19 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เอกชนกังวลการประมูลเรื่อง การป้องกันระบบเซิร์ฟเวอร์ไม่ให้มีการล็อก ระบบไฟฟ้าสำรองไว้รองรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย อุปกรณ์ป้องกันความผิดพลาด
ประเด็นหลัก
นายธนา ทุมมานนท์ ที่ปรึกษาบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด กล่าวว่า การป้องกันระบบเซิร์ฟเวอร์ไม่ให้มีการล็อก หรือเปลี่ยนแปลงระบบ โดยเสนอให้มีการนำบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถือพาสเวิร์ดไว้ร่วมกัน เป็นการป้องกันระบบไม่ให้มีใครเข้าไปที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ได้ ก่อนการประมูล ไม่ให้เกิดข้อครหาได้ภายหลัง อีกทั้งยังเสนอให้ กสทช.มีระบบไฟฟ้าสำรองไว้รองรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟฟ้าดับ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมูล อีกทั้งยังเสนอให้ กสทช.ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในการเคาะประมูล เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เจ้าหน้าที่ กสทช.ตอบว่า จะมีการให้ทดลองอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนเริ่มเวลาเคาะจริง หากเกิดข้อผิดพลาดจะเปลี่ยนให้ในช่วงนั้น
______________________________________
'เอกชน'หวั่น ระบบประมูล'ทีวีดิจิตอล'เกิดปัญหาช่วงเคาะราคา
เปิดทดลองประมูลทีวีดิจิตอลรอบเอกชน กสทช.ถูกซักรายละเอียดยิบถึงระบบความพร้อมอุปกรณ์ และการแก้ไขปัญหาหากเกิดข้อขัดข้องระหว่างเคาะประมูล พร้อมเสนอเปิดเผยข้อมูลซอฟต์แวร์ ด้าน "ปธ.กสท." รับเรื่องพิจารณา...
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในการทดลองประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจของรอบเอกชนนั้น มีผู้เข้าร่วมประมูลหลายราย อาทิ ช่อง 7 จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ วอยซ์ทีวี อินทัช อาร์เอส เดลินิวส์ เครือเนชั่น และไทยรัฐ โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เริ่มจากการแสดงตัวให้ตรงกับชื่อที่ส่งเข้ามาก่อนถึงวันประมูลจริง ซึ่งสมาชิกในทีมจำกัดไว้ไม่เกินบริษัทละ 5 คน จากนั้นจะได้บัตรรับประจำตัว โดยแบ่งประเภทจากสีของบัตรก่อนเข้าสู่กระบวนการจับสลากเลือกหมายเลขห้องประมูล และยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ด
นายธนา ทุมมานนท์ ที่ปรึกษาบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด กล่าวว่า การป้องกันระบบเซิร์ฟเวอร์ไม่ให้มีการล็อก หรือเปลี่ยนแปลงระบบ โดยเสนอให้มีการนำบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถือพาสเวิร์ดไว้ร่วมกัน เป็นการป้องกันระบบไม่ให้มีใครเข้าไปที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ได้ ก่อนการประมูล ไม่ให้เกิดข้อครหาได้ภายหลัง อีกทั้งยังเสนอให้ กสทช.มีระบบไฟฟ้าสำรองไว้รองรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟฟ้าดับ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมูล อีกทั้งยังเสนอให้ กสทช.ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในการเคาะประมูล เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เจ้าหน้าที่ กสทช.ตอบว่า จะมีการให้ทดลองอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนเริ่มเวลาเคาะจริง หากเกิดข้อผิดพลาดจะเปลี่ยนให้ในช่วงนั้น
บริษัทที่เข้าประมูลอีกรายสอบถามว่า หากเกิดปัญหาระบบการประมูลขึ้นระหว่างการเคาะราคาจะแก้ไขอย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตอบว่า จะให้ทุกรายหยุดเคาะและรีบแก้ไขทันที โดยจะแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้แล้วเสร็จภายใน 1 นาที และหากเกิดปัญหาขึ้นจะพักการประมูลทันทีใน 10 วินาที
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า รับทราบข้อมูลจากผู้ที่เข้าร่วมการประมูลแล้ว และพร้อมนำไปพิจารณาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประมูล และยืนยันว่าข้อมูลและขั้นตอนทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้
ขณะที่ในรอบสาธิต เจ้าหน้าที่เปิดโอกาสให้เอกชนทดลองเคาะราคาประมูลที่ชั้น 28 ซึ่งในวันจริงจะใช้พื้นที่ชั้น 27 และ 28 มีห้องประมูลรวม 16 ห้อง สำหรับการประมูลทั้ง 4 ประเภท โดยจะไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะได้ห้องและชั้นใด และจะมีเจ้าหน้าที่ 175 คน ติดตามและควบคุมการประมูลอย่างเข้มงวด
ส่วนภายในห้องประมูล นำคอมพิวเตอร์มาวางไว้เพียง 2 เครื่องคือ เครื่องหลักและเครื่องสำรอง ดังนั้นจะมีคนเคาะราคาเพียงแค่คนเดียว และมีปรินเตอร์สำหรับปรินท์เอกสาร สรุปรายละเอียดการเสนอราคาตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการประมูล และบอกด้วยว่า เรามีสิทธิ์เป็นผู้ชนะการประมูลหรือไม่ โดยในการทดลองประมูลรอบเอกชนวันนี้ ทดสอบเคาะราคาประมูลช่องรายการทั่วไป แบบความคมชัดสูง (HD) และช่องทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ใช้เวลาประมูล 60 นาที เท่ากับการประมูลจริง ซึ่งเมื่อถึงเวลาเริ่มต้นการประมูล จะต้องเคาะราคาภายใน 5 นาทีแรก ไม่เช่นนั้นจะโดนตัดสิทธิ์การประมูล
ผลปรากฏว่า ในการทดลอง HD มีผู้ชนะจำนวนใบอนุญาตที่มีอยู่ 7 ใบ โดยทีมผู้บริหารไทยรัฐเป็นผู้เสนอราคาสูงสุด 9,090 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท ทั้งนี้หากเป็นวันประมูลจริง แล้วมีผู้ชนะหลายรายจะต้องขยายเวลาให้ผู้เข้าประมูลทุกรายเคาะราคาเพิ่มอีก 5 นาทีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะการประมูล ส่วนห้องควบคุมระบบตั้งอยู่ที่ชั้น 30 เพื่อดูแลและแก้ไขหากเกิดขัดข้องระหว่างประมูล นอกจากนี้ กสทช.จะถ่ายทอดราคาประมูลในระหว่างการแข่งขัน ผ่านจอแอลซีดี ให้ติดตามได้ที่ชั้น 1 อาคาร กสท โทรคมนาคม บางรัก จนกว่าการประมูลจะสิ้นสุดและได้ผู้ชนะ
สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการ จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 โดยวันที่ 26 ธ.ค. เวลา 08.00-14.00 น. จะประมูลช่อง HD และเวลา 14.00-20.00 น. จะประมูลช่อง SD และวันที่ 27 ธ.ค. เวลา 08.00-14.00 น. จะประมูลช่องข่าว และเวลา 14.00-20.00 น. จะประมูลช่องเด็ก โดยที่ กสท.มั่นใจว่าการประมูลจะเสร็จสิ้นลงอย่างราบรื่น พร้อมให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการในช่วงเดือน ม.ค. และสามารถออกอากาศได้ช่วงเดือน ก.พ.2557.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/390411
ไม่มีความคิดเห็น: