการช่องรายการตามแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อนำมาออกอากาศช่องตัวเอง กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตรายการโทรทัศน์แล้วป้อนเข้าสู่ช่องรายการต่างๆ รวมถึงการซื้อลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์จากต่างประเทศ ในรูปแบบละครซีรี่ย์ต่างประเทศ รายการวาไรตี้ประเภทเกมโชว์ และเรียลลิตี้โชว์ เป็นต้น

ภาพรวมตลาดธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน
     
สำหรับภาพรวมตลาดธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ที่แตกต่างกัน จะเข้ามาในตลาดมากขึ้น เนื่องจากการเติบโตที่ก้าวกระโดดของเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งจำนวนช่องที่มีมากกว่า 200 ช่อง และอัตราการเข้าถึงผู้ชมกว่า 14 ล้านครัวเรือน ประกอบกับกระแสความนิยมรับชมรายการโทรทัศน์ต่างประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ละครซีรี่ย์ต่างประเทศ ทำให้ช่องรายการต่างๆได้นำเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ผลิตในไทยมาออกอากาศ นับเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ไทยรายใหม่ที่จะสามารถเข้ามาผลิตรายการโทรทัศน์ โดยเฉพาะละครไทย และรายการวาไรตี้ เพื่อป้อนเข้าสู่ช่องรายการได้มากขึ้น

ทั้งนี้ จากการที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆ มีความเชี่ยวชาญในการผลิตประเภทรายการที่แตกต่างกัน โดยบางรายมีความเชี่ยวชาญในการผลิตละคร บางรายมีความเชี่ยวชาญในการผลิตรายการวาไรตี้หรือรายการข่าว เป็นต้น จึงทำให้มีกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกัน และจากการที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มีความเชี่ยวชาญในการผลิตรายการที่แตกต่างกันเข้ามาในตลาดมากขึ้น ย่อมส่งผลให้เนื้อหารายการโทรทัศน์ในประเทศไทยมีความหลากหลาย ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ผลงาน และรูปแบบการนำเสนอ อย่างไรก็ตาม พบว่า รายการโทรทัศน์ประเภทละคร ยังคงเป็นที่นิยมในการรับชมจากผู้ชมสูงสุดในช่วงเวลาหลัก หรือ Prime Time ทำให้ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์ ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มใดก็ตาม ต่างสรรหาละครเนื้อหาดีและมีคุณภาพมาออกอากาศในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อแย่งชิงสายตาผู้ชมโทรทัศน์ให้มากที่สุด ส่งผลให้ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตละครต้องทำการจัดหาโดยจ้างผู้ผลิตละครอื่นที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญเพื่อผลิตและป้อนละครเข้าสู่ช่องรายการของตนเอง นอกจากนี้ เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นละครซีรี่ย์ รายการวาไรตี้ประเภทเกมโชว์ และเรียลลิตี้โชว์ มักจะทำถูกปรับเนื้อหาหรือรูปแบบในการนำเสนอให้เข้ากับรสนิยมและกระแสความนิยมของคนไทย

ทีวีดิจิทัล : แนวโน้มและโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
 
altจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีแผนเปิดการประมูลทีวีดิจิทัลในส่วนของช่องบริการธุรกิจ 24 ช่องราวช่วงกลางเดือนธันวาคม 2556 ถึงกลางเดือนมกราคม 2557 และคาดว่าจะสามารถเผยแพร่ภาพได้ราวไตรมาส 1 ปี 2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลในปี 2557 จะเป็นปัจจัยหลักในการช่วยผลักดันให้ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทยเติบโตและมีความคึกคักมากขึ้น โดยคาดว่าตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ในปี 2557 จะมีมูลค่าสูงถึง 32,690 - 33,260 ล้านบาท เติบโตกว่าร้อยละ 14-16 จากปี 2556 ที่คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 28,780 ล้านบาท  ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลจะก่อให้เกิดแนวโน้มและโอกาสทางธุรกิจ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

•    ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มีช่องทางในการผลิตรายการป้อนสู่ช่องฟรีทีวีมากขึ้น
จากจำนวนช่องฟรีทีวีในปัจจุบันที่มีจำกัดเพียง 6 ช่อง ส่งผลให้มีผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายหลักไม่กี่รายผลิตรายการและป้อนสู่ฟรีทีวีช่องต่างๆ ในขณะที่ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายอื่นๆต้องนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมแทน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนครัวเรือนที่รับชมเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมน่าจะใกล้ถึงจุดอิ่มตัวและอาจส่งให้ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ที่มุ่งนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมเติบโตอย่างชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ทีวีดิจิทัลที่จะมีช่องธุรกิจมากถึง 24 ช่อง ย่อมนำมาซึ่งความต้องการรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการขยายโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มุ่งนำเสนอผลงานผ่านช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม จะสามารถหันมาผลิตรายการป้อนสู่ช่องฟรีทีวีได้มากขึ้น รวมถึงทีวีดิจิทัลยังเป็นช่องทางสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์หน้าใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์แต่ยังขาดโอกาสในการนำเสนอรายการออกสู่สายตาผู้ชม สามารถนำเสนอผลงานสู่สายตาผู้ชมในวงกว้างผ่านช่องฟรีทีวีได้มากขึ้น

