29 ธันวาคม 2556 BBC รายงาน ไทย (สทอภ.) ลงนามข้อตกลงในการใช้เป่ยโต่ว ดาวเทียมบอกพิกัดของจีน 35 ดวง รายงานข้อมูลสภาพอากาศ โดยใช้เงินลงทุนสร้างระบบในไทยราว 320 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเด็นหลัก
ว็บไซต์สำนักข่าวซีซีทีวี รายงานว่า ดาวเทียมบอกพิกัดของจีนดวงนี้สร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับคู่แข่งสำคัญอย่างอเมริกาที่ใช้ระบบ GPS และระบบ GLONASS ของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม โครงการเป่ยโต่วนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการภารกิจช่วงที่ 2 ให้เสร็จสมบูรณ์โดยจะต้องปล่อยดาวเทียมขึ้นไปยังวงโคจรทั้งหมด 35 ดวง ภายในปี 2563 ซึ่งระบบนี้จะใช้ในการจัดทำแผนที่ รายงานข้อมูลสภาพอากาศ รวมถึงใช้ในการติดต่อสื่อสาร Ffpโครงการยักษ์ของจีนนี้พร้อมแล้วที่จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าทั่วโลก แม้จะเพิ่งเริ่มใช้งานได้เพียงแค่ปีเดียว
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกนอกประเทศจีนที่ลงนามข้อตกลงในการใช้เป่ยโต่ว โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ของไทยได้สร้างสถานีรับส่งสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินห่างจากกรุงเทพราว 150 กิโลเมตร เพื่อให้วิศวกรและช่างเทคนิคดำเนินงานด้านการสื่อสารกับดาวเทียมในวงโคจร โดยใช้เงินลงทุนสร้างระบบในไทยราว 320 ล้านเหรียญสหรัฐ ช่วงที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ปี 2554 ไทยก็ใช้ระบบเป่ยโต่วคาดการณ์พื้นที่ที่อาจได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
“ระบบเป่ยโตวเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังจากระบบจีพีเอสเกือบ 20 ปี แต่ผมมั่นใจว่าความแม่นยำของระบบนี้น่าจะมีศักยภาพดีกว่าเดิม เพราะใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ บางทีเป่ยโตวน่าจะดีกว่าประมาณ 10 เท่า เห็นได้ว่า จีพีเอสใช้ทั่วทั้งโลกและมันเป็นระบบนำทางทั้งในรถยนต์และรถบรรทุก รวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครื่องต้องมีระบบจีพีเอส ปัจจุบันจีนเข้าสู่ตลาดโลกด้วยระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS system) ซึ่งมีการผลิตทั้งฮาร์ดแวร์และชอฟต์แวร์ ซึ่งมันสะท้อนความยิ่งใหญ่ของจีนว่าพวกเขาสามารถผลิตเทคโนโลยีระกับสูงได้” รวิต สชาสิริ ผู้จัดการระบบภาคพื้นดินกล่าว
การที่ไทยทำข้อตกลงในการใช้ระบบเป่ยโตว ถือเป็นก้าวสำคัญของจีน เพราะจีนก็หวังว่าประเทศอื่นๆ จะหันมาใช้ระบบนี้มากขึ้น ถ้าประสบความสำเร็จในไทย โดยมีลาวและบูรไนเป็นอีกสองประเทศที่ทำข้อตกลงในการใช้ระบบนี้ แม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นเข้าไปแชร์ตลาดนอกจีน แต่จีนก็วางแผนขยายตลาดไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งน่าจะครอบคลุมทั่วโลกภายในสิบปี
______________________________________
ไทยชาติแรกประเดิมดาวเทียม"เป่ยโตว"
ประเทศไทยเป็นต่างชาติรายแรกที่ลงนามข้อตกลงติดตั้งระบบดาวเทียมบอกพิกัดเป่ยโตวของจีน
เว็บไซต์สำนักข่าวซีซีทีวี รายงานว่า ดาวเทียมบอกพิกัดของจีนดวงนี้สร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับคู่แข่งสำคัญอย่างอเมริกาที่ใช้ระบบ GPS และระบบ GLONASS ของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม โครงการเป่ยโต่วนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการภารกิจช่วงที่ 2 ให้เสร็จสมบูรณ์โดยจะต้องปล่อยดาวเทียมขึ้นไปยังวงโคจรทั้งหมด 35 ดวง ภายในปี 2563 ซึ่งระบบนี้จะใช้ในการจัดทำแผนที่ รายงานข้อมูลสภาพอากาศ รวมถึงใช้ในการติดต่อสื่อสาร Ffpโครงการยักษ์ของจีนนี้พร้อมแล้วที่จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าทั่วโลก แม้จะเพิ่งเริ่มใช้งานได้เพียงแค่ปีเดียว
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกนอกประเทศจีนที่ลงนามข้อตกลงในการใช้เป่ยโต่ว โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ของไทยได้สร้างสถานีรับส่งสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินห่างจากกรุงเทพราว 150 กิโลเมตร เพื่อให้วิศวกรและช่างเทคนิคดำเนินงานด้านการสื่อสารกับดาวเทียมในวงโคจร โดยใช้เงินลงทุนสร้างระบบในไทยราว 320 ล้านเหรียญสหรัฐ ช่วงที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ปี 2554 ไทยก็ใช้ระบบเป่ยโต่วคาดการณ์พื้นที่ที่อาจได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
“ระบบเป่ยโตวเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังจากระบบจีพีเอสเกือบ 20 ปี แต่ผมมั่นใจว่าความแม่นยำของระบบนี้น่าจะมีศักยภาพดีกว่าเดิม เพราะใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ บางทีเป่ยโตวน่าจะดีกว่าประมาณ 10 เท่า เห็นได้ว่า จีพีเอสใช้ทั่วทั้งโลกและมันเป็นระบบนำทางทั้งในรถยนต์และรถบรรทุก รวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครื่องต้องมีระบบจีพีเอส ปัจจุบันจีนเข้าสู่ตลาดโลกด้วยระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS system) ซึ่งมีการผลิตทั้งฮาร์ดแวร์และชอฟต์แวร์ ซึ่งมันสะท้อนความยิ่งใหญ่ของจีนว่าพวกเขาสามารถผลิตเทคโนโลยีระกับสูงได้” รวิต สชาสิริ ผู้จัดการระบบภาคพื้นดินกล่าว
จีนพัฒนาเป่ยโตวที่มีประสิทธิภาพเยี่ยมด้านระบบจีพีเอส เพื่อใช้งานในกองทัพ ต่อมาก็เริ่มขยายการใช้งานมายังภาคพลเรือน เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมีเป้าหมายที่จะดึงให้ประเทศอื่นๆ ในเอเชียเข้ามาใช้บริการด้วย โดยเริ่มตั้งสถานีรับส่งสัญญาณที่ปากีสถานและทำข้อตกลงกับไทยในการใช้งานระบบ
เป่ยโตวถูกใช้งานครั้งแรกในการส่งข้อมูลมหาศาลเพื่อใช้สำหรับวางแผนฉุกฉิน และใช้งานภายในกองทัพจีนเพื่อติดตามและระบุตำแหน่งของราชายาเสพติด “หน่อคำ” ที่สังหารกลาสีชาวจีน 13 คนบริเวณภาคเหนือของไทย
การที่ไทยทำข้อตกลงในการใช้ระบบเป่ยโตว ถือเป็นก้าวสำคัญของจีน เพราะจีนก็หวังว่าประเทศอื่นๆ จะหันมาใช้ระบบนี้มากขึ้น ถ้าประสบความสำเร็จในไทย โดยมีลาวและบูรไนเป็นอีกสองประเทศที่ทำข้อตกลงในการใช้ระบบนี้ แม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นเข้าไปแชร์ตลาดนอกจีน แต่จีนก็วางแผนขยายตลาดไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งน่าจะครอบคลุมทั่วโลกภายในสิบปี
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้ละทิ้งระบบจีพีเอส แต่จะใช้ทั้งสองระบบเพื่อเพิ่มความแม่นยำและเป็นดาวเทียมสำรอง ถ้าระบบใดระบบหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/267625/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A7
ไม่มีความคิดเห็น: