17 ธันวาคม 2556 ผลสำรวจของฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน ระบุ คาดสิ้นปีนี้มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือในไทยมากกว่า 89 ล้านเครื่อง นับเป็นการเข้าถึงบริการ (penetration rate) มากกว่า 130% ของจำนวนประชากรในประเทศ
ประเด็นหลัก
นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์ด้านไอซีที บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนฯ องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่า ในปี 2557 ปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนรายได้ของผู้ให้บริการในตลาดอุปกรณ์รองรับการใช้งานแบบเคลื่อนที่ หรือ โมบายดีไวซ์ คือ การเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น เพราะแม้ว่าในปัจจุบันคนไทยจะมีโทรศัพท์มือถือกันทุกคน แต่จำนวนโทรศัพท์ที่เป็นสมาร์ทโฟนรองรับการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตและใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ ได้ ในปีนี้มีเพียง 30% ของจำนวนโทรศัพท์มือถือทั้งหมดเท่านั้น โดยฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน คาดสิ้นปีนี้มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือในไทยมากกว่า 89 ล้านเครื่อง นับเป็นการเข้าถึงบริการ (penetration rate) มากกว่า 130% ของจำนวนประชากรในประเทศ
ทั้งนี้ผลสำรวจของฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน ชี้ให้เห็นว่า แม้แต่ในประเทศที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีสื่อสารเช่น เกาหลีใต้ ที่ตลาดอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ไร้สายมีความอิ่มตัวสูง ก็ยังมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนโดยประมาณ 85% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่ที่ประมาณ 60% ของประชากรเท่านั้น
______________________________________
คนไทยใช้มือถือทะลุ 89 ล้านเครื่อง
ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน คาดสิ้นปีนี้คนไทยมีการใช้งานมือถือใช้มากกว่า 89 ล้านเครื่อง นับเป็นการเข้าถึงบริการมากกว่า 130% ของจำนวนประชากรในประเทศ แม้ว่าตลาดเครื่องโทรศัพท์มือถือนั้นใกล้จะถึงจุดอิ่มตัว แต่โอกาสการเติบโตของธุรกิจบนโมบายดีไวซ์ ทั้งสมาร์ตโฟน – แท็บเลต ยังมีอยู่อีกมากในปีหน้า
นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์ด้านไอซีที บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนฯ องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่า ในปี 2557 ปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนรายได้ของผู้ให้บริการในตลาดอุปกรณ์รองรับการใช้งานแบบเคลื่อนที่ หรือ โมบายดีไวซ์ คือ การเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น เพราะแม้ว่าในปัจจุบันคนไทยจะมีโทรศัพท์มือถือกันทุกคน แต่จำนวนโทรศัพท์ที่เป็นสมาร์ทโฟนรองรับการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตและใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ ได้ ในปีนี้มีเพียง 30% ของจำนวนโทรศัพท์มือถือทั้งหมดเท่านั้น โดยฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน คาดสิ้นปีนี้มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือในไทยมากกว่า 89 ล้านเครื่อง นับเป็นการเข้าถึงบริการ (penetration rate) มากกว่า 130% ของจำนวนประชากรในประเทศ
ทั้งนี้ผลสำรวจของฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน ชี้ให้เห็นว่า แม้แต่ในประเทศที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีสื่อสารเช่น เกาหลีใต้ ที่ตลาดอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ไร้สายมีความอิ่มตัวสูง ก็ยังมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนโดยประมาณ 85% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่ที่ประมาณ 60% ของประชากรเท่านั้น
ส่วนอุปกรณ์ แท็บเลต ก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าในประเทศไทยจำนวนผู้ใช้งานแท็บเลตจะยังมีน้อยและมีอัตราการเติบโตไม่หวือหวามากนัก แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วรายได้ที่เกิดจากการใช้งานของผู้ใช้แท็บเลต ต่อคนกลับมีสูงกว่ารายได้จากผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า "จำนวนผู้ใช้งาน แท็บเลตในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับโทรศัพท์มือถือ แต่คาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปี 2556 นี้จะมีผู้ใช้ประมาณ 5 ล้านรายหรือ 7% ของประชากรทั้งหมด โดยการเติบโตของตลาดเครื่องแท็บเลตจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งสิ่งที่ผลักดันการเติบโตนี้คือ ความนิยมในการนำแท็บเลต มาใช้แทนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี"
อีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญกับตลาดแท็บเลต คือ รายได้ต่อผู้ใช้ที่เกิดจากการใช้บริการข้อมูล (Data Service) รูปแบบต่างๆ หรือ ARPU ( Average Revenue Per User) นั้นมีปริมาณสูงกว่าบนเครื่องสมาร์ทโฟน ซึ่งรายได้เหล่านี้มาจากพฤติกรรมผู้ใช้งานแท็บเลตที่นิยมจ่ายเงินเพื่อซื้อแอพพลิเคชันและส่วนเสริมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกม หรือแอพพลิเคชันที่สร้างความสะดวกในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ผลสำรวจของฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนได้ชี้ให้เห็นว่า 66% ของรายได้โดยรวมจากการขายแอพพลิเคชันทั้งหมดนั้นมาจากแอพพลิเคชันที่รองรับระบบ iOS ของแอปเปิ้ล และรายได้จากการขายแอพพลิเคชัน บนแท็บเลตนั้นมีมากกว่าสมาร์ทโฟนถึง 4 เท่าเลยทีเดียว"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=210662:-89-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: