26 ธันวาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สรุปผลการประมูลวันแรก!! HD (ช่อง 3) เสนอราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท ตามด้วยปราสาททองโอสถ,ช่อง7,ไทยรัฐ,MCOT,อมรินทร์-GMM // SD (เวิร์คพอยท์) 2,355 ล้านบาท ตามด้วยTRUE,(ช่อง 3),RS,MONO,NATION
ประเด็นหลัก
ผลสรุปการเสนอราคาผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง HD อย่างไม่เป็นทางการ คือบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท และบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (กลุ่มปราสาททองโอสถ) 3,460 ล้านบาท, บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด 3,370 ล้านบาท, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (เครือไทยรัฐ) 3,360 ล้านบาท, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 3,340 ล้านบาท, บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด 3,320 ล้านบาท และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 3,320 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งผู้เสนอราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาทนั้นสูงกว่าราคาตั้งต้นไป 2,020 ล้านบาท
กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลในช่วงเช้าทั้ง 9 รายนั้นในช่วง 10 นาทีแรกของการประมูลทุกรายมีการเสนอราคากันอย่างต่อเนื่อง และกลับมาเสนอราคากันอย่างดุเดือนอีกครั้งภายหลังก่อนปิดการประมูล 5 นาทีสุดท้ายจนมีการเปลี่ยนอันดับผู้ชนะการประมูล
ขณะเดียวกันการประมูลในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 16.30-17.30 น. เป็นการประมูลช่องทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ใบอนุญาต โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล 16 ราย ราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 380 ล้านบาท และเคาะเสนอราคาครั้งละ 5 ล้านบาท โดยสรุปผลการเสนอราคาผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง SD อย่างไม่เป็นทางการทั้ง 7 รายนั้นผู้เสนอราคาสูงสุดอยู่ที่การเสนอราคา 2,355 ล้านบาทสูงกว่าราคาตั้งต้นไปถึง 1,975 ล้านบาท คือบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพอยท์) เนื่องจากคาดการณ์ว่าพลาดการประมูลช่อง HD จนไม่ได้ใบอนุญาตไป ทำให้ต้องฮึดสู้เพื่อให้ได้ใบอนุญาตในประเภท SD
นอกจากนี้ยังมีบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด 2,315 ล้านบาท, บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 2,290 ล้านบาท, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3 ) 2,275 ล้านบาท, บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด 2,265 ล้านบาท, บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด (เครือกลุ่ม บมจ.จัสมิน) 2,250 ล้านบาท และ บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (เครือเนชั่น) 2,200 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตประเภทช่อง SD มีการเสนอราคากันอย่างดุเดือดใน 20 นาทีแรกของการประมูล จากนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวในการเสนอราคาอีกจนมาถึงช่วง 5 นาทีสุดท้ายได้มีกลับมาเสนอราคากันดุเดือดอีกครั้ง โดยเฉพาะอันดับที่ 7 และอันดับที่ 8 ซึ่งมีการสลับอันดับกันในช่วงวินาทีสุดท้ายของการประมูล ส่งผลทำให้อันดับที่ 8 ที่เดิมจะไม่ได้ใบอนุญาตแต่กลับมาพลิกชนะการประมูลเข้าเป็นรายสุดท้ายหรือรายที่ 7 ที่จะมีสิทธิรับใบอนุญาตประเภท SD นั้นเอง อีกทั้งยังมีผู้เข้าร่วมประมูลหนึ่งรายที่ทำการเสนอราคาเพียง 1 ครั้งหรือ 5 ล้านบาทเท่านั้นจากราคาเริมต้น 380 ล้านบาทซึ่งคาดการณ์ว่าไม่ต้องการโดนตัดสิทธิ์การประมูล
______________________________________
ทีวีดิจิตอลเดือด จบมูลค่ารวม3.9หมื่นล.
“ประมูลทีวีดิจิตอล”วันแรกดุเดือด ราคารวมกัน 2 ประเภท HD-SD มูลค่ารวมพุ่ง 39,650 ล้านบาท “ช่อง3” เคาะ HD สูงสุด 3,530 ล้านบาท ส่วน “เวิร์คพอยท์” เคาะ SD สูงสุด 2,355 ล้านบาทหลังพลาด HD ไป ด้าน“นที”ระบุราคาเกินกว่าที่ตนคาดการณ์ไว้ทั้งหมด
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าววานนี้ (26 ต.ค.) ภายหลังได้จัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ระหว่างวันที่ 26 – 27 ธ.ค.2556 สถานที่จัดการประมูลคืออาคาร CAT Tower บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บางรัก ซึ่งในวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ถือเป็นวันแรกของการประมูลโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงช่วงละ 1 ประเภทโดยในช่วงเช้าตั้งแต่ 11.00 - 12.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไปความคมชัดสูง (HD) ซึ่งมีใบอนุญาต 7 ใบ แต่มีผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาจำนวน 9 ราย โดยมีราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 1,510 ล้านบาท และเคาะครั้งละ 10 ล้านบาทตั้งแต่เวลา 11.00 - 12.00 น.
ผลสรุปการเสนอราคาผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง HD อย่างไม่เป็นทางการ คือบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท และบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (กลุ่มปราสาททองโอสถ) 3,460 ล้านบาท, บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด 3,370 ล้านบาท, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (เครือไทยรัฐ) 3,360 ล้านบาท, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 3,340 ล้านบาท, บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด 3,320 ล้านบาท และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 3,320 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งผู้เสนอราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาทนั้นสูงกว่าราคาตั้งต้นไป 2,020 ล้านบาท
ส่วนบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด เสนอราคาที่ 3,310 ล้านบาทซึ่งต่ำกว่าผู้ชนะรายสุดท้ายอยู่เพียง 10 ล้านบาทหรือ 1 เคาะเท่านั้น และบริษัท พี เอ็ม กรุ๊ป จำกัด เสนอราคาต่ำสุดที่ 3,000 ล้านบาทโดยทั้ง 2 บริษัทไม่ได้รับใบอนุญาตแต่อย่างใด โดยรวมมูลค่าการประมูล HD มีมูลค่ารวมถึึง 23,700 ล้านบาท
กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลในช่วงเช้าทั้ง 9 รายนั้นในช่วง 10 นาทีแรกของการประมูลทุกรายมีการเสนอราคากันอย่างต่อเนื่อง และกลับมาเสนอราคากันอย่างดุเดือนอีกครั้งภายหลังก่อนปิดการประมูล 5 นาทีสุดท้ายจนมีการเปลี่ยนอันดับผู้ชนะการประมูล
“ผลการประมูลที่ออกมาถือว่าเกินกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้ โดยเฉพาะช่อง HD ที่เดิมคาดว่าการประมูลจะอยู่ในช่วงราคา 2,500-3,000 ล้านบาท หรือมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 10% ซึ่งจากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการภาคเอกชนได้เล็งเห็นว่าธุรกิจโทรทัศน์มีอัตราการเติบโตที่ดีสามารถทำกำไรได้ ซึ่งในส่วนของต้นทุนที่นำมาใช้ในการประมูล เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายได้วางแผนมาเป็นอย่างดีแล้ว”
พ.อ.นที แสดงความเชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการมีการคำนวณในส่วนของงบประมาณที่สามารถดำเนินธุรกิจได้เอาไว้แล้วเช่นกัน ทั้งนี้ยังคงเชื่อว่าการประมูลในกลุ่มช่อง HD และ SD จะเป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่มีการสมยอมราคาหรือฮั้วประมูลอย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันการประมูลในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 16.30-17.30 น. เป็นการประมูลช่องทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ใบอนุญาต โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล 16 ราย ราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 380 ล้านบาท และเคาะเสนอราคาครั้งละ 5 ล้านบาท โดยสรุปผลการเสนอราคาผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง SD อย่างไม่เป็นทางการทั้ง 7 รายนั้นผู้เสนอราคาสูงสุดอยู่ที่การเสนอราคา 2,355 ล้านบาทสูงกว่าราคาตั้งต้นไปถึง 1,975 ล้านบาท คือบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพอยท์) เนื่องจากคาดการณ์ว่าพลาดการประมูลช่อง HD จนไม่ได้ใบอนุญาตไป ทำให้ต้องฮึดสู้เพื่อให้ได้ใบอนุญาตในประเภท SD
