17 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ประมูลจริง 26-27 ธ.ค.ประมูลทีวีดิจิตอล CAT เขตบางรัก ก่อนจะเปิดประมูลจริง (วันแรก HD และ SD )(วันที่สอง เด็ก และ ข่าว )
ประเด็นหลัก
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2556 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ว่า ที่ประชุมมีมติให้วันที่ 26-27 ธ.ค.ประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ โดยแบ่งเป็นวันที่ 26 ธ.ค. ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดสูง (เอชดี) เวลา 08.00-14.00 น. ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (เอสดี) เวลา 14.00-20.00 วันที่ 27 ธ.ค. ช่องข่าว เวลา 08.00-14.00 ช่องเด็ก เวลา 14.00-20.00 ณ ชั้น 27-28 ส่วนชั้น 30 เป็นห้องควบคุมการประมูล ที่อาคาร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT สำนักงานเขตบางรัก ซึ่งไทยพีบีเอส จะถ่ายทอดสดในการประมูลทั้ง 4 ประเภท ที่บริเวณชั้น 1
“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”
ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป
______________________________________
กสทช.เคาะ 26-27 ธ.ค.ประมูลทีวีดิจิตอล
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.)
กสทช.ประกาศประมูลทีวีดิจิตอลในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 คาดประกาศรับรองผลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557พร้อมแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใหม่หลังพบปัญหาช่วงทดสอบระบบ “พ.อ.นที” ขู่ใครฮั้วประมูลโดนอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้มีมติประกาศให้วันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. เป็นวันประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม เขตบางรัก โดยจะใช้พื้นที่ของชั้นที่ 27-30 จำนวน 16 ห้องที่ใช้สำหรับในการประมูล และ 1 ห้องเป็นห้องควบคุมการประมูลครั้งนี้
ทั้งนี้ การประมูลดังกล่าวจะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) และในวันที่ 27 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องข่าวสารสาระ และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องเด็กและครอบครัว
“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”
ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป
“กสท.อาจจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557 ซึ่งถือเป็นการประชุมบอร์ดครั้งแรกหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงนั่นเอง”
นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น
พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติปรับปรุงหลักปฏิบัติในการประมูลทีวีดิจอตอลครั้งนี้ ได้แก่ 1. มีการแก้ไขกระบวนการจับฉลากเพื่อเลือกหมายเลขห้องการประมูล ลำดับที่การประมูล และรหัสผ่านที่ใช้ในการประมูล 2. มีการแก้ไขให้ผู้เข้าประมูลสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วยจากเดิมไม่ให้ผู้เข้าประมูลออกมาจากห้องเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม 3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าประมูลนำอุปกรณ์สื่อสารใดๆ เข้าห้องประมูลได้ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลระบบเท่านั้น และ 4. ปรับให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถนำเอาเอกสารต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ แผนธุรกิจเข้าไปในห้องประมูลได้แต่ต้องไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 โดยสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักปฏิบัติในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมา กสท.จัดให้มีการทดลองการประมูลกับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งผลปรากฏว่าเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการทดสอบระบบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแก้ไขหลักปฏิบัติ
ขณะเดียวกัน ตัวแทนผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทที่มีความประสงค์จะเข้าห้องเพื่อเคาะประมูลซึ่งไม่เกิน 5 คนนั้นจะต้องส่งรายชื่อก่อนวันประมูล 5 วัน และในวันประมูลจริงได้ใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมูลจำนวน 175 คน โดยรวมการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กสท.ใช้งบประมาณไปราว 20 ล้านบาท
อีกทั้งหากกรณีเกิดปัญหาในวันประมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาการประมูลให้รักษาการ กสทช.ด้าน กสท.เป็นคนตัดสินใจ แต่หากมีผลต่อราคาการประมูลต้องให้ประธาน กสท.เป็นคนตัดสินใจเท่านั้น
“หากในวันประมูลเกิดจับได้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมเข้าข่ายไปในการฮั้วประมูลเกิดขึ้น โดยผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายจากการประมูลทั้งหมด รวมไปถึงถือเป็นคดีอาญาด้วย ส่วนกรณีมีการสละสิทธิ์ หรือไม่มีการเคาะประมูลเกิดขึ้นก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการประมูลเช่นเดียวกัน”
สำหรับรายละเอียดการประมูลนั้น ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000154399
___________________________________________
บอร์ด กสท.เคาะแล้ว 26-27 ธ.ค. ประมูลทีวีดิจิตอล ส่งท้ายปี
มติ บอร์ด กสท. เคาะวันประมูลทีวีดิจิตอล 26-27 ธ.ค. 56 ที่ กสท บางรัก พร้อมเปิดทดลองเคาะรอบผู้ประกอบการอีกครั้ง 19-20 ธ.ค. รอบสื่อ 18 ธ.ค. นี้ ขณะที่วันจริงถ่ายทอดสดผ่านไทยพีบีเอส...
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2556 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ว่า ที่ประชุมมีมติให้วันที่ 26-27 ธ.ค.ประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ โดยแบ่งเป็นวันที่ 26 ธ.ค. ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดสูง (เอชดี) เวลา 08.00-14.00 น. ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (เอสดี) เวลา 14.00-20.00 วันที่ 27 ธ.ค. ช่องข่าว เวลา 08.00-14.00 ช่องเด็ก เวลา 14.00-20.00 ณ ชั้น 27-28 ส่วนชั้น 30 เป็นห้องควบคุมการประมูล ที่อาคาร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT สำนักงานเขตบางรัก ซึ่งไทยพีบีเอส จะถ่ายทอดสดในการประมูลทั้ง 4 ประเภท ที่บริเวณชั้น 1
ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการสามารถเข้าประมูลได้บริษัทละไม่เกิน 5 คน และไม่อนุญาตให้นำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องประมูล แต่สามารถนำเอกสาร ขนาด A4 10 แผ่น เข้าห้องได้ ซึ่งอาจเป็นแผนธุรกิจเพื่อให้ผู้ประมูลประกอบการตัดสินใจ และสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่มีเจ้าหน้าที่ติดตาม นอกจากนี้ ผู้เข้าประมูลต้องจับสลาก 3 ครั้ง เพื่อเลือกลำดับการจับสลาก เลือกหมายเลขห้อง และเลือกรหัสผ่านของเครื่องประมูล เพื่อป้องกันการล็อกห้องและเครื่องประมูล โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยจำนวน 175 คน จาก กสท. 100 คน และ CAT 75 คน ทั้งนี้ หลังการประมูลเสร็จสิ้น กสท. จะรับรองผลภายใน 15 วัน หรือไม่เกินต้นเดือน ม.ค.2557 โดยคาดว่าต้นเดือน ก.พ.2557 จะสามารถออกอากาศได้
ส่วนขั้นตอน สำนักงาน กสทช. เปิดให้ผู้ผ่านคุณสมบัติการประมูลทีวีดิจิตอลทุกราย เข้าทดสอบระบบการประมูล 2 รอบ แบ่งเป็น รอบแรก วันที่ 12-13 ธ.ค. ที่ผ่านมา และรอบสองวันที่ 19-20 ธ.ค. 4 รอบ คือ 09.00 น. 12.00 น. 15.00 น. และ 18.00 น. ส่วนรอบสื่อมวลชนจะอยู่วันที่ 18 ธ.ค. 2556 ที่อาคาร กสท เขตบางรัก ก่อนจะเปิดประมูลจริง
สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง แบ่งเป็น ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดสูง (เอชดี) 7 ช่อง ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (เอสดี) 7 ช่อง ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาท ประเภทข่าวและสาระ 7 ช่อง ราคาเริ่มต้น 220 ล้าน เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท และประเภทเด็ก 3 ช่อง ราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
ส่วนบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติการประมูล มีจำนวน 29 บริษัท 41 ซอง ได้แก่ ช่องเอชดี 9 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท พี เอ็ม กรุ๊ป จำกัด บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด และบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ)
ช่องเอสดี 16 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด (ช่อง 7) บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ) บริษัท ไทยทีวี จำกัด บริษัท ทัช ทีวี จำกัด บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3 ) บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด และบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด
ช่องข่าว 10 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด (เดลินิวส์ ทีวี) บริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด บริษัท ไทยทีวี จำกัด บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท โมโน เจนเนอเรชั่น จำกัด บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด และบริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด
และช่องเด็ก 6 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัท ไทยทีวี จำกัด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด และบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด
นอกจากนี้ ยังอนุมัติใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 111 ใบ แบ่งเป็นประเภท ธุรกิจ 108 ใบ สาธารณะ 2 ใบ และชุมชน 1 ใบ รวมที่ให้ใบอนุญาตทั้งสิ้น 3,444 ใบ.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/389685
ไม่มีความคิดเห็น: