Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ธันวาคม 2556 ตะลึง!! ตู้เติมเงิน พบมีมูลค่าเงินหมุนเวียนจากยอดค่าใช้บริการ ประมาณ 46,000 ล้านบาท (แบ่งตู้เป็น2ประเภท 1.ตู้แบบใส่ซิมการ์ด ภายใน 1 ตู้จะมี 3 ซิมการ์ด 2.ตู้ระบบเซิร์ฟเวอร์ )


ประเด็นหลัก



อุปนายกสมาคมธุรกิจหยอดเหรียญไทย กล่าวว่า สำหรับตลาดตู้ชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ตู้แบบเก่าที่เรียกว่า ระบบยูเอสเอสดี ซึ่งเป็นตู้แบบใส่ซิมการ์ด ภายใน 1 ตู้จะมี 3 ซิมการ์ด เพื่อเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายโดยตรง โดยมีสัดส่วนประมาณ 40,000-50,000 ตู้ในปัจจุบัน และอีกประเภทจะเป็นตู้ระบบเซิร์ฟเวอร์ ที่จะมีการส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งตู้ประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมและเริ่มแพร่หลายมากขึ้น โดยมีประมาณ 30,000 ตู้ในไทย

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ตลาดตู้ชำระเงินออนไลน์ในไทยนั้น ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากถือเป็นตลาดใหม่ ขณะเดียวกัน ตลาดก็ยังมีความต้องการซื้อเครื่องใหม่มาทดแทนเครื่องรุ่นเก่า โดยเฉพาะรุ่นใส่ซิมการ์ด ซึ่งคาดว่าจะเริ่มหายไปจากตลาดตั้งแต่ปี 2557 นี้ รวมถึงความต้องการทำตลาดเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียน เพื่อเข้าทำตลาดในกลุ่มประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น ส่วนการแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการนั้น เชื่อว่าในปีหน้าผู้ประกอบการรายเล็กจะเริ่มหายไปจากตลาด หรือมีการร่วมธุรกิจกันระหว่างผู้ประกอบการรายเล็ก เนื่องจากการเปลี่ยนเป็นตู้แบบเซิร์ฟเวอร์นั้น จำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่มีความได้เปรียบมากกว่า

อุปนายกสมาคมธุรกิจหยอดเหรียญไทย กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้บริการตู้ชำระเงินออนไลน์ในกรุงเทพฯ นั้น ถือเป็นต้นแบบและสามารถกระตุ้นการใช้งานในต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี แม้ขณะนี้ในต่างจังหวัดจะเป็นการชำระ หรือเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่เกี่ยวกับบริการด้านเสียง แต่ในกรุงเทพฯ จะเน้นบริการด้านอินเทอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งชื่อว่าในอนาคตการใช้บริการของต่างจังหวัดก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายผ่านตู้ชำระเงินออนไลน์ในปีนี้ โดยคาดว่าจะมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 46,000 ล้านบาท จาก 35,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกราว 20% ในปีถัดไป ส่วนเทคโนโลยีเอ็นเอฟซี (Near Filed Communication) นั้น เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายผ่านตู้ชำระเงินออนไลน์มากขึ้น และไม่ได้กระทบต่อการใช้จ่ายในช่องทางดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายแบบไม่จำเป็นต้องพกพาเงินสดเหมือนกัน.







______________________________________

ชี้โอกาสทอง ตู้เติมเงินไทย ตลาดยังต้องการ-มือถือหนุนใช้จ่าย


นายกสมาคมธุรกิจหยอดเหรียญไทยเชื่อ ตลาดตู้เติมเงินไทยยังสดใส คาดโอกาสเพิ่มจากการใช้บริการ 3จี เติบโต ขณะที่ความต้องการในตลาดยังมีอีกมาก จากการซื้อเครื่องใหม่ทดแทนเครื่องรุ่นเก่า...

นายวิโรจน์ ฤกษ์ศิริวรรณ อุปนายกสมาคมธุรกิจหยอดเหรียญไทย เปิดเผยว่า ค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553 รวมถึงการเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี 2จี สู่ 3จี ในปัจจุบัน ส่งผลให้ค่าบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตกว่าบริการด้านเสียง โดยมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปีนี้อาจสูงถึง 213,000 ล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายจากระบบพรีเพด (เติมเงิน) ถึง 181,050 ล้านบาท และโพสเพด (รายเดือน) 31,950 ล้านบาท จากปี 2555 ที่มีมูลค่าตลาดรวมเพียง 173,000 ล้านบาท

อุปนายกสมาคมธุรกิจหยอดเหรียญไทย กล่าวว่า สำหรับตลาดตู้ชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ตู้แบบเก่าที่เรียกว่า ระบบยูเอสเอสดี ซึ่งเป็นตู้แบบใส่ซิมการ์ด ภายใน 1 ตู้จะมี 3 ซิมการ์ด เพื่อเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายโดยตรง โดยมีสัดส่วนประมาณ 40,000-50,000 ตู้ในปัจจุบัน และอีกประเภทจะเป็นตู้ระบบเซิร์ฟเวอร์ ที่จะมีการส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งตู้ประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมและเริ่มแพร่หลายมากขึ้น โดยมีประมาณ 30,000 ตู้ในไทย

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ตลาดตู้ชำระเงินออนไลน์ในไทยนั้น ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากถือเป็นตลาดใหม่ ขณะเดียวกัน ตลาดก็ยังมีความต้องการซื้อเครื่องใหม่มาทดแทนเครื่องรุ่นเก่า โดยเฉพาะรุ่นใส่ซิมการ์ด ซึ่งคาดว่าจะเริ่มหายไปจากตลาดตั้งแต่ปี 2557 นี้ รวมถึงความต้องการทำตลาดเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียน เพื่อเข้าทำตลาดในกลุ่มประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น ส่วนการแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการนั้น เชื่อว่าในปีหน้าผู้ประกอบการรายเล็กจะเริ่มหายไปจากตลาด หรือมีการร่วมธุรกิจกันระหว่างผู้ประกอบการรายเล็ก เนื่องจากการเปลี่ยนเป็นตู้แบบเซิร์ฟเวอร์นั้น จำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่มีความได้เปรียบมากกว่า

อุปนายกสมาคมธุรกิจหยอดเหรียญไทย กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้บริการตู้ชำระเงินออนไลน์ในกรุงเทพฯ นั้น ถือเป็นต้นแบบและสามารถกระตุ้นการใช้งานในต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี แม้ขณะนี้ในต่างจังหวัดจะเป็นการชำระ หรือเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่เกี่ยวกับบริการด้านเสียง แต่ในกรุงเทพฯ จะเน้นบริการด้านอินเทอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งชื่อว่าในอนาคตการใช้บริการของต่างจังหวัดก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายผ่านตู้ชำระเงินออนไลน์ในปีนี้ โดยคาดว่าจะมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 46,000 ล้านบาท จาก 35,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกราว 20% ในปีถัดไป ส่วนเทคโนโลยีเอ็นเอฟซี (Near Filed Communication) นั้น เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายผ่านตู้ชำระเงินออนไลน์มากขึ้น และไม่ได้กระทบต่อการใช้จ่ายในช่องทางดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายแบบไม่จำเป็นต้องพกพาเงินสดเหมือนกัน.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/389969

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.