18 ธันวาคม 2556 กสทช. เห็นชอบค่า IC(ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายหรือค่าผ่านทางระหว่างโครงข่าย) ใหม่อัตรา 0.45 บาทต่อนาทีจาก0.99 บาทต่อนาที ( เว้น TOT ไม่เห็นด้วย ต้องราคา 0.15 - 0.16 บาทต่อนาที)
ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดยังได้เห็นชอบสัญญาการใช้เชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) ระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคมประเภทที่ 3 เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์พื้นฐาน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยผู้รับใบอนุญาตเกือบทุกรายเห็นชอบในอัตราค่าเช่าโครงข่าย ในอัตรา 45 สตางค์ (สต.) ต่อนาที ซึ่งเป็นอัตราชั่วคราว ตามประกาศ กสทช. ยกเว้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยังไม่เห็นด้วย
เนื่องจากยังมีความเห็นต่างเรื่องค่าเชื่อมต่อ ในส่วนของค่าผ่านทาง (ทรานซิต) ซึ่งผู้ประกอบการรายอื่นๆ เสนออัตรา 6 สต.ต่อนาที ขณะที่ทีโอที เสนอราคา 15-16 สต.ต่อนาที ซึ่งเป็นราคาที่เคยมีการศึกษาวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ ส่วนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขอแก้ไขสัญญาในบางประเด็น แต่ กทค.ไม่เห็นด้วย เนื่องจากสัญญาต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกราย ไม่สามารถแก้ไข หรือเขียนข้อความที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในเร็วๆ นี้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
______________________________________
กทค.ไฟเขียว บินไทยบริการเน็ตบนเครื่องบิน
บอร์ด กทค. เห็นชอบการบินไทยให้บริการอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบิน นำร่องเปิดไวไฟบนเครื่องแอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ และ แอร์บัส A330-300 อีก 7 ลำ โดยอนาคตจะมีเครื่องบินที่พร้อมเปิดให้บริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น...
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2556 นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. เป็นประธาน มีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการอินเทอร์เน็ต ให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แต่การบินไทยต้องส่งเอกสารเพื่อยืนยันการให้บริการ ให้ กสทช. อีกครั้ง เมื่อเอกสารหลักฐานครบถ้วนก็สามารถเปิดให้บริการได้ทันที ซึ่งการบินไทยได้แจ้งว่า เครื่องบินที่พร้อมจะให้บริการในขณะนี้ มี 2 ประเภท คือ แอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ และแอร์บัส A330-300 จำนวน 7 ลำ และในอนาคตจะมีเครื่องบินที่พร้อมเปิดให้บริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดยังได้เห็นชอบสัญญาการใช้เชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) ระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคมประเภทที่ 3 เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์พื้นฐาน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยผู้รับใบอนุญาตเกือบทุกรายเห็นชอบในอัตราค่าเช่าโครงข่าย ในอัตรา 45 สตางค์ (สต.) ต่อนาที ซึ่งเป็นอัตราชั่วคราว ตามประกาศ กสทช. ยกเว้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยังไม่เห็นด้วย
เนื่องจากยังมีความเห็นต่างเรื่องค่าเชื่อมต่อ ในส่วนของค่าผ่านทาง (ทรานซิต) ซึ่งผู้ประกอบการรายอื่นๆ เสนออัตรา 6 สต.ต่อนาที ขณะที่ทีโอที เสนอราคา 15-16 สต.ต่อนาที ซึ่งเป็นราคาที่เคยมีการศึกษาวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ ส่วนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขอแก้ไขสัญญาในบางประเด็น แต่ กทค.ไม่เห็นด้วย เนื่องจากสัญญาต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกราย ไม่สามารถแก้ไข หรือเขียนข้อความที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในเร็วๆ นี้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ส่วนความคืบหน้าการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) นั้นถือว่า มีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่า ภายในไตรมาสแรกของปี 57 จะมีความชัดเจน ทั้งกรอบเวลาการประมูล จำนวนคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล
"ยอมรับว่า การนำคลื่น 1,800 MHz และคลื่นอื่นๆ มาประมูล เป็นเรื่องที่ยาก เพราะยังมีการใช้งานอยู่ ขณะที่คลื่น 2.1 กิกะเฮิตรซ์ (GHz) เป็นคลื่นที่อยู่ในความดูแลของ กสทช. อยู่แล้ว จึงไม่มีประเด็นที่ต้องศึกษาหลากหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม บอร์ด กทค. ได้มีนโยบายไว้แล้วว่า จะพยายามผลักดันให้เปิดประมูล 4 จี ภายในปี 2557 นี้" นายก่อกิจกล่าว.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/390199
ไม่มีความคิดเห็น: