Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สมาคมทีวีดาวเทียมแห่งประเทศไทย มองว่า ราคาการประมูลใบอนุญาตช่อง HD สูงสุด 3,530 ล้านบาท แพงเกินไป มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับราคาหุ้นเท่านั้นจะช่วยให้กู้เงินและขายหุ้นได้


ประเด็นหลัก



ด้านนายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมทีวีดาวเทียมแห่งประเทศไทย มองว่า ราคาการประมูลใบอนุญาตช่อง HD สูงสุด 3,530 ล้านบาท แพงเกินไป และไม่เห็นความจำเป็นที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต้องเสียเงินจำนวนมาก เพื่อผลิตรายการออกอากาศผ่านช่อง HD เพราะเป็นการออกอากาศผ่านดาวเทียมเหมือนกัน แต่มองว่าการเข้าร่วมประมูลเป็นความต้องการเปิดตลาดใหม่ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับราคาหุ้นเท่านั้น ซึ่งจากผลการศึกษาที่ผ่านมา ราคาประมูลช่อง HD ที่ 1,500 ล้านบาท ก็ถือว่าแพงมากแล้ว

"ผมไม่คิดว่าผู้ประกอบการจะสามารถทำกำไรจากช่องได้ แต่การได้ช่องมา จะช่วยให้กู้เงินและขายหุ้นได้ มองว่าทำเพราะต้องการผลด้านธุรกิจ ไม่ใช่เพราะต้องการช่อง เพราะความคมชัดไม่ต่างกัน"

ทั้งนี้ นายกสมาคมทีวีดาวเทียมแห่งประเทศไทย ยังประเมินอีกว่า โอกาสสำหรับผู้ที่ชนะการประมูลช่อง HD เป็นอันดับ 1 ซึ่งช่อง 3 ได้ไปนั้น ถือว่ามีโอกาสคุ้มทุน เพราะเป็นฟรีทีวีเดิมที่มีทุนหนาและมีฐานผู้ชมจำนวนมาก หรือเปรียบได้ว่า มีบุญเก่า

อันดับ 2 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ของตระกูล "ปราสาททองโอสถ" ซึ่งเป็นเศรษฐีหุ้น มีสายป่านยาวเป็นตัวสนับสนุน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะจ้างใครเข้ามาเป็นผู้บริหารจัดการ หรือผู้ผลิต

อันดับ 3 ช่อง 7 มีโอกาสเหมือนกับช่อง 3 เพราะเป็นฟรีทีวีเดิม แต่อาจดำเนินธุรกิจแบบระมัดระวังตัวมากกว่า เนื่องจากคอนเทนต์ละครยังมีฐานคนดูที่ต่างกัน

อันดับ 4 ไทยรัฐทีวี ยังไม่แน่ใจจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประมูล และไม่ได้ประโยชน์ในการขายหุ้น แต่ดูจากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีความเชี่ยวชาญด้านสารคดี ซึ่งอาจเป็นการผลิตเพื่อขายต่างประเทศ หรือมุ่งผลประโยชน์จากต่างประเทศ

อันดับ 5 ช่อง 9 น่าจะมีลักษณะอิ่มตัวเหมือนช่อง 5 แต่ที่เข้าร่วมประมูลอาจหวังผลต่อราคาหุ้น

อันดับ 6 ร่วม 2 บริษัท คือบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด มีลักษณะเหมือนกับไทยรัฐทีวี ที่ไม่รู้จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แต่อาจเป็นความต้องการผลิตรายการต่างๆ ที่น่าสนใจ เพราะที่ผ่านมามีหนังสือขายดีจำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ

และบริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด มีโอกาสฟื้นธุรกิจได้เร็ว เพราะมีคอนเทนต์ชัดเจนที่แตกต่างไปจากช่องอื่น และมุ่งในเรื่องการนำเสนอกีฬาเจาะฐานกลุ่มเป้าหมายชัดเจน








______________________________________

นักวิชาการเสียงแตก! วิจารณ์ยับราคาช่องHD เหมาะ-แพง?


นักวิชาการคิดราคาประมูล มองราคาประมูลทีวีดิจิตอล ช่อง HD เหมาะสม คุ้มทุนใน 5 ปี ขณะที่นายกสมาคมทีวีดาวเทียมแห่งประเทศไทย มองแพงเกินไป เชื่อผู้ประมูลหวังผลด้านธุรกิจ กู้เงิน-ขายหุ้น ไม่ใช่เพราะต้องการช่อง...

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 56 นายไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าคณะวิจัยคิดราคาประมูล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ ว่า ราคาการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการ ทางธุรกิจระดับชาติ ช่องรายการทั่วไป ประเภทความคมชัดสูง หรือ HD ที่ได้ผู้ชนะการประมูลทั้ง 7 ราย โดยมีราคาเสนอสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท เป็นราคาที่เหมาะสม ไม่แพงเกินไป มีโอกาสคุ้มทุนภายในระยะเวลา 5 ปี

นอกจากนี้ ราคาประมูลสูงสุดกับราคาต่ำสุดยังห่างกันเพียง 210 ล้านบาท และภาพรวมราคาทั้ง 7 ราย ไล่เลี่ยกัน ซึ่งก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบการประมูลที่ไม่ต้องการให้ราคามีความแตกต่างกันเกินไป และเมื่อดูจากรายชื่อผู้ชนะการประมูล เป็นผู้ประกอบการที่เรียกว่ามีประสิทธิภาพสูง ทุนหนา หรือมีกำลังจ่ายได้สูงกว่า 3,000 ล้านบาท แต่ที่แปลกใจคือ การเสนอราคาสูงเป็นอันดับ 2 ของตระกูลปราสาททองโอสถ ในนามบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งไม่คาดคิดว่าจะเข้าร่วมประมูลช่อง HD ส่วนโอกาสทำกำไรในอนาคต ยังขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละราย รวมถึงคอนเทนต์

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังทีวีดิจิตอลเกิดขึ้น การแข่งขันของสื่อโทรทัศน์จะรุนแรงมากขึ้น เพราะประชาชนจะมีทางเลือกในการเข้าชมรายการผ่าน 24 ช่อง จากปัจจุบันมีอยู่ 6-7 ช่อง แต่ผู้ผลิตราคาเดิมอาจเสียเปรียบ เพราะถูกดึงฐานผู้ชมไปยังช่องทีวีเกิดใหม่มากขึ้น

ด้านนายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมทีวีดาวเทียมแห่งประเทศไทย มองว่า ราคาการประมูลใบอนุญาตช่อง HD สูงสุด 3,530 ล้านบาท แพงเกินไป และไม่เห็นความจำเป็นที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต้องเสียเงินจำนวนมาก เพื่อผลิตรายการออกอากาศผ่านช่อง HD เพราะเป็นการออกอากาศผ่านดาวเทียมเหมือนกัน แต่มองว่าการเข้าร่วมประมูลเป็นความต้องการเปิดตลาดใหม่ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับราคาหุ้นเท่านั้น ซึ่งจากผลการศึกษาที่ผ่านมา ราคาประมูลช่อง HD ที่ 1,500 ล้านบาท ก็ถือว่าแพงมากแล้ว

"ผมไม่คิดว่าผู้ประกอบการจะสามารถทำกำไรจากช่องได้ แต่การได้ช่องมา จะช่วยให้กู้เงินและขายหุ้นได้ มองว่าทำเพราะต้องการผลด้านธุรกิจ ไม่ใช่เพราะต้องการช่อง เพราะความคมชัดไม่ต่างกัน"

ทั้งนี้ นายกสมาคมทีวีดาวเทียมแห่งประเทศไทย ยังประเมินอีกว่า โอกาสสำหรับผู้ที่ชนะการประมูลช่อง HD เป็นอันดับ 1 ซึ่งช่อง 3 ได้ไปนั้น ถือว่ามีโอกาสคุ้มทุน เพราะเป็นฟรีทีวีเดิมที่มีทุนหนาและมีฐานผู้ชมจำนวนมาก หรือเปรียบได้ว่า มีบุญเก่า

อันดับ 2 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ของตระกูล "ปราสาททองโอสถ" ซึ่งเป็นเศรษฐีหุ้น มีสายป่านยาวเป็นตัวสนับสนุน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะจ้างใครเข้ามาเป็นผู้บริหารจัดการ หรือผู้ผลิต

อันดับ 3 ช่อง 7 มีโอกาสเหมือนกับช่อง 3 เพราะเป็นฟรีทีวีเดิม แต่อาจดำเนินธุรกิจแบบระมัดระวังตัวมากกว่า เนื่องจากคอนเทนต์ละครยังมีฐานคนดูที่ต่างกัน

อันดับ 4 ไทยรัฐทีวี ยังไม่แน่ใจจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประมูล และไม่ได้ประโยชน์ในการขายหุ้น แต่ดูจากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีความเชี่ยวชาญด้านสารคดี ซึ่งอาจเป็นการผลิตเพื่อขายต่างประเทศ หรือมุ่งผลประโยชน์จากต่างประเทศ

อันดับ 5 ช่อง 9 น่าจะมีลักษณะอิ่มตัวเหมือนช่อง 5 แต่ที่เข้าร่วมประมูลอาจหวังผลต่อราคาหุ้น

อันดับ 6 ร่วม 2 บริษัท คือบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด มีลักษณะเหมือนกับไทยรัฐทีวี ที่ไม่รู้จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แต่อาจเป็นความต้องการผลิตรายการต่างๆ ที่น่าสนใจ เพราะที่ผ่านมามีหนังสือขายดีจำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ

และบริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด มีโอกาสฟื้นธุรกิจได้เร็ว เพราะมีคอนเทนต์ชัดเจนที่แตกต่างไปจากช่องอื่น และมุ่งในเรื่องการนำเสนอกีฬาเจาะฐานกลุ่มเป้าหมายชัดเจน

ส่วนการประมูลช่องความคมชัดแบบมาตรฐาน หรือ SD มองว่าราคาที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1,000 ล้านบาท เพราะถ้าราคาสูง 1,000-2,000 ล้านบาท ควรเลือกประมูลช่อง HD มากกว่า

ขณะเดียวกัน การแข่งขันของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ในอนาคต หลังจากทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นนั้น นายนิพนธ์ ระบุว่า ยังเป็นเรื่องที่ประเมินยาก เพราะต้องติดตามการออกกฎระเบียนในการกำกับดูแลทีวีสาธารณะของ กสทช. ซึ่งหากกฎระเบียบเข้มงวดเกินไป หรือไปกดดันกับเคเบิลทีวี อาจทำให้เกิดปัญหาด้านความไม่เป็นธรรมได้.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/392109

_______________________________


นักวิชาการ ชี้คืนทุนทีวีดิจิตอล ไม่ต่ำกว่า 5 ปี (ชมคลิป)


การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ที่ดำเนินมาในแบบดั้งเดิมยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ นอกเหนือจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงใบอนุญาตด้วยเดิมพันหลายพันล้านบาท ต้องมองข้ามชอตไป...

การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ที่ดำเนินมาในแบบดั้งเดิมยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ นอกเหนือจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิง ใบอนุญาตด้วยเดิมพันหลายพันล้านบาท ต้องมองข้ามชอตไปอนาคตว่า หลังได้ใบอนุญาตมาครอบครองแล้ว การก่อเกิดทีวีดิจิตอลในเชิงพาณิชย์พร้อมๆ กัน ถึง 24 ช่อง ด้วยทุนประกอบการราคาแพง และการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้หลายคนจับจ้องและวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท้ายที่สุดแล้วจะมีคนเหลือรอดกี่รายในเวทีนี้

นายสิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านนิวมีเดียและสื่อมวลชน ประเมินว่า 5 ปี หลังทีวีดิจิตอลเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ จึงจะสามารถชี้วัดได้ว่า ผู้ประกอบการจะรอดหรือไม่ และไม่มีทางเป็นไปได้ที่การลงทุนทีวีดิจิตอลจะได้คืนทุนภายใน 5 ปี

โดยสรุป สถานีโทรทัศน์มีค่าใช้จ่ายอยู่ 3 ก้อนหลักๆ ก้อนแรก ค่าประมูลใบอนุญาต สองค่าโครงข่าย และสามค่าประกอบการกิจการหรือค่าทำธุรกิจ รวมทั้งค่าโฆษณาที่ต้องลงทุน



"การทำโทรทัศน์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้นทุนสูง ต้องใช้บุคลากร ต่อให้มีเทคโนโลยีสูงก็ต้องมีค่าบริหารจัดการตรงนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้นต้องมองภาพรวมทั้งหมด 15 ปี"

นักวิชาการอิสระด้านนิวมีเดียและสื่อมวลชนชี้ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง อาจไม่ใช่ประเด็นภาระของผู้ประกอบการ แต่กลับเป็นภาวะฟองสบู่ และการโอนย้ายของบุคลากรในวงการสื่อโทรทัศน์ โดยมองว่า ในช่วงเวลาที่จะมีฟรีทีวีช่องใหม่แจ้งเกิดพร้อมๆ กัน ถึง 24 ช่อง จะมีการซื้อตัวบุคลากรจำนวนมาก ทำให้ค่าตัวสูงเกินความเป็นจริง สุดท้ายอาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ เมื่อธุรกิจไปไม่รอด

ขณะที่นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดที่สำคัญว่า จะแจ้งเกิดได้หรือไม่ คือ คอนเทนต์ หรือเนื้อหารายการที่ต้องโดนใจผู้ชม เพราะประชาชนแต่ละกลุ่มคงเลือกดูสิ่งที่ตรงกับจริตของตัวเองมากขึ้น แทนที่จะดูหว่าน เพราะที่ผ่านมามีตัวเลือกไม่มากนัก แต่หลังจากวันที่มีทีวีดิจิตอล ประชาชนคงดูตามที่ตัวเองชอบหรือสนใจ.


โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/392108

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.