Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ธันวาคม 2556 Acer ดึงลูกหม้อ TSMC เจสัน เฉิน (Jason Chen) นั่ง CEO หลัง การขาดทุนถล่มทลายของเอเซอร์ เกิดขึ้นเพราะเอเซอร์ไม่มีฐานตลาดองค์กรไว้ปกป้องตัวเอง


ประเด็นหลัก


  การแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ของเอเซอร์นั้นถือเป็นเดิมพันที่คนทั่วโลกจับตามอง ที่ผ่านมา เอเซอร์ถือเป็นบริษัทที่มียอดจัดส่งพีซีลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ผลิตพีซีรายอื่นในช่วงปี 2555 นักวิเคราะห์เชื่อว่าการขาดทุนของเอเซอร์เกิดขึ้นเพราะเอเซอร์ไม่มีฐานตลาดองค์กรไว้ปกป้องตัวเอง การผูกธุรกิจของเอเซอร์ไว้กับตลาดผู้ใช้ทั่วไปหรือคอนซูเมอร์ทำให้เอเซอร์กลายเป็นผู้ผลิตที่เจ็บตัวที่สุด ผิดกับเดลล์ (Dell) หรือเอชพี (HP) ที่อย่างน้อยก็ยังสามารถจำหน่ายคอมพิวเตอร์ให้แก่องค์กรใหญ่ได้ ขณะที่เลอโนโว (Lenovo) สามารถยึดตลาดใหญ่ในจีนและกลายเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีรายใหญ่ที่สุดในขณะนี้
   
       การขาดทุนถล่มทลายของเอเซอร์ยังถูกมองว่าเป็นผลจากการล้มเหลวของยุทธศาสตร์อัลตราบุ๊ก (Ultrabook) จากอินเทล และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ที่ไม่เป็นที่นิยมด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ “โมเดล Wintel” หรือการนำคอมพิวเตอร์ชิปอินเทลมาติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์นั้นทำให้เอเซอร์สามารถขยายอาณาจักรได้นานหลายปี แต่วันนี้โมเดลนี้ไม่เวิร์กในตลาดคอนซูเมอร์ที่ต้องการอุปกรณ์พกพา ซึ่งทำให้บริษัทขาดทุนจากการดำเนินงาน 1.31 หมื่นล้านดอลลาร์ไต้หวัน ทั้งที่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเอเซอร์จะขาดทุนเพียง 59 ล้านดอลลาร์ไต้หวันเท่านั้น
   
       การที่เอเซอร์พบวิกฤตโคม่าหลังจากที่เคยเป็นบริษัทผู้ผลิตพีซีรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกในปี 2009 หรือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ทำให้หุ้นเอเซอร์ร่วงต่ำสุดในรอบ 12 ปี ผลจากการขาดทุนถล่มทลายนี้ทำให้เอเซอร์ตัดสินใจปลดพนักงานมากกว่า 7% ทั่วโลก และจะเปิดระดมทุนด้วยการจำหน่ายหุ้นชุดใหม่ 136 ล้านหุ้น คาดว่าการปรับโครงสร้างของเอเซอร์นับจากนี้จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4,800 ล้านบาท)

______________________________________

Acer ดึงลูกหม้อ TSMC นั่งซีอีโอควบประธานบริษัท



หลังจากซีอีโอคนเก่าถอนตัวไปเพราะปัญหาขาดทุน ล่าสุดเอเซอร์ (Acer) แบรนด์พีซีชื่อดังจากไต้หวันประกาศแต่งตั้ง “เจสัน เฉิน (Jason Chen)” ขึ้นนั่งเก้าอี้ซีอีโอและประธานบริษัทคนใหม่ โดยเฉินนั้นมีดีกรีเป็นอดีตรองประธานฝ่ายขายและการตลาดของบริษัทผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่ของไต้หวันอย่าง Taiwan Semiconductor Manufacturing Co., หรือที่รู้จักกันในนาม TSMC
     
       ตามแถลงการณ์ที่เอเซอร์แจ้งต่อตลาดหุ้นไต้หวัน ตำแหน่งใหม่ของเฉินจะมีผลที่เอเซอร์อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2557 โดย “สแตน ชิห์ (Stan Shih)” ผู้ก่อตั้งเอเซอร์ตั้งแต่ปี 1976 ได้หวนกลับมาบริหารเอเซอร์อีกครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่อดีตซีอีโอ “เจ.ที. หวัง (J.T. Wang)” ประกาศลาออกเพื่อรับผิดชอบในความผิดพลาดที่สะท้อนออกมาในรูปการขาดทุนยับเยินของเอเซอร์
     
       นักวิเคราะห์มองการประกาศครั้งนี้ว่าไม่ใช่เรื่องพลิกล็อก เนื่องจากที่ผ่านมาผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่ฟันธงว่าเอเซอร์จะต้องเลือกซีอีโอคนใหม่ที่มีประสบการณ์ด้านการตลาด การเลือกเฉินที่มีดีกรีเป็นมือทองด้านการตลาดของบริษัทรับจ้างผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC จึงเป็นทางเลือกที่ดีและถือเป็นข่าวในแง่บวกที่จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเอเซอร์มากขึ้น
     
       เฉินนั้นได้รับการแต่งตั้งจาก TSMC ให้เป็นรองประธานฝ่ายพัฒนาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2005 โดยก่อนหน้าชีวิตการทำงาน 8 ปีที่บริษัทผลิตชิป เฉินเคยนั่งเก้าอี้รองประธานฝ่ายดำเนินการและผู้อำนวยการร่วม ฝ่ายขายและการตลาดทั่วโลกของอินเทล (Intel) ทั้งหมดนี้ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าความเชี่ยวชาญของเฉินจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของเอเซอร์ในอนาคต รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือกับอินเทลในอนาคต
     
       ด้านการศึกษา เฉินได้รับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจหรือ MBA จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิซซูรี เมืองโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกาในปี 1988
     
       การแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ของเอเซอร์นั้นถือเป็นเดิมพันที่คนทั่วโลกจับตามอง ที่ผ่านมา เอเซอร์ถือเป็นบริษัทที่มียอดจัดส่งพีซีลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ผลิตพีซีรายอื่นในช่วงปี 2555 นักวิเคราะห์เชื่อว่าการขาดทุนของเอเซอร์เกิดขึ้นเพราะเอเซอร์ไม่มีฐานตลาดองค์กรไว้ปกป้องตัวเอง การผูกธุรกิจของเอเซอร์ไว้กับตลาดผู้ใช้ทั่วไปหรือคอนซูเมอร์ทำให้เอเซอร์กลายเป็นผู้ผลิตที่เจ็บตัวที่สุด ผิดกับเดลล์ (Dell) หรือเอชพี (HP) ที่อย่างน้อยก็ยังสามารถจำหน่ายคอมพิวเตอร์ให้แก่องค์กรใหญ่ได้ ขณะที่เลอโนโว (Lenovo) สามารถยึดตลาดใหญ่ในจีนและกลายเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีรายใหญ่ที่สุดในขณะนี้
     
       การขาดทุนถล่มทลายของเอเซอร์ยังถูกมองว่าเป็นผลจากการล้มเหลวของยุทธศาสตร์อัลตราบุ๊ก (Ultrabook) จากอินเทล และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ที่ไม่เป็นที่นิยมด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ “โมเดล Wintel” หรือการนำคอมพิวเตอร์ชิปอินเทลมาติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์นั้นทำให้เอเซอร์สามารถขยายอาณาจักรได้นานหลายปี แต่วันนี้โมเดลนี้ไม่เวิร์กในตลาดคอนซูเมอร์ที่ต้องการอุปกรณ์พกพา ซึ่งทำให้บริษัทขาดทุนจากการดำเนินงาน 1.31 หมื่นล้านดอลลาร์ไต้หวัน ทั้งที่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเอเซอร์จะขาดทุนเพียง 59 ล้านดอลลาร์ไต้หวันเท่านั้น
     
       การที่เอเซอร์พบวิกฤตโคม่าหลังจากที่เคยเป็นบริษัทผู้ผลิตพีซีรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกในปี 2009 หรือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ทำให้หุ้นเอเซอร์ร่วงต่ำสุดในรอบ 12 ปี ผลจากการขาดทุนถล่มทลายนี้ทำให้เอเซอร์ตัดสินใจปลดพนักงานมากกว่า 7% ทั่วโลก และจะเปิดระดมทุนด้วยการจำหน่ายหุ้นชุดใหม่ 136 ล้านหุ้น คาดว่าการปรับโครงสร้างของเอเซอร์นับจากนี้จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4,800 ล้านบาท)


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000157528

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.