Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มกราคม 2557 ปี2556 ผู้บริหารย้ายค่ายอุตลุด ASUS ผู้บุกเบิกตลาด และสร้างแบรนด์จน พรเทพ วัชระอำนวย บอกอิ่มตัวย้ายไป Advice // HP วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ย้ายไป ซิสโก้


ประเด็นหลัก



ผู้บริหารย้ายค่ายอุตลุด

เป็นอีกปีที่ผู้บริหารย้ายค่ายอุตลุด เริ่มจาก "พรเทพ วัชระอำนวย" ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทไอทีสัญชาติไต้หวัน "เอซุส" ในฐานะผู้บุกเบิกตลาด และสร้างแบรนด์จน "เอซุส" มีที่ยืนอย่างแข็งแกร่งในไทย เจ้าตัวให้เหตุผลว่า อิ่มตัวต้องการไปทำธุรกิจส่วนตัว ล่าสุดโดดมาอยู่ค่ายค้าส่งค้าปลีกสินค้าไอที "แอดไวซ์"

ฟากคู่แข่ง "เอเซอร์" ก็เปลี่ยนครั้งใหญ่ เมื่อ "บุญชัย เงาวิศิษฎ์กุล" ผู้ปลุกปั้นเอเซอร์ในไทยลาออก เช่นกันกับ "วัตสัน ถิรภัทรพงศ์" อดีตผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจการพิมพ์และคอมพิวเตอร์ "เอชพี" ก็ย้ายไปนั่ง "ซิสโก้"

ฝั่งมือถือก็ไม่ต่างกันนัก "เอชทีซี" และ "แอลจี" ได้อดีตผู้บริหารที่คร่ำหวอดในวงการยาวนาน รายแรกได้ "พลณรงค์ วัฒนโพธิธร" อดีตผู้บริหารเอ็มลิ้งค์ แบรนด์ถัดมาก็เป็นมือเก๋าไม่แพ้กัน "อนุพันธ์ ภักดีศุภฤทธิ์"

______________________________________

สมรภูมิธุรกิจ "ไอที" ปี 2556 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว



จบปี 2556 ท่ามกลางสถานการณ์ร้อนในบ้านเมืองที่ยังไม่มีใครรู้ว่า ในปี 2557 อะไร ๆ จะดีขึ้นหรือลากยาวไปแค่ไหน "ประชาชาติธุรกิจ" ขอทำหน้าที่สรุปรวบยอดสิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจ "ไอซีที" ในบ้านเรา



ขาใหญ่ไอทีลุย สมาร์ทดีไวซ์Ž

บ่นกันมาตั้งแต่ต้นปีว่าโดนแย่งกำลังซื้อไปไม่น้อยจากโครงการรถคันแรกของรัฐบาล แถมด้วยความนิยมในอุปกรณ์ "สมาร์ทดีไวซ์" ทำให้ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเดสก์ทอปหรือโน้ตบุ๊กออกอาการย่ำแย่ไปตาม ๆ กัน โดยบริษัทวิจัยตลาด "ไอดีซี" เปิดเผยข้อมูลว่า ตลาดคอมพิวเตอร์พีซีในประเทศไทยปี 2556 นี้น่าจะติดลบ 10-15% มียอดขายรวมอยู่ที่ 3 ล้านเครื่อง บรรดาผู้ผลิตต่างปรับกระบวนรบกันจ้าละหวั่น โดย "เอเซอร์" ยักษ์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีสัญชาติไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้นำตลาดบ้านเราก็เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยการกระโดดเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟนตั้งแต่ต้นปีเรื่อยมา เบ็ดเสร็จแล้วมีสินค้าลงตลาดมากกว่า 40 รุ่น ยังไม่รวมแท็บเลตอีกหลายต่อหลายรุ่นหลายระดับราคา โดยตั้งเป้าว่าจะทำให้สมาร์ทดีไวซ์มีสัดส่วนรายได้ถึง 50% ของรายได้รวม

เช่นกันกับ "เอซุส" ที่ปรับโครงสร้างภายใน และกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เริ่มด้วยการรุกตลาด "เดสก์ทอป" ผ่านโปรเจ็กต์ภาครัฐ และการขยายฐานลูกค้ากลุ่ม "เกมเมอร์" พร้อมกับการขยับเข้าสู่ตลาดแท็บเลต "แอนดรอยด์" ด