Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 ธันวาคม 2556 กสทช. สั่ง ทุกค่ายมือถือ ( โทรติดแต่ไม่รับสาย ห้ามคิดค่าบริการ ) สั้งให้คิดค่าบริการก่อนถึงบริการ Voice Mai Box หลัง 60 วินาที หลังจากได้ยินเสียงสัญญาณ


ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวการเรียกเก็บค่าใช้บริการกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กรณีผู้ใช้บริการได้โทรศัพท์ไปปลายทางแต่ไม่มีผู้รับสายนั้น เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 8 ราย ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) บริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) (DTAC) บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (TRUE MOVE) บริษัทดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF)และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน้ทเวอร์ค จำกัด (AWN) มาประชุมหารือกรณีดังกล่าว

จากการหารือ พบว่า การใช้โทรศัพท์ที่จะไม่เกิดค่าบริการ คือกรณีที่ผู้ใช้ปลายทางไม่เปิดใช้บริการรับฝากข้อความ (Voice Mai Box) หรือบริการโอนสายอัตโนมัติ (CallForwarding) ซึ่งเมื่อปลายทางไม่รับสายในช่วงเวลาหนึ่งระบบจะตัดการเรียกสายนั้นทำให้ผู้โทรศัพท์ได้ยินเสียงสายไม่ว่าง หรือ Buytone

สำหรับการโทรศัพท์ที่จะมีค่าใช้บริการคือ กรณีที่ปลายทางเปิดใช้บริการรับฝากข้อความ (Voice Mai Box) หรือบริการโอนสายอัตโนมัติ (Call Forwarding) เมื่อปลายทางไม่รับสายในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งเป็นเวลาประมาณ 30 วินาที หรือ 60 วินาที แล้วแต่ระบบของผู้ให้บริการ ระบบจะตัดเข้าบริการ โดยหากเข้าสู่บริการรับฝากข้อความอาจจะได้ยินข้อความเช่น “กรุณารับฝากข้อความหลังเสียงสัญญาณนี้...” ผู้ใช้บริการจะมีเวลาประมาณ 6-7 วินาที ก่อนจะถูกคิดค่าใช้บริการซึ่งหากผู้ใช้บริการวางสายก่อนก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ระยะเวลาการรอสายที่แต่ละรายกำหนดก่อนตัดเข้าสู่ระบบบริการรับฝากข้อความ จะแตกต่างกันโดยสำหรับทีโอที และเรียล ฟิวเจอร์ มีเวลารอสายนาน 30 วินาที ส่วนเอไอเอส แอดวานซ์ ไวร์เลส เน้ทเวอร์ค ดีแทค และ ไตรเน็ต ทรูมูฟ มีเวลารอสายนาน 60 วินาที สำนักงาน กสทช. จึงขอให้ผู้ให้บริการทบทวนการกำหนดระยะเวลารอสายก่อนตัดเข้าบริการรับฝากข้อความเวลา 60 วินาที ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน










______________________________________

?กำชับโอปเรเตอร์โทรติดไม่รับสายห้ามคิดเงิน?


สำนักงาน กสทช.กำชับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หากโทรติดแต่ไม่รับสาย ห้ามคิดค่าบริการ ขอให้ทบทวนระยะเวลาการตัดเข้าสู่บริการรับฝากข้อความและโอนสายอัตโนมัติ


เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวการเรียกเก็บค่าใช้บริการกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กรณีผู้ใช้บริการได้โทรศัพท์ไปปลายทางแต่ไม่มีผู้รับสายนั้น เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 8 ราย ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) บริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) (DTAC) บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (TRUE MOVE) บริษัทดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF)และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน้ทเวอร์ค จำกัด (AWN) มาประชุมหารือกรณีดังกล่าว

จากการหารือ พบว่า การใช้โทรศัพท์ที่จะไม่เกิดค่าบริการ คือกรณีที่ผู้ใช้ปลายทางไม่เปิดใช้บริการรับฝากข้อความ (Voice Mai Box) หรือบริการโอนสายอัตโนมัติ (CallForwarding) ซึ่งเมื่อปลายทางไม่รับสายในช่วงเวลาหนึ่งระบบจะตัดการเรียกสายนั้นทำให้ผู้โทรศัพท์ได้ยินเสียงสายไม่ว่าง หรือ Buytone

สำหรับการโทรศัพท์ที่จะมีค่าใช้บริการคือ กรณีที่ปลายทางเปิดใช้บริการรับฝากข้อความ (Voice Mai Box) หรือบริการโอนสายอัตโนมัติ (Call Forwarding) เมื่อปลายทางไม่รับสายในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งเป็นเวลาประมาณ 30 วินาที หรือ 60 วินาที แล้วแต่ระบบของผู้ให้บริการ ระบบจะตัดเข้าบริการ โดยหากเข้าสู่บริการรับฝากข้อความอาจจะได้ยินข้อความเช่น “กรุณารับฝากข้อความหลังเสียงสัญญาณนี้...” ผู้ใช้บริการจะมีเวลาประมาณ 6-7 วินาที ก่อนจะถูกคิดค่าใช้บริการซึ่งหากผู้ใช้บริการวางสายก่อนก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ระยะเวลาการรอสายที่แต่ละรายกำหนดก่อนตัดเข้าสู่ระบบบริการรับฝากข้อความ จะแตกต่างกันโดยสำหรับทีโอที และเรียล ฟิวเจอร์ มีเวลารอสายนาน 30 วินาที ส่วนเอไอเอส แอดวานซ์ ไวร์เลส เน้ทเวอร์ค ดีแทค และ ไตรเน็ต ทรูมูฟ มีเวลารอสายนาน 60 วินาที สำนักงาน กสทช. จึงขอให้ผู้ให้บริการทบทวนการกำหนดระยะเวลารอสายก่อนตัดเข้าบริการรับฝากข้อความเวลา 60 วินาที ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับการโทรศัพท์โรมมิ่งจากต่างประเทศมายังประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วหากไม่มีผู้รับสายจะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแต่อาจมีบางประเทศที่คู่สัญญาต่างประเทศได้กำหนดการคิดค่าบริการหากไม่มีผู้รับสายเกินกว่าเวลาที่กำหนดเช่น กรณีประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดการคิดค่าใช้บริการหากรอสายเกิน 30 วินาที โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสรุปเงื่อนไขดังกล่าวให้สำนักงาน กสทช.ภายในวันที่ 26 ธ.ค. ในส่วนเรื่องร้องเรียนปี 2556 พบว่ามีการร้องเรียนกรณีการคิดค่าบริการการโทรศัพท์โรมมิ่งจากต่างประเทศมายังประเทศไทยและเข้าสู่บริการรับฝากข้อความ (Voice Mail Box) มาที่สำนักงาน กสทช. 2 เรื่อง ซึ่งได้ข้อยุติแล้ว1 เรื่อง

หากผู้ใช้บริการประสบปัญหาเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นธรรมสามารถร้องเรียนมายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ได้ทันที.


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/203364/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.