นอกจากนี้ยังมีบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด 2,315 ล้านบาท, บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 2,290 ล้านบาท, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3 ) 2,275 ล้านบาท, บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด 2,265 ล้านบาท, บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด (เครือกลุ่ม บมจ.จัสมิน) 2,250 ล้านบาท และ บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (เครือเนชั่น) 2,200 ล้านบาท
“ผลการประมูลที่ออกมาในประเภท SD ถือว่าเกินกว่าที่ตนคาดการณ์เอาไว้ ที่เดิมคาดว่าการประมูลจะอยู่ในช่วงราคา 1,500-2,000 ล้านบาทเท่านั้น”
ส่วนผู้เข้าร่วมประมูลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประเภทช่อง SD ในครั้งนี้มีด้วยกัน 9 รายประกอบด้วย บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด (ช่อง 7) ,บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด, บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ), บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท ทัช ทีวี จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (กลุ่มปราสาททองโอสถ)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตประเภทช่อง SD มีการเสนอราคากันอย่างดุเดือดใน 20 นาทีแรกของการประมูล จากนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวในการเสนอราคาอีกจนมาถึงช่วง 5 นาทีสุดท้ายได้มีกลับมาเสนอราคากันดุเดือดอีกครั้ง โดยเฉพาะอันดับที่ 7 และอันดับที่ 8 ซึ่งมีการสลับอันดับกันในช่วงวินาทีสุดท้ายของการประมูล ส่งผลทำให้อันดับที่ 8 ที่เดิมจะไม่ได้ใบอนุญาตแต่กลับมาพลิกชนะการประมูลเข้าเป็นรายสุดท้ายหรือรายที่ 7 ที่จะมีสิทธิรับใบอนุญาตประเภท SD นั้นเอง อีกทั้งยังมีผู้เข้าร่วมประมูลหนึ่งรายที่ทำการเสนอราคาเพียง 1 ครั้งหรือ 5 ล้านบาทเท่านั้นจากราคาเริมต้น 380 ล้านบาทซึ่งคาดการณ์ว่าไม่ต้องการโดนตัดสิทธิ์การประมูล
อย่างไรก็ดี บอร์ดกสท.จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง หรือประมาณวันที่ 6 ม.ค.2557 ซึ่งเป็นการประชุมบอร์ดกสท.นัดแรกหลังประมูลเสร็จ และจะเสนอผลต่อที่ประชุมบอร์ด กสทช. เพื่อรับทราบในวันที่ 15 ม.ค. 2557 จากนั้นจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และคาดว่าจะออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป
นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ 10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น
ขณะเดียวกันในวันนี้ (27 ธ.ค. 2556) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจโดยจะมีการประมูลอีก 2 ประเภทคือ ช่องประเภทข่าวสาร สาระ จำนวน 7 ใบอนุญาต มีราคาตั้งต้นที่ 220 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 2 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เวลา 8.00 – 14.00 น. โดยมีผู้เข้าร่วมเสนอราคา 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด, บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด (เดลินิวส์ ทีวี), บริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด, บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท โมโน เจนเนอเรชั่น จำกัด, บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด และบริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด
ส่วนในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน จะเป็นการประมูลประเภทช่องเด็ก ครอบครัว และเยาวชน จำนวน 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะครั้งละ 2 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เวลา 14.00 – 20.00 น. โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล 6 รายประกอบด้วย บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด และบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000158709&Keyword=SD
ไม่มีความคิดเห็น: