24 ธันวาคม 2556 กสทช.สุกิจ การให้งบ USO พิษณุโลกและหนองคาย มีเป้าหมายสำคัญที่จะขยายโครงข่ายการบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% (คนใช้มากกว่า ไม่น้อยกว่า 500,000 ครัวเรือน)
ประเด็นหลัก
พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกสทช. เปิดเผยว่า โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญที่จะขยายโครงข่ายการบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% จัดให้มีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตชุมชน อินเตอร์เน็ตในสถานศึกษา และอินเตอร์เน็ตในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
รวมถึงการจัดให้มีบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ครัวเรือนในพื้นที่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดแคลนบริการไม่น้อยกว่า 500,000 ครัวเรือน และขยายบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของประเทศ และจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะจำนวน 1-2 เลขหมายต่อหมู่บ้านในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และขาดแคลนบริการ (Un-served Zone) ภายในระยะเวลา 5 ปี
______________________________________
กสทช.ลุยภารกิจ เข้าถึง"โทร.-เน็ต"เร็วสูง
โลกในยุคปัจจุบัน พัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และไร้พรมแดนด้วยการพัฒนาด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคม
ด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งมี หน้าที่ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง หรือ "USO" (Universal Services Obligation) จึงมีประกาศเรื่องแผน การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดย ทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม พ.ศ.2555-2559
โดยใช้ค่าใช้จ่ายจากเงินที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือใช้เงินที่เรียกเก็บจากสัมปทานคลื่นความถี่ของผู้ประกอบการ หรือโอปะเรเตอร์ทุกราย มาใช้ลงทุนในการจัดให้มีบริการโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึงครอบคลุมทั่วไทยนั่นเอง
ในปีพ.ศ.2556 กสทช.เปิดตัวโครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึงด้วยวิธีการประกวดราคา ใน 2 จังหวัด (นำร่อง) คือ พิษณุโลก และหนองคายขึ้น เพื่อคัดเลือกผู้ให้บริการและเพื่อทดสอบกลไกการประกวดราคาที่สำนักงาน กสทช. และ ITU ก่อนจะจัดให้มีการประกวดราคาในปี"57 ทั่วประเทศ
พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกสทช. เปิดเผยว่า โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญที่จะขยายโครงข่ายการบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% จัดให้มีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตชุมชน อินเตอร์เน็ตในสถานศึกษา และอินเตอร์เน็ตในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
รวมถึงการจัดให้มีบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ครัวเรือนในพื้นที่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดแคลนบริการไม่น้อยกว่า 500,000 ครัวเรือน และขยายบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของประเทศ และจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะจำนวน 1-2 เลขหมายต่อหมู่บ้านในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และขาดแคลนบริการ (Un-served Zone) ภายในระยะเวลา 5 ปี
"การขยายโครงข่ายการให้บริการโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ตให้มีความทั่วถึงนั้น แท้จริงแล้วมีข้อจำกัดหลักๆ อยู่ 3 ด้าน คือ ด้านการลงทุนพื้นฐานด้านโครงข่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่ากำไรที่ไม่สูงนัก ทำให้ผู้ประกอบการไม่เลือกที่จะลงทุนในหลายๆ พื้นที่ ด้านราคาของอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ค่อนข้างสูง และด้านความรู้ความสามารถ และความบกพร่องอื่นๆ เช่น ความพิการทางสายตา ทางการได้ยิน ความไม่รู้จักเทคโนโลยี เครื่องมือ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งโครงการ USO ของ กสทช. ในครั้งนี้จะช่วยแก้ปัญหาทั้ง 3 ด้าน" พลเอกสุกิจกล่าว
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE56YzRNakkyTnc9PQ==&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น: