17 ธันวาคม 2556 ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนระบุ8 เทรนด์เด่นแวดวง ICT ไทย!! สมาร์ทโฟนที่เพิ่ม/แท็บเล็ตโตไม่หวือหวา/นิยมแอนดรอยด์/LINE จะยังเติบโต/โอเปอร์เรเตอร์มือถือรายได้โต/ตลาดฟิกซ์บรอดแบน์จะเริ่มชะลอตัว/LTE/ตลาดเกมส์ในมือถือจะโตอย่างรวดเร็ว
ประเด็นหลัก
1.ความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นจะเป็นความท้าทายหลักของผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย
2.ตลาดแท็บเล็ตจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ไม่หวือหวา
3.แอนดรอยด์ จะยังคงเป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปีหน้า
4.LINE จะยังเติบโตและสร้างความเปลี่ยนแปลงในตลาดการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
5.รายได้จากมือถือของโอเปอร์เรเตอร์จะเพิ่มมากขึ้น แม้ว่า มาร์จินจะลดลง
6. ตลาดฟิกซ์บรอดแบน์จะเริ่มชะลอตัว
7. การจัดสรรคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือจะยังคงเป็นประเด็นร้อน
8. ตลาดเกมส์ในมือถือจะโตอย่างรวดเร็ว และมีเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 100 ล้านเหรียญฯ
ฟรอสต์ฯเผย 8 เทรนด์เด่นแวดวงไอซีที ปีมะเมีย
ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก จะออกรายงานระบุถึงเทรนด์ไอซีทีเด่น โดยในปีนี้ มาร์ค ไอน์สไตน์ นักวิเคราะห์ด้านไอซีที จากบริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน ได้ระบุถึง 8 เทรนด์ ที่มีแนวโน้มโดดเด่นในปี 2557
1.ความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นจะเป็นความท้าทายหลักของผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย
ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่ประมาณ 15.3 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 25% ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด ในปี 2557 นั้น ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน เชื่อว่าความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นจะเป็นความท้าทายหลักของผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการเหล่านี้จะได้เห็นคือ การที่รายได้ต่อหัวของผู้ใช้งานในระบบเสียงและการส่งข้อความถูกทดแทนด้วยรายได้จากการให้บริการ Data Services บนระบบ 3G ตลาดสมาร์ทโฟนจะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆจนแตะระดับ 20 ล้านเครื่องหรือ 38% ของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดภายในปีหน้า
2.ตลาดแท็บเล็ตจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ไม่หวือหวา
ในปีหน้าตลาดแท็บเล็ตในประเทศไทยจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ไม่หวือหวาซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายยังคงเป็นกลุ่ม Niche เช่นเดิม ในขณะที่ปัจจุบันนี้จำนวนผู้ใช้แท็บเล็ตมีอยู่ประมาณ 4 ล้านคน นับเป็น 6% ของประชากรทั้งหมด ตัวเลขผู้ใช้นั้นคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 ล้านคนหรือ 11% ของประชากรในปีหน้า ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตนี้คือการที่ความนิยมของผู้บริโภคในการใช้แท็บเล็ตแทนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC
อีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของตลาดแท็บเล็ตคือกลุ่มบริษัทผู้พัฒนาเกมส์บน platform ต่างๆ ผู้เล่นในกลุ่มนี้จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกมส์บนเครื่องแท็บเล็ตให้มากขึ้นแทนที่การพัฒนาเกมส์สำหรับสมาร์ทโฟน ข้อมูลต่างๆบ่งชี้ให้เห็นว่าลูกค้าในกลุ่มนี้มีความต้องการและมีความพร้อมในการซื้อเกมส์สำหรับเล่นบนแท็บเล็ตมากกว่าเกมส์บนสมาร์ทโฟน
3.แอนดรอยด์ จะยังคงเป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปีหน้า
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) จะยังคงเป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปีหน้า คาดว่าแอนดรอยด์จะมีส่วนแบ่งตลาดถึง 78% ของอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Smart Devices) ทั้งหมด โตจากปีนี้ที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ 70% สาเหตุที่ความนิยมของแอนดรอยด์นั้นเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใช้งานระบบโทรศัพท์ BlackBerry ที่เปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ในระบบแอนดรอยด์มากขึ้น รวมทั้งการเข้ามารุกตลาดของอุปกรณ์สื่อสารราคาถูกจากประเทศจีน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนมีแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐานทั้งสิ้น ส่วนอุปกรณ์ในระบบ Windows นั้นแม้ว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นแต่จะยังไม่สามารถเบียดขึ้นมาเป็นผู้เล่นหลักได้ทันในปีหน้า
4.LINE จะยังเติบโตและสร้างความเปลี่ยนแปลงในตลาดการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
LINE จะยังเติบโตและสร้างความเปลี่ยนแปลงในตลาดการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวนผู้ใช้มากกว่า 18 ล้านคนในปัจจุบัน LINE เติบโตอย่างรวดเร็ว และกำลังไล่ตาม Facebook ที่มีผู้ใช้ 25 ล้านคนในประเทศไทย Naver บริษัทผู้เป็นเจ้าของ LINE ได้เริ่มจับมือกับผู้ให้บริการธุรกิจท้องถิ่นเพื่อสร้างความน่าสนใจ และต่อยอดให้กับตัว app เช่นการออกแบบสติกเกอร์ที่เจาะตลาดคนไทยโดยเฉพาะ จึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า LINE จะยังคงรุกตลาดอย่างต่อเนื่องด้วยบริการใหม่ๆที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยในโลกโซเชียล
5.รายได้จากมือถือของโอเปอร์เรเตอร์จะเพิ่มมากขึ้น แม้ว่า มาร์จินจะลดลง
ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนฯ เชื่อว่าตลาดบริการสื่อสารเคลื่อนที่ในประเทศไทยจะยังคงเติบโตขึ้น แต่ในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในปีหน้าผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆจะเห็นรายได้ของเติบโตขึ้นในอัตราประมาณการที่ร้อยละ 8 อันเป็นผลมาจากยอดขายอุปกรณ์โทรศัพท์และการใช้บริการระบบ 3G ที่มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอัตรากำไรสุทธิจะลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่สื่อสารผ่าน App ต่างๆ เช่น Line, WeChat, Skype, หรือ Facebook แทนที่การใช้โทรศัพท์แบบธรรมดาหรือการส่งข้อความ SMS
6. ตลาดฟิกซ์บรอดแบน์จะเริ่มชะลอตัว
ในปีหน้าตลาดบริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบบรอดแบนด์ (Broadband) จะเริ่มชะลอตัวลง โดยที่ผู้ให้บริการในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นการซ่อมบำรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายของตนเองให้เร็วยิ่งขึ้นแทนที่การขยายขอบเขตพื้นที่ให้บริการ ปริมาณการเข้าถึงบอร์ดแบนด์ของผู้บริโภคทั่วไปประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 28% ในปีหน้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 24% ในปีนี้
สำหรับตัวแปรสำคัญของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดดแบนด์นั้นอยู่ที่นโยบายขับเคลื่อนของภาครัฐ ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนนโยบายพัฒนาโดยนำหลักการของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปโครงข่ายบอร์ดแบนด์เช่น มาเลเซีย มาประยุกต์ใช้ ทำให้น่าจะได้เห็นการเข้าถึงบริการโครงข่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
7. การจัดสรรคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือจะยังคงเป็นประเด็นร้อน
การจัดสรรคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือจะยังคงเป็นประเด็นร้อนสำหรับผู้ให้บริการต่างๆที่ต้องเตรียมตัวนำเสนอระบบ 4G LTE ต่อไปในปีหน้า สิ่งที่ประเทศไทยต้องการอย่างยิ่งคือระบบการบริหารคลื่นความถี่ที่โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรฐานสากล เนื่องจากระบบการบริหารที่มีอยู่เดิมนั้นยังขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้เพียงพอต่อการใช้งาน ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความล้าหลังในการนำเทคโนโลยี 3G เข้ามาใช้งาน สำหรับระบบ 4G LTE เต็มประสิทธิภาพในประเทศไทยนั้นคาดว่าเรายังคงต้องรออีก 3 ปีจึงจะได้เห็น
8. ตลาดเกมส์ในมือถือจะโตอย่างรวดเร็ว และมีเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 100 ล้านเหรียญฯ
ในส่วนของตลาดเกมส์สำหรับอุปกรณ์พกพาในประเทศไทยนั้นแม้ว่ายังมีขนาดเล็กถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก แต่จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยแรงหนุนจากการความนิยมการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เช่น แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงเกมส์จากต่างประเทศให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศ เกมส์ออนไลน์บนเครื่อง PC (MMO) จะยังคงเป็นเจ้าตลาดด้วยส่วนแบ่ง 50% ของตลาดเกมส์ทั้งหมด เกมส์บนระบบ Mobile จะเติบโตอย่างรวดเร็วในปีหน้า ส่วนเกมส์บนระบบเครื่อง Console จะเริ่มชะลอตัวลง
โดย LINE ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดบนอุปกรณ์พกพาด้วยเกมส์ฮิตอย่างเช่น Pokopang และ LINE POP ส่วนเกมส์อื่นๆเช่น Casino ยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องเช่นกัน ในขณะที่เกมส์ฮิตจากต่างชาติจำนวนมากเริ่มหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย มีเพียงส่วนน้อยที่มีการปรับภาษาและระบบการเล่นให้เข้ากับคนไทย จึงเป็นโอกาสของผู้เล่นท้องถิ่นในการพัฒนาต่อยอด ประเทศไทยเองมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเกมส์ในภูมิภาคหากได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจากภาครัฐในการชักนำการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาให้มากขึ้น
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000154229
ไม่มีความคิดเห็น: