Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) “ซิสโก้” คาดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีรับการมาทีวีดิจิตอลสูงถึง 14,000 ล้านบาทภายในปีแรก ล่าสุดเร่งเจรจาช่อง 5 และNBTหลังกำลังทดสอบระบบMCOTและTHAIpbsแล้ว


ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตอลทีวี บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากกรอบนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศให้ได้ 95% ภายใน 4 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มีการลงทุนในปีแรกประมาณ 14,000 ล้านบาท เนื่องจากต้องมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 2 ปีแรก และอาจส่งผลให้ระบบทีวีดิจิตอลครอบคลุมทั่วประเทศได้ภายใน 3 ปี

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตอลทีวี ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ทำการทดสอบระบบร่วมกับช่อง 9 และช่องไทยพีบีเอสไปแล้ว และมีการเจรจาร่วมกับช่อง 5 และช่อง 11 แล้วเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนหลังจากเสร็จสิ้นการประมูลในช่วงปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ซิสโก้ ถือเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายรายเดียวที่มีโซลูชั่นเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลแบบครบวงจร โดยครอบคลุมตั้งแต่คอนเทนต์ โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด และอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณ (เซตท็อปบ็อกซ์) ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกัน ซิสโก้ยังเป็นรายแรกที่ได้พัฒนาระบบออกอากาศสดบนโครงข่ายเพื่อรองรับความนิยมในการใช้งานวิดีโอสตรีมมิ่งอีกด้วย


______________________________________

'ซิสโก้' ชี้ทีวีดิจิตอลปีแรกเงินลงทุนสะพัด14,000ล้าน


“ซิสโก้” คาดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีรับการมาทีวีดิจิตอลสูงถึง 14,000 ล้านบาทภายในปีแรกหลังประมูลเสร็จสิ้น แนะผู้ประกอบการวางแผนรับเทรนด์การดู-เข้าถึงข้อมูลผ่านสมาร์ทดีไวซ์...

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตอลทีวี บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากกรอบนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศให้ได้ 95% ภายใน 4 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มีการลงทุนในปีแรกประมาณ 14,000 ล้านบาท เนื่องจากต้องมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 2 ปีแรก และอาจส่งผลให้ระบบทีวีดิจิตอลครอบคลุมทั่วประเทศได้ภายใน 3 ปี

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตอลทีวี ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ทำการทดสอบระบบร่วมกับช่อง 9 และช่องไทยพีบีเอสไปแล้ว และมีการเจรจาร่วมกับช่อง 5 และช่อง 11 แล้วเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนหลังจากเสร็จสิ้นการประมูลในช่วงปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ซิสโก้ ถือเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายรายเดียวที่มีโซลูชั่นเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลแบบครบวงจร โดยครอบคลุมตั้งแต่คอนเทนต์ โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด และอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณ (เซตท็อปบ็อกซ์) ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกัน ซิสโก้ยังเป็นรายแรกที่ได้พัฒนาระบบออกอากาศสดบนโครงข่ายเพื่อรองรับความนิยมในการใช้งานวิดีโอสตรีมมิ่งอีกด้วย

นายอนุพนธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับอนาคตของธุรกิจทีวีดิจิตอลในประเทศไทยนั้น เชื่อว่าจะมีการหลอมรวมบริการมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าจับตา ระหว่างบริการด้านโมบายล์ ดาต้า และวิดีโอ เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้สมาร์ทดีไวซ์ซึ่งยังเป็นตลาดที่มีโอกาสอีกมากสำหรับประเทศไทยที่ปัจจุบันมีสมาร์ทดีไวซ์คิดเป็นสัดส่วนเพียง 30% เท่านั้น ขณะที่ทิศทางธุรกิจนั้น ผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องวางแผนเพื่อรับมือกับธุรกิจใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ และไม่ใช่เพียงการวางแผนการให้บริการในภาคพื้นดิน แต่รวมถึงรูปแบบการใช้งานของผู้บริโภคด้วย เนื่องจากผู้บริโภคต้องการใช้งานได้จากทุกอุปกรณ์และทุกที่ทุกเวลา ทำให้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งจะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายอย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม คอนเทนต์ก็ยังเป็นอีกการแข่งขันที่ทุกรายยังต้องให้ความสำคัญ

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตอลทีวี ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันบริษัทมีรายได้หลักจากธุรกิจด้านโครงข่าย โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่อีก 60% มาจากภาคธุรกิจอื่นๆ คาดว่าภายในปีหน้าหลังมีการประมูลทีวีดิจิตอลก็จะเริ่มมีรายได้จากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเพิ่มขึ้นบ้างแต่จะยังไม่มากนัก เนื่องจากกว่า 60% ของผู้ชมโทรทัศน์ในไทยเป็นการรับชมผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวี ประกอบกับปัจจุบันก็มีความนิยมรับชมโทรทัศน์ผ่านดีไวซ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่โทรทัศน์มากขึ้น ทีวีดิจิตอลจึงถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังต้องพิจารณาทิศทางอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การที่ กสทช. แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้อเซตท็อปบ็อกซ์นั้น ก็ถือเป็นการกระตุ้นทิศทางทีวีดิจิตอลได้ส่วนหนึ่ง



ด้าน นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราการเติบโตราว 20% เนื่องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมีการขยายการลงทุน ทั้งด้านโมบายล์ บรอดแบนด์ เพื่อรองรับการใช้งานดาต้าและความนิยมสมาร์ทดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการจึงเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้งานของผู้บริโภค ในส่วนของธุรกิจทีวีดิจิตอลนั้น เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ลงทุนช้าก็จะเสียเปรียบทางการแข่งขัน เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการเปิดตลาดใหม่และสร้างประสบการณ์การรับชมใหม่แก่ผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ประเทศไทยด้วย.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/390683

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.