•    การแข่งขันด้านคุณภาพของเนื้อหารายการโทรทัศน์ และนำเสนอความแตกต่างและแปลกใหม่ เพื่อดึงดูดสายตาผู้ชม

ผู้ที่ได้รับการประมูลช่องทีวีดิจิทัลย่อมต้องสร้างเรตติ้งจากผู้ชมโทรทัศน์ที่มีทางเลือกในการรับชมฟรีทีวีมากถึง 24 ช่องธุรกิจเพื่อแข่งขันกันดึงเม็ดเงินโฆษณาผ่านโทรทัศน์ที่มีมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาทต่อปี สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยที่กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการประมูลช่องทีวีดิจิทัลย่อมคัดเลือกเนื้อหารายการที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการรับชมของผู้ชมโทรทัศน์ ส่งผลให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มีการแข่งขันกันพัฒนาเนื้อหารายการโทรทัศน์ให้มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์โดยนำเสนอความแตกต่างและแปลกใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการยกระดับภาพรวมของเนื้อหารายการโทรทัศน์ในประเทศไทยให้มีคุณภาพ หลากหลาย และตรงกับความต้องการของผู้ชมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ทีวีดิจิทัลช่องบริการธุรกิจ ยังก่อให้เกิดช่องทางที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมที่มีความเฉพาะเจาะจงไปตามประเภทของช่องรายการ ได้แก่ ช่องรายการเด็ก ข่าว และวาไรตี้ ทำให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สามารถผลิตเนื้อหารายการได้ตามประเภทที่ตนเองมีความถนัด และถ่ายทอดไปยังกลุ่มผู้ชมช่องรายการได้อย่างตรงกลุ่มมากยิ่งขึ้น


•    ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรายการโทรทัศน์ เช่น ให้เช่าอุปกรณ์การถ่ายทำ ให้เช่าสตูดิโอ ให้เช่าชุดนักแสดง งานเทคนิคพิเศษ และงานตัดต่อ จะได้รับอานิสงส์ในการรับจ้างช่วงต่อ

จากความต้องการรายการโทรทัศน์เพื่อป้อนสู่ช่องฟรีทีวีที่มีจำนวนมากขึ้น นำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ที่มีบทบาทในการรับจ้างช่วงต่อจากผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในหลากหลายกิจกรรม เช่น ให้เช่าอุปกรณ์การถ่ายทำ ให้เช่าสตูดิโอ ให้เช่าชุดนักแสดง งานเทคนิคพิเศษ งานตัดต่อ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก จึงกล่าวได้ว่าการเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลของประเทศไทยไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดกิจกรรมและสร้างเม็ดเงินสำหรับธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดกิจกรรมและสร้างเม็ดเงินสะพัดไปยังภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการจ้างช่วงต่อดังกล่าวอีกด้วย

ภาพรวมตลาดธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ก่อนและหลังการเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัล

alt








หลากหลายประเด็นท้าทายในตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ที่ยังต้องเผชิญ
แม้ว่าการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลในประเทศไทยจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มูลค่าตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ในปี 2556 มีการเติบโตอยู่ในระดับสูง แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ยังจำเป็นต้องจับตามองประเด็นท้าทายที่หลากหลายสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ทั้งประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ พฤติกรรมผู้ชมโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป และต้นทุนในการผลิตรายการโทรทัศน์ที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงประเด็นท้าทายที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัล ได้แก่ การสรรหาและผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อให้เพียงพอสำหรับการถ่ายทอดไปยังผู้ชม และการขาดแคลนบุคลากรในสายงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

•    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ชมที่เข้าสู่รูปแบบการชมโทรทัศน์พร้อมกับการใช้สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ท
     
จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้คนนิยมใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ อยู่ตลอดเวลา จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมผู้ชมในปัจจุบันเข้าสู่รูปแบบการทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Multitasking) มากขึ้น กล่าวคือ ผู้ชมจะมีการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านหน้าจอโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อที่คุ้นเคยไปพร้อมกับการใช้สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ท ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ในการผลิตเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ น่าสนใจ และโดดเด่น ที่จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้หันมาสนใจรับชมรายการโทรทัศน์เพียงหน้าจอเดียวได้อย่างตั้งใจ
     
อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์ต่างก็เริ่มปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากการออกอากาศรายการผ่านช่องทางโทรทัศน์อย่างเดียว มาสู่การออกอากาศผ่านทั้งช่องทางโทรทัศน์ควบคู่ไปกับช่องทางอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้หลากหลายช่องทาง ทั้งโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ท รวมถึงยังมีการปรับรูปแบบแพ็กเกจการโฆษณาสินค้าสำหรับสปอนเซอร์ที่สอดคล้องไปกับช่องทางการรับชมรายการโทรทัศน์ของผู้ชมด้วย

•    ต้นทุนในการผลิตรายการโทรทัศน์ที่อยู่ในระดับสูง

 การผลิตรายการโทรทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายการประเภทละครและแอนิเมชั่น มักใช้เงินทุนในระดับสูง เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาในการผลิตที่ยาวนานและประกอบไปด้วยขั้นตอนที่หลากหลาย ตั้งแต่การเขียนบท ออกแบบตัวละคร การคัดเลือกนักแสดง การออกแบบฉาก เครื่องแต่งกาย การถ่ายทำ การตัดต่อภาพและเสียง ไปจนถึงการใส่เทคนิคพิเศษต่างๆ ระยะเวลาในการผลิตที่ยาวนานและขั้นตอนที่หลากหลายที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนในระดับสูงนี้ อาจเป็นข้อจำกัดในการเข้าสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับผู้ผลิตรายการขนาดกลางและเล็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์ยังคงมีผู้ผลิตรายการโทรทัศน์หลักๆเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
 
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์รายใหม่ที่ประมูลช่องทีวีดิจิทัลได้ อาจเผชิญความท้าทายในด้านการบริหารการเงิน เนื่องจากการดำเนินงานในช่วงแรกจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนทั้งในส่วนของการประมูล การผลิตและการจัดหารายการโทรทัศน์ ในขณะที่รายรับหลักมาจากค่าโฆษณา ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบการทยอยรับ รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่อาจไม่ได้รับค่าโฆษณาสูงดังคาดการณ์ หากเรตติ้งรายการโทรทัศน์ไม่ได้รับความนิยมดังที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์อาจประสบปัญหาด้านการบริหารการเงินได้

•    การสรรหาและผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อให้เพียงพอสำหรับการถ่ายทอดไปยังผู้ชม
ตามหลักเกณฑ์ของ กสทช. ได้ระบุว่า ผู้ประกอบการช่องรายการที่ชนะการประมูลช่องทีวีดิจิทัลประเภทช่องบริการธุรกิจทั้ง 24 ช่อง จะต้องออกอากาศรายการโทรทัศน์ภายใน 30 วัน ภายหลังจากการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้นำมาซึ่งความต้องการรายการโทรทัศน์จำนวนมากเพื่อป้อนสู่ช่องต่างๆ ในขณะที่ขีดความสามารถในการผลิตรายการโทรทัศน์ของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด อาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการประมูลช่องทีวีดิจิทัลไม่สามารถจัดหารายการเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชมได้อย่างเพียงพอ

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการประมูลช่องทีวีดิจิทัลจำเป็นต้องมีสต๊อกรายการโทรทัศน์ไว้อย่างเพียงพอสำหรับการถ่ายทอดออกอากาศภายหลังจากได้รับการประมูล โดยพบว่าผู้ที่เข้าร่วมการประมูลช่องทีวีดิจิทัลต่างก็เริ่มซื้อลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์จากต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบเกมโชว์ ละครซีรีย์ รายการวาไรตี้ รายการกีฬา เพื่อเก็บสต็อกไว้ในกรณีที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ไม่สามารถผลิตรายการป้อนสู่ช่องได้อย่างเพียงพอ

•    ภาวะขาดแคลนบุคลากรที่มีประสบการณ์ในธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีนักเรียนนักศึกษาที่สนใจศึกษาวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ดังจะเห็นได้จากการเลือกเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็เปิดหลักสูตรการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานป้อนสู่ตลาดการผลิตรายการโทรทัศน์อย่างมากมาย แต่ในการผลิตรายการโทรทัศน์นั้น จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่สั่งสมประสบการณ์อย่างยาวนาน ดังจะเห็นได้จากการซื้อตัวผู้มีความสามารถระหว่างผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆ ประกอบกับขีดความสามารถในการรับชมทีวีดิจิทัลที่มากถึง 24 ช่องธุรกิจ นำมาซึ่งความต้องการรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้นเพื่อป้อนสู่ช่องต่างๆ จึงอาจส่งผลให้ปัญหาภาวะขาดแคลนบุคลากรที่มีประสบการณ์มีความรุนแรงขึ้น ทั้งในส่วนของสายงานครีเอทีฟและโปรดิวเซอร์ รวมถึงสายงานช่างเทคนิค ดังนั้น ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จึงต้องเตรียมการด้านบุคลากรให้พร้อมเพื่อรองรับกิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการสร้างบุคลากรด้วยวิธีการฝึกการปฏิบัติงานจริง โดยมีผู้ที่สั่งสมประสบการณ์เป็นครูฝึกสอน ควบคู่ไปกับการหมุนเวียนงานให้บุคลากรสามารถเรียนรู้งานผลิตรายการโทรทัศน์ในหลากหลายด้านเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=210836:-57--14-16&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.