24 ธันวาคม 2556 กสทช.สุทธิพล ระบุ ถึงเวลาออก กม.ดาวเทียม เหตุ กทค.มีสิทธิ์ให้ไลเซนส์เฉพาะภาคพื้นดิน และระบุว่าภาคอวกาศเป็นเรื่องที่ต้องเจรจาร่วมกันกับประเทศอื่นๆ ขณะที่นักวิชาการระบุว่า กิจการดาวเทียมต้องเปิดประมูล
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบัน กทค.ไม่สามารถกำกับดูแลกิจการดาวเทียมได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายดาวเทียมโดยเฉพาะ ส่งผลให้การพิจารณาให้ใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการดาวเทียม ต้องอิงกับ พ.ร.บ.กสทช. และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่ได้กำหนดขอบข่ายในการกำกับกิจการดาวเทียม ทำให้การออกกฎกติกาต่างๆ เป็นไปได้ยาก
สำหรับปัญหาในปัจจุบันของกิจการดาวเทียม ยังไม่มีการกำหนดรูปแบบกิจการที่ชัดเจนว่าเป็นกิจการที่ใช้คลื่นความถี่ที่เปิดประมูลหรือไม่ เนื่องจาก กทค.ได้วางรูปแบบการให้ไลเซนส์ไว้ คือ ภาคพื้นดิน (เอิร์ธ ไลเซนส์) และภาคอวกาศ (สเปซ ไลเซนส์) โดย กทค.มีสิทธิ์ให้ไลเซนส์เฉพาะภาคพื้นดิน และระบุว่าภาคอวกาศเป็นเรื่องที่ต้องเจรจาร่วมกันกับประเทศอื่นๆ ขณะที่นักวิชาการระบุว่า กิจการดาวเทียมต้องเปิดประมูล
______________________________________
เล็งปัดฝุ่นกม.ดาวเทียมใหม่
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า กทค.อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะยกร่าง พ.ร.บ.ดาวเทียมใหม่ หรือ ปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ให้ครอบคลุมกิจการดาวเทียม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำกับดูแลมากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบัน กทค.ไม่สามารถกำกับดูแลกิจการดาวเทียมได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายดาวเทียมโดยเฉพาะ ส่งผลให้การพิจารณาให้ใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการดาวเทียม ต้องอิงกับ พ.ร.บ.กสทช. และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่ได้กำหนดขอบข่ายในการกำกับกิจการดาวเทียม ทำให้การออกกฎกติกาต่างๆ เป็นไปได้ยาก
สำหรับปัญหาในปัจจุบันของกิจการดาวเทียม ยังไม่มีการกำหนดรูปแบบกิจการที่ชัดเจนว่าเป็นกิจการที่ใช้คลื่นความถี่ที่เปิดประมูลหรือไม่ เนื่องจาก กทค.ได้วางรูปแบบการให้ไลเซนส์ไว้ คือ ภาคพื้นดิน (เอิร์ธ ไลเซนส์) และภาคอวกาศ (สเปซ ไลเซนส์) โดย กทค.มีสิทธิ์ให้ไลเซนส์เฉพาะภาคพื้นดิน และระบุว่าภาคอวกาศเป็นเรื่องที่ต้องเจรจาร่วมกันกับประเทศอื่นๆ ขณะที่นักวิชาการระบุว่า กิจการดาวเทียมต้องเปิดประมูล
นอกจากการปรับปรุงกฎหมายแล้ว กทค.จะเร่งสรุปรูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเปิดให้บริการ 4 จี โดยจะเป็นการประมูลในลักษณะคลื่นควบ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์พร้อมกันในครั้งเดียว และคาดว่าการประมูลจะเกิดขึ้นภายในไตรมาส 3 ของปี 2557
http://www.banmuang.co.th/2013/12/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A1-%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83/
ไม่มีความคิดเห็น: