Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 ธันวาคม 2556 กสทช.สุทธิพล ระบุ ต้องสร้างความชัดเจนในปี 2557 ก็คือ การใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ให้มีความสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน


ประเด็นหลัก



o ไทยต้องชัดเจนในการใช้คลื่น 700 MHz เพื่อสอดคล้องกติกาสากล

อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องสร้างความชัดเจนในปี 2557 ก็คือ การใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ให้มีความสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปรับตารางการใช้คลื่นความถี่ย่านนี้ตามกติกาสากลเพื่อใช้กับกิจการโทรคมนาคม ขณะที่ไทยยังใช้กับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นจะต้องทบทวนตารางคลื่นความถี่เพื่อให้เป็นไปตาม กฎ กติกา สากล และป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทเรื่องปัญหาคลื่นรบกวนประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต ตลอดจนเพื่อเพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับบริการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพจากการใช้ประโยชน์มหาศาลจากคลื่นความถี่ย่านดังกล่าว

ในส่วนของการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่เวที AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2558 นั้นชาติสมาชิกอาเซียนจำเป็นจะต้องร่วมมือกำหนดนโยบายโทรคมนาคมอาเซียนที่เป็นระบบ เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารของอาเซียนเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ทั้งยังจำเป็นต้องหามาตรการ
เพื่อรองรับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการที่อยู่คนละประเทศ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมในอาเซียน

ดังนั้นในปี 2557 ไฮไลต์การทำงานของ กทค. จะบูรณาการการทำงานทุกองคาพยพและให้ความสำคัญต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากศักยภาพด้านโทรคมนาคมที่จะมีการพลิกโฉมในเชิงรุก โดยนอกจากจะจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz เพื่อใช้กับเทคโนโลยี 4จี และคลื่นความถี่ในย่าน 900 MHz แล้ว ยังมีกรณีของการแก้ไขปัญหากิจการดาวเทียมสื่อสารที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ยากในการแก้ไขปัญหา อันเนื่องมาจากข้อกำจัดของกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน





______________________________________

กทค.ชักธงปีม้า...! เป็นปีแห่งการพัฒนาศักยภาพโทรคมนาคมเพื่อคนไทย


สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมาย และในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ผ่านพ้นไปเป็นปีที่ 2 กับบทบาทการทำหน้าที่ กสทช. ด้านกฎหมาย ในการปรับปรุงและพัฒนา กฎ กติกา ระเบียบต่างๆ ในกิจการโทรคมนาคมให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเห็นว่าทิศทางการขับเคลื่อนงานในกิจการโทรคมนาคม สำหรับปี 2557 ควรจะเป็น “ปีแห่งการพัฒนาศักยภาพโทรคมนาคมเพื่อคนไทย” เพื่อให้แนวทางการทำงานในกิจการโทรคมนาคม มีความสอดคล้องกับนโยบายของบอร์ดกทค. ที่กำหนดให้ปี 2557 อยู่ในโหมดของการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz เพื่อต่อยอดเทคโนโลยี 3จี ไปสู่เทคโนโลยี 4จี แบบบูรณาการ โดยมีโจทย์ที่ตั้งไว้ว่าจะนำเอาคลื่น 900 MHz ที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 2558 มาจัดประมูลในคราวเดียวกันกับคลื่น
1800 MHz ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของไอทียู โดยจะเน้นให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการจัดประมูลกันเลยทีเดียว

o ปี’ 57 เตรียมความพร้อมสู่โหมดการจัดสรรคลื่น 1800 MHz แบบครบวงจร

สำหรับการขับเคลื่อนการทำงานในปี 2557 ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม จะต้องเตรียมทุกองคาพยพเพื่อให้พร้อมสู่โหมดการจัดสรรคลื่นความถี่ 1800 MHz แบบครบวงจร กล่าวคือการเตรียมความพร้อมในปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเลขหมายโทรคมนาคม เช่น จะเร่งให้มีการบังคับใช้ประกาศใหม่ของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม ที่มีการสังคายนากติกาเกี่ยวกับเลขหมายโทรคมนาคมเพื่อจัดเตรียมเลขหมายโทรคมนาคมให้มีความคล่องตัวสามารถรองรับการเปิดบริการในระบบ 4จี ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จในต้นปี 2557

ด้วยเหตุที่ผลของการออกใบอนุญาต 3จี ในปลายปี 2555 ทำให้มีการเติบโตของการเปิดบริการ 3จี ในปี 2556 อย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องในปี 2557 และจะมีการเติบโตของบริการ 4จี ในปลายปี 2557 และ ปี 2558 ทำให้ต้องเตรียมการรองรับข้อพิพาทและข้อร้องเรียนที่จะเกิดจากการเปิดให้บริการ 3จี และ 4จี จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อรองรับศักยภาพทางด้านโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้น

ทำให้ต้องเร่งผลักดันให้มีการออกประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เพื่อกำหนดแนวทางการพิจารณาว่าการกระทำใดบ้างที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งจะเร่งปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคม เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม

นอกจากนี้จะเร่งรัดการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการที่ค้างการพิจารณาอยู่ เพื่อให้มีการประกาศใช้โดยเร็ว เพื่อปรับปรุงให้กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพ สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น

ในปี 2557 นี้ ยังจำเป็นจะต้องขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมที่เพิ่งเปิดใหม่ให้เป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยฯที่มีชีวิต โดยจะเน้นที่จะเติมเต็มองค์ความรู้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการให้ใช้เป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะพัฒนาเทคนิคการไกล่เกลี่ยในกิจการโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การไกล่เกลี่ยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันศูนย์ไกล่เกลี่ยฯจะต้องทำงานในเชิงรุก โดยสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ให้บริการมือถือในทุกรูปแบบ ซึ่งศูนย์ไกล่เกลี่ยฯแห่งนี้จะทำงานควบคู่ไปกับกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และ Call Center 1200 เพื่อให้การเยียวยาปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รวมทั้งในปี 2557 จำเป็นจะต้องสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม
ในกิจการโทรคมนาคมให้เข้มแข็ง โดยจะใช้ช่องทางที่สำคัญ โดยผ่าน
คณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมฯ และปรับปรุงวิธีการทำงานของบอร์ดและ
สำนักงานฯ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตั้งแต่เริ่มกระบวนการออกกฎ กติกาต่างๆ แล้ว ยังมีความจำเป็นที่ต้องให้หน่วยงานตรวจสอบและกลุ่มนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มกระบวนการเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและเพื่อมิให้เกิดช่องว่างทางด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ในกระบวนการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz จะดำเนินกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยจะกำหนดแผนการดำเนินการให้ชัดเจนในแต่ละขั้นตอน นอกจากนี้การดำเนินการต่างๆจะให้ความสำคัญในเรื่องธรรมาภิบาล โดยเน้นหลักความสุจริตและโปร่งใสเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

อีกทั้งจะเน้นการต่อยอดองค์ความรู้และนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดจากต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพโทรคมนาคม โดยจะสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการอย่างใกล้ชิดกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยจะมีการทำ MOU กับประเทศต่างๆมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีในกิจการโทรคมนาคมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำความรู้จากต่างประเทศมาศึกษา และประยุกต์ใช้ในกิจการโทรคมนาคมของไทย

o สะสางกฎ กติกา กิจการดาวเทียมให้เกิดความชัดเจน

ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องเร่งสะสางปัญหาที่คาราคาซัง คือกิจการดาวเทียมสื่อสารซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างความชัดเจนในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553กำหนดให้กิจการดาวเทียมสื่อสารอยู่ในคำจำกัดความของกิจการโทรคมนาคม แต่กลับไม่มีบทบัญญัติในส่วนรายละเอียดว่าจะกำกับดูแลกิจการดาวเทียมสื่อสารอย่างไร ทำให้การพิจารณาอนุญาตกิจการดาวเทียมสื่อสารต้องไปอิงกับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ซึ่งไม่ได้บัญญัติครอบคลุมกิจการดาวเทียมสื่อสาร แม้แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะสั้น คือการให้คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ฯ ดาวเทียมสื่อสาร ยกร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตกิจการดาวเทียมสื่อสาร ก็เป็นเพียงมาตรการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวย่อมมีข้อจำกัดที่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ที่ไม่ได้รองรับกิจการดาวเทียมสื่อสารส่งผลให้รัฐไม่สามารถเข้ามากำกับดูแลโดยเฉพาะในเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม และการกำกับดูแลกิจการดาวเทียมสื่อสารในกรณีที่ไม่มีการใช้คลื่นความถี่ ว่าจะกำกับดูแลในส่วนของการประกอบกิจการอย่างไรจึงจะเหมาะสมและทำให้ประชาชนเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นจุดอ่อนในเรื่องนี้และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยอาศัยการออกประกาศที่มีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายต่ำกว่าพระราชบัญญัติ โดยในระยะยาว จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องยกร่าง พ.ร.บ.ดาวเทียม เพื่อบังคับใช้เป็นการเฉพาะ หรือสมควรจะปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ หรือพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เพื่อทำให้การกำกับดูแลกิจการดาวเทียมมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง

o ไทยต้องชัดเจนในการใช้คลื่น 700 MHz เพื่อสอดคล้องกติกาสากล

อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องสร้างความชัดเจนในปี 2557 ก็คือ การใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ให้มีความสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปรับตารางการใช้คลื่นความถี่ย่านนี้ตามกติกาสากลเพื่อใช้กับกิจการโทรคมนาคม ขณะที่ไทยยังใช้กับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นจะต้องทบทวนตารางคลื่นความถี่เพื่อให้เป็นไปตาม กฎ กติกา สากล และป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทเรื่องปัญหาคลื่นรบกวนประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต ตลอดจนเพื่อเพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับบริการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพจากการใช้ประโยชน์มหาศาลจากคลื่นความถี่ย่านดังกล่าว

ในส่วนของการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่เวที AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2558 นั้นชาติสมาชิกอาเซียนจำเป็นจะต้องร่วมมือกำหนดนโยบายโทรคมนาคมอาเซียนที่เป็นระบบ เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารของอาเซียนเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ทั้งยังจำเป็นต้องหามาตรการ
เพื่อรองรับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการที่อยู่คนละประเทศ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมในอาเซียน

ดังนั้นในปี 2557 ไฮไลต์การทำงานของ กทค. จะบูรณาการการทำงานทุกองคาพยพและให้ความสำคัญต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากศักยภาพด้านโทรคมนาคมที่จะมีการพลิกโฉมในเชิงรุก โดยนอกจากจะจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz เพื่อใช้กับเทคโนโลยี 4จี และคลื่นความถี่ในย่าน 900 MHz แล้ว ยังมีกรณีของการแก้ไขปัญหากิจการดาวเทียมสื่อสารที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ยากในการแก้ไขปัญหา อันเนื่องมาจากข้อกำจัดของกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

o สรุปผลงานเด่นปีงูเล็ก 2556 เน้นปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค

สำหรับผลงานเด่นในการขับเคลื่อนกิจการโทรคมนาคมตลอดปี 2556 ที่ได้กำหนดแนวทางการทำงานให้เป็น “ปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม” นั้น ทำให้ยุทธศาสตร์ในปี 2556 ให้น้ำหนักไปที่กลุ่มผู้บริโภคเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่คาราคาซังมาเนินนานสัมฤทธิผล
อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สามารถแก้ไขปัญหาบัตรเติมเงิน (พรีเพด) ที่เป็นปัญหาคาราคาซังมานานจนเป็นผลสำเร็จ ด้วยการกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานขั้นต่ำ ในการคุ้มครองผู้บริโภคว่าในการเติมเงินทุกมูลค่าทุกโปรโมชั่นต้องได้วันสะสมอย่างน้อย 30 วัน และสามารถสะสมได้ถึง 365 วัน นอกจากนี้ กทค. ยังได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจการจำหน่ายบัตรเติมเงินพรีเพด ในพื้นที่ต่างๆ ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความตื่นตัวและเพื่อบังคับตามเงื่อนไขมาตรฐานขั้นต่ำที่ กทค.กำหนดไว้

ผลงานเด่นอีกชิ้นหนึ่งในการคุ้มครองผู้บริโภค คือ การออกประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2556 หรือที่เรียกกันว่า“ประกาศห้ามซิมดับ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นไฮไลต์ในการทำงานของกทค.ที่ใช้มาตรการทางกฎหมายผ่าทางตัน โดยการอุดช่องโหว่ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่มีอยู่ระหว่างรอยต่อของการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ส่งผลทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการระบบ 2จี ที่อยู่ในคลื่น 1800 MHz กับการอนุญาตให้ใช้คลื่นฯ สามารถใช้บริการได้โดยไม่สะดุดและมีเวลาในการย้ายเครือข่ายไปสู่ระบบใหม่ได้อย่างราบรื่นภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งทำให้สามารถข้ามผ่านวิกฤตการณ์สภาวะ “ซิมดับ” มาได้เป็นผลสำเร็จ

ผลงานเด่นอื่นๆ ยังรวมถึงการผลักดันให้มีการลดอัตราค่าธรรมเนียมการคงสิทธิเลขหมาย จากเดิมมีค่าธรรมเนียม 99 บาท ให้เหลือเพียง 29 บาท รวมทั้งการกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการในระบบ 3จี อย่างมีประสิทธิภาพ โดย กทค. ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจสัญญาณการให้บริการ 3จี ด้วยรถไดร์ฟเทส
อย่างต่อเนื่อง

ในส่วนการให้ความสำคัญต่อประชาชนทุกภูมิภาคนั้น กทค.ได้ริเริ่มให้มีการจัดประชุม “กทค.สัญจร พบประชาชน” ในทุกภูมิภาค โดยลงพื้นที่ด้วยตนเองเพื่อรับฟังปัญหาและความคิดเห็นต่างๆของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั้ง 5 ภูมิภาค เพื่อนำข้อมูลต่างๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง

กทค. ยังได้ริเริ่มให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการออกกฎ กติกา ต่างๆ รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในกิจการโทรคมนาคมอย่างเต็มรูปแบบครั้งแรกของประเทศไทย โดยนำกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมาใช้กับกระบวนการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz

นอกจากนี้ ได้เร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนโทรศัพท์เคลื่อนที่จนสำเร็จลุล่วง ส่งผลให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคโดยผ่านการพิจารณาชี้ขาดของบอร์ด กทค. จำนวนกว่า 70 เรื่อง

o สร้างกติกาอย่างเป็นธรรมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ผลงานในปี 2556 ยังรวมถึงการปรับปรุง แก้ไข กฎระเบียบต่างๆในกิจการโทรคมนาคม อาทิ การออกประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 หรือที่เรียกกันว่า“ประกาศอินฟราสตรัคเจอร์แชร์ริ่ง” ซึ่งประกาศฉบับนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตสามารถนำโครงสร้างพื้นฐานที่มีสิทธิตามสัญญาเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตรายอื่นใช้ร่วมกันอันเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 47 แห่งรัฐธรรมนูญฯ

นอกจากนี้ กทค. ยังได้กำหนดอัตราการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมชั่วคราวในกรณีใบอนุญาต 3จี จากเดิมที่มีอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย 1 บาท ให้ลดลงมาอยู่ที่ 45 สตางค์ ทำให้การเชื่อมต่อโครงข่ายของค่ายมือถือต่างๆมีต้นทุนที่ถูกลง และส่งผลทำให้ค่าใช้บริการของผู้บริโภคถูกลงตามไปด้วย โดยปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายได้ตกลงร่วมกันที่จะใช้อัตรา 45 สตางค์เป็นอัตรากลางในการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม

รวมทั้งยังได้ออกประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2556 โดยมีผลบังคับใช้ไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556
ส่งผลให้มีการพลิกโฉมกติกาการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
จนสามารถก้าวทันการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันได้

o ITU การันตีประมูล 3จี ไทยได้มาตรฐานสากล

สำหรับผลงานความร่วมมือกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) นั้น มีความร่วมมือกับ ITU ในหลายด้านที่โดดเด่นคือการที่ ITU เข้ามาจัดทำประเมินผลงานการจัดประมูล 3จี โดยใช้หลักเกณฑ์สากลมา
เป็นตัววัด ซึ่งผลที่ได้รับก็คือ ในต้นปี 2556 ITU ได้ประเมินและให้การรับรองการจัดประมูล 3จี ของไทยว่า ถูกต้อง มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยยกย่องการจัดประมูล 3จี ของไทยให้เป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ กสทช.ยังได้ร่วมมือกับ ITU และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดงานประชุมระหว่างประเทศ คือ ITU Telecom World 2013 ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญและสามารถผลักดันแนวคิดเรื่องโทรคมนาคมของไทยต่อชาติสมาชิก ITU กว่า 190 ประเทศ ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ

o กทค.เนื้อหอม กสทช.โปแลนด์-ตุรกี ทำ MOU แลกเปลี่ยนองค์ความรู้

ดร. สุทธิพล เปิดเผยต่อไปว่าความร่วมมือในการทำ MOU กับประเทศต่างๆนั้น เป็นผลจากที่ตนได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมประชุมในเวทีต่างๆ ในปี 2556 ไม่ว่าจะเป็นเวทีระดับโลก หรือระดับภูมิภาคที่มีการประชุมเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม จึงได้พบปะหารือกับ กสทช. ของประเทศต่างๆ หลายประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะการได้หารือกับประธาน กสทช. ของประเทศโปแลนด์ และของประเทศตุรกี ซึ่งแสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับ กสทช. ของไทยในด้านโทรคมนาคม ทำให้ต่อมามีการลงนาม MOU ในเดือนพฤศจิกายน 2556 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่สนใจจะเข้ามาทำ MOU กับ กสทช.ของไทย ซึ่งในปี 2557 ประเทศเกาหลี มาเลเซีย และปากีสถาน ฯลฯ ได้ติดต่อเข้ามาแล้วว่าสนใจที่จะทำ MOU กับ กสทช. ของไทย

o จุดประกายแนวคิดการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศในกิจการโทรคมนาคมเพื่อรองรับ AEC

สำหรับความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเซียและอาเซียนในปี 2556 นั้น จากการที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม ITU-KCC Asia-Pacific Regulators’ Roundtable ณ สาธารณรัฐเกาหลี และได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรนำเสนอมุมมองในหัวข้อหลัก ก็คือ การคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ซึ่งตนได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความท้าทายของ Regulators ที่ กสทช. ไทยให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ที่ประชุมได้แสดงความสนใจอย่างมากต่อข้อแนะนำเกี่ยวกับ “7ต้อง” เพื่อให้ Regulators สามารถคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือ 1.ต้องเข้าใจพลวัตแห่งการหลอมรวมในแง่ของ
ผู้บริโภค 2.ต้องทำให้กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง 3.ต้องสร้างหลักประกันให้มีคลื่นความถี่ที่เพียงพอและเหมาะสม 4.ต้องสร้างสมดุลแก่ทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านนวัตกรรมแก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ 5.ต้องเปลี่ยน กฎ กติกา ที่ปฏิบัติไม่ได้และล้าสมัย เป็น กฎ กติกา ที่ทันสมัยและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.ต้องบูรณาการการดำเนินการกับกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ภารกิจในการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และ 7.ต้องร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์และสถานการณ์การหลอมรวมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมประชุมคณะมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมที่ประเทศอินโดนีเซียและประเทศเมียนมาร์ ซึ่งต่อมา กสทช.ของไทยก็ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัด ASEAN Workshop เรื่องการคุ้มครอง
ผู้บริโภคระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2556 ณ กรุงเทพฯ โดยตนได้ชี้ให้ชาติสมาชิกของอาเซียนให้ความสำคัญต่อการสร้างระบบการกำกับดูแลในอาเซียนและการนำเอาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการลดข้อขัดแย้งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ให้บริการมือถือ ทั้งนี้ได้ใช้โอกาสนี้นำร่องด้วยการเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมือถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยมีผู้แทนในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมไปถึง กสทช. ของอิตาลี และผู้เชี่ยวชาญในด้านคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอิตาลีได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ของ กสทช.ไทยอีกด้วย ซึ่งภายหลังจากที่ สำนักงาน กสทช. เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยฯอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2556 หรือเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น ก็สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความยากและซับซ้อนสำเร็จแล้วจำนวน 3 เรื่อง ซึ่ง 1 ใน 3 เรื่องนี้ มีกรณีที่ผู้ใช้บริการนำโทรศัพท์มือถือไปใช้ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย และถูกคิดค่าโรมมิ่งมูลค่ากว่า 1.3 ล้านบาท แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยฯก็สามารถยุติข้อพิพาทนี้ได้ภายในระยะเวลาอันสั้นและเป็นที่พึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

 http://www.naewna.com/business/83433

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.