Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่องรับสัญญาณดิจิทัล ปี 2557 มีมูลค่า 40,240-44,470 ล้านบาท // สปา-ฮาคูโฮโด ระบุ รวมมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านและการลงทุนของฝั่งโครงข่ายจะมีมูลค่ากว่า "แสนล้านบาท"


ประเด็นหลัก

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด จำกัด เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อในปี 2557 ที่จะเริ่มออกอากาศทีวีดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง จะทำให้เกิดการลงทุนมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นทุนการบริหารและผลิตคอนเทนท์ ทีวีดิจิทัล 24 ช่อง แม้ผู้ชนะบางรายจะมีช่องรายการบนแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว แต่จะมีการลงทุนอุปกรณ์ สตูดิโอ และการผลิตคอนเทนท์เพิ่มเติม

ประเมินว่าทีวีดาวเทียมช่องเอชดี จะต้องลงทุนด้านค่าบริหาร บุคลากร และการผลิตคอนเทนท์ปีละ 3,000 ล้านบาทต่อช่อง ขณะที่ช่องวาไรตี้ เอสดี ปีละ 2,000 ล้านบาทต่อช่อง ส่วนช่องข่าวและเด็ก ปีละ 1,500 ล้านบาทต่อช่อง รวม 24 ช่องมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 50,000 บาทต่อปี

ดังนั้น หากรวมต้นทุนค่าใบอนุญาตโครงข่ายที่ผู้ชนะการประมูลต้องจ่ายให้กับ กสทช. ตลอดในช่วง 6 ปีของเงื่อนไขการจ่ายรวมมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้าน และการลงทุนของฝั่งโครงข่ายจะมีมูลค่ากว่า "แสนล้านบาท"








จอทีวี-กล่องสะพัด 4 หมื่นล้าน

ขณะที่ภาคการรับชมทีวีดิจิทัล ผู้บริโภคจะต้องใช้อุปกรณ์รับสัญญาณดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีจูนเนอร์ระบบดิจิทัล DVB-T2 หรือกล่องรับสัญญาณดิจิทัล (Set Top Box) จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายสามารถผลิตหรือนำเข้าเครื่องรับโทรทัศน์และกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล เพื่อมารองรับความต้องการของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลดังกล่าวในปี 2557

ปัจจุบัน กสทช. ได้มีการทยอยรับรองมาตรฐานและอนุญาตให้จัดจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีจูนเนอร์ระบบดิจิทัลแบบ DVB-T2 ในตัว รวมถึงกล่องรับสัญญาณดิจิทัล ซึ่งทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อเครื่องรับโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณดิจิทัลมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับชมทีวีดิจิทัล และทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสามารถทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายได้อย่างเต็มที่ เช่น การให้คูปองส่วนลด การผ่อนนานโดยปราศจากดอกเบี้ย หรือแม้แต่การขายเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอนาล็อกพ่วงไปกับการขายกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล เพื่อเป็นการระบายเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าในสต็อก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิทัลและกล่องรับสัญญาณดิจิทัลโดยรวมในปี 2557 มีมูลค่า 40,240-44,470 ล้านบาท ขณะที่ปี 2556 มีมูลค่า 5,200 ล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มทยอยจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิทัลและกล่องรับสัญญาณดิจิทัลในช่วงไตรมาสสุดท้าย










































______________________________________

ทีวีดิจิทัลกระตุ้นลงทุนแสนล้าน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมสื่อปี 57 "ทีวีดิจิทัล" กระตุ้นลงทุนแสนล้าน หลังโกยเงินประมูล 5 หมื่นล้าน จับตาลงทุน "คอนเทนท์" ดึงบุคลากรดันต้นทุนพุ่ง


ไตรมาสแรก ปี 2557 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศไทยครั้งสำคัญรอบเกือบ 60 ปี จากการเริ่มต้นส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) เริ่มจากประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่กิจการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ประกอบไปด้วยช่องเอชดี 7 ช่อง วาไรตี้ 7 ช่อง ข่าว 7 ช่อง และช่องเด็ก 7 ช่อง อายุใบอนุญาต 15 ปี ซึ่งเปิดประมูลเมื่อวันที่ 26-27 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีผู้ร่วมประมูล 29 บริษัท จาก 22 กลุ่มธุรกิจ

ผลการประมูลทั้ง 2 วัน มี 17 กลุ่มธุรกิจชนะการประมูล มีวงเงินรวมมูลค่าการเสนอราคาทั้งหมด 50,862 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 234% จากมูลค่าราคาประมูลขั้นต้น ประกอบด้วย เอชดี 7 ช่อง รวมมูลค่า 23,700 เพิ่มขึ้น 124% ช่องวาไรตี้ 7 ช่อง รวมมูลค่า 15,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 500% ช่องข่าว 7 ช่อง รวมมูลค่า 9,238 เพิ่มขึ้น 500% และช่องเด็ก 3 ช่อง รวมมูลค่า 1,974 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 370%

มั่นใจผู้ชนะประมูลพร้อมลงทุน

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากผู้เข้าประมูลในแต่ละประเภทล้วนเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ระบบการแข่งขันเสรีตามกลไกตลาดในยุคเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยจากระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะมีช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้นจาก 6 ช่อง เป็น 24 ช่อง ซึ่งครัวเรือนไทยทั่วประเทศสามารถรับชมได้ฟรี

"การประมูลครั้งนี้ได้ผู้ที่มีความพร้อมและมีความต้องการอย่างแท้จริง ในการเป็นผู้ดำเนินกิจการโทรทัศน์ ด้วยต้นทุนราคาที่ผู้ชนะประมูลมั่นใจว่าสามารถประกอบกิจการอยู่รอดได้ตลอดอายุ 15 ปี ผลการประมูลครั้งนี้เป็นไปตามสมมติฐานในการจัดประมูล ที่เห็นการแข่งขันของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ อยู่บนพื้นฐานการลงทุนที่มีการวางแผนเพื่อสร้างธุรกิจทีวีดิจิทัล"

หลังจากจบกระบวนการประมูลในช่วงส่งท้ายปี บอร์ด กสท. จะพิจารณารับรองรายชื่อผู้ชนะการประมูลภายใน 15 วัน นับจากวันสิ้นสุดการประมูล จากนั้นได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ชนะประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขก่อนรับใบอนุญาตภายใน 45 วัน คือ การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 1 สัดส่วน 50% ของราคาขั้นต้นประมูลรายประเภทช่องรายการ และอีก 10% ของมูลค่าส่วนเกินการประมูล พร้อมวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินสำหรับค่าธรรมเนียมงวดที่สอง ภายใน 30 วัน คาดว่าผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลจะเริ่มออกอากาศได้ภายในเดือนก.พ. 2557

ลงทุนคอนเทนท์ 5 หมื่นล้าน

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด จำกัด เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อในปี 2557 ที่จะเริ่มออกอากาศทีวีดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง จะทำให้เกิดการลงทุนมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นทุนการบริหารและผลิตคอนเทนท์ ทีวีดิจิทัล 24 ช่อง แม้ผู้ชนะบางรายจะมีช่องรายการบนแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว แต่จะมีการลงทุนอุปกรณ์ สตูดิโอ และการผลิตคอนเทนท์เพิ่มเติม

ประเมินว่าทีวีดาวเทียมช่องเอชดี จะต้องลงทุนด้านค่าบริหาร บุคลากร และการผลิตคอนเทนท์ปีละ 3,000 ล้านบาทต่อช่อง ขณะที่ช่องวาไรตี้ เอสดี ปีละ 2,000 ล้านบาทต่อช่อง ส่วนช่องข่าวและเด็ก ปีละ 1,500 ล้านบาทต่อช่อง รวม 24 ช่องมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 50,000 บาทต่อปี

ดังนั้น หากรวมต้นทุนค่าใบอนุญาตโครงข่ายที่ผู้ชนะการประมูลต้องจ่ายให้กับ กสทช. ตลอดในช่วง 6 ปีของเงื่อนไขการจ่ายรวมมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้าน และการลงทุนของฝั่งโครงข่ายจะมีมูลค่ากว่า "แสนล้านบาท"

หวั่นต้นทุนธุรกิจสื่อพุ่ง

การเพิ่มขึ้นของทีวีดิจิทัลรวม 24 ช่องในปีหน้า ถือเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรง และอาจต้องเผชิญสภาวะการแย่งซื้อคอนเทนท์จากต่างประเทศเพื่อมาออกอากาศ รวมทั้งต้นทุนด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่องรายการข่าวที่ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ช่องละ 200 คน

นอกจากค่าใบอนุญาตตามราคาที่ผู้ประกอบการชนะประมูลแล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตยังมีต้นทุนเพิ่มอีก 4% ของรายได้ เป็นค่าธรรมเนียมจ่ายรายปีให้กับสำนักงาน กสทช. 2% และอีก 2% นำเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในช่วง 1-4 ปีแรกของการดำเนินธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการให้บริการช่องรายการทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ อาจจะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการบริหารด้านการเงิน เนื่องจากในช่วงแรกของการดำเนินงาน จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เช่น เงินลงทุนด้านการผลิตและจัดหารายการโทรทัศน์ การประมูลใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการรายปี ค่าเช่าโครงข่ายทั้งโครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินและทีวีดาวเทียมรายปี เป็นต้น

ขณะที่รายได้หลักจากค่าโฆษณาอาจยังไม่ได้มาอย่างเต็มที่ เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ค่อนข้างสูงดังกล่าว เนื่องจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ เอเยนซีโฆษณายังไม่มั่นใจในความนิยมหรือเรทติ้งในการรับชมรายการโทรทัศน์ในช่องรายการนั้นๆ เพราะเป็นรายการใหม่ ประกอบกับในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลนั้น การขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินยังไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้กลุ่มคนดูส่วนใหญ่อาจจะยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ช่องรายการฟรีทีวีเดิม

คนข่าวย้ายค่ายค่าแรงพุ่ง

นายสมชาย รังษีธนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า การขยายตัวของช่องทีวีดาวเทียม กลุ่มสถานีข่าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดความต้องการบุคลากรด้านข่าวจำนวนมาก เนื่องจากการบริหารสถานีข่าวจะต้องใช้บุคลากร 200-250 คน หลังจากประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่องเสร็จเรียบร้อย กลุ่มผู้ชนะประมูล ทุกประเภทช่องรายการ จะต้องเตรียมความพร้อมในการรับบุคลากรเพิ่มเติม ซึ่งก่อนหน้าการประมูลกลุ่มที่เข้าร่วมประมูลได้เตรียมความพร้อมในการรับบุคลากรไปแล้วจำนวนหนึ่ง

ขณะนี้ พบว่ามีการย้ายงานของกลุ่มบุคลากรข่าวในหลายช่อง อีกทั้งการรับบุคลากรในกลุ่มที่มีประสบการณ์ มีการเรียกเงินเดือนเพิ่มในอัตรา 20-50% จากระดับเงินเดือนปกติ ปัจจุบันบริษัทมีบุคลากรประมาณ 80-90 คน หลังจากเป็นหนึ่งในรายชื่อที่ชนะการประมูลทีวีดิจิทัล เตรียมรับบุคลากรเพิ่มเติมอีกประมาณ 50 คน

โครงข่ายลงทุน 1.4 หมื่นล้าน

นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทีวี บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า กำหนดการออกอากาศทีวีดิจิทัลในเดือน ก.พ. 2557 ของ กสทช. ทำให้ผู้ประกอบการโครงข่าย (Mux) ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. 4 ราย รวม 5 โครงข่าย ประกอบด้วย ไทยพีบีเอส, อสมท และกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับใบอนุญาตรายละ 1 โครงข่าย และกองทัพบก (ช่อง5) จำนวน 2 โครงข่าย ต่างเตรียมแผนลงทุนขยายสถานีส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ภาคพื้นดิน ใน 39 สถานีหลักและ 114 สถานีส่งสัญญาณเสริม ตามประกาศ กสทช.ที่กำหนดให้ขยายสถานีส่งสัญญาณครอบคลุมครัวเรือนไทยทั่วประเทศภายใน 4 ปี

คาดว่าแผนการลงทุนดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อยภายใน 2 ปี เท่านั้น เนื่องจากโครงข่ายต้องการเก็บค่าบริการที่เพดานสูงสุด สำหรับการขยายโครงข่ายได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

สำหรับแผนการลงทุนด้านการวางระบบและอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลทั่วประเทศของแต่ละโครงข่ายจะใช้งบลงทุนรวมโครงข่ายละ 3,000 ล้านบาท ขณะที่การลงทุน 2 โครงข่ายของช่อง 5 จะมีต้นทุนต่ำกว่า คือ อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท เพราะสามารถใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณร่วมกัน ดังนั้นคาดว่าการลงทุนรวมใน 5 โครงข่าย จะอยู่ที่ 13,500-14,000 ล้านบาท

จอทีวี-กล่องสะพัด 4 หมื่นล้าน

ขณะที่ภาคการรับชมทีวีดิจิทัล ผู้บริโภคจะต้องใช้อุปกรณ์รับสัญญาณดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีจูนเนอร์ระบบดิจิทัล DVB-T2 หรือกล่องรับสัญญาณดิจิทัล (Set Top Box) จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายสามารถผลิตหรือนำเข้าเครื่องรับโทรทัศน์และกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล เพื่อมารองรับความต้องการของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลดังกล่าวในปี 2557

ปัจจุบัน กสทช. ได้มีการทยอยรับรองมาตรฐานและอนุญาตให้จัดจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีจูนเนอร์ระบบดิจิทัลแบบ DVB-T2 ในตัว รวมถึงกล่องรับสัญญาณดิจิทัล ซึ่งทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อเครื่องรับโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณดิจิทัลมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับชมทีวีดิจิทัล และทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสามารถทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายได้อย่างเต็มที่ เช่น การให้คูปองส่วนลด การผ่อนนานโดยปราศจากดอกเบี้ย หรือแม้แต่การขายเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอนาล็อกพ่วงไปกับการขายกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล เพื่อเป็นการระบายเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าในสต็อก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิทัลและกล่องรับสัญญาณดิจิทัลโดยรวมในปี 2557 มีมูลค่า 40,240-44,470 ล้านบาท ขณะที่ปี 2556 มีมูลค่า 5,200 ล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มทยอยจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิทัลและกล่องรับสัญญาณดิจิทัลในช่วงไตรมาสสุดท้าย

ดูดงบโฆษณาฟรีทีวี-ดาวเทียม

นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปี 2556 อุตสาหกรรมซื้อสื่อโฆษณาคาดอยู่ที่ 3% หรือมีมูลค่ารวม 135,300 ล้านบาท ซึ่งรวมมูลค่าโฆษณาทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ส่วนแนวโน้มปี 2557 หลังทีวีดิจิทัลเริ่มออกอากาศ จะทำให้ภาพสื่อโทรทัศน์เปลี่ยนไป โดยเม็ดเงินโฆษณาจะไหลจากสื่อย่อยมาเพิ่มในสื่อโทรทัศน์ แต่ความสำเร็จของทีวีดิจิทัลขึ้นอยู่กับผังรายการและการตลาดของแต่ละผู้ประกอบการในการสร้างเรทติ้งผู้ชมให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม การที่ กสทช. กำหนดให้ช่องทีวีดิจิทัล จะต้องแพร่ภาพในทุกแพลตฟอร์มตาม หลักเกณฑ์ Must Carry ถือเป็นข้อดีที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านระบบทีวีอนาล็อกสู่ดิจิทัล ในปีแรกจะเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศทันทีกว่า 60% ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้สินค้าและเอเยนซีใช้งบโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล

ด้าน นายเขมทัตต์ มองว่าการออกอากาศของทีวีดิจิทัลในปี 2557 ที่มีฐานผู้ชมจากระบบเคเบิลและจานดาวเทียม และโครงข่ายภาคพื้นดิน อีกทั้งราคาขายแพ็คเกจโฆษณาที่อยู่ในอัตราต่ำกว่าฟรีทีวี เชื่อว่าช่วงแรกช่องทีวีดิจิทัล จะกำหนดอัตราค่าโฆษณาที่นาทีละ 1-2 แสนบาทในช่วงเวลาไพร์มไทม์ ถือเป็นราคาที่จูงใจกลุ่มผู้ซื้อโฆษณาทางช่องฟรีทีวี ในช่วงไพร์มไทม์ รวมทั้งช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิล ที่จะโยกงบโฆษณาจากสื่อกลุ่มดังกล่าวมาใช้ในช่องทีวีดิจิทัล

รวมทั้งอัตราค่าโฆษณาทีวีดิจิทัล ในระดับหมื่นบาทถึงแสนบาทต่อนาที จะช่วยขยายฐานผู้ลงโฆษณาได้กว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ไม่มีโอกาสใช้พื้นที่โฆษณาทางฟรีทีวีมาก่อน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20131230/553048/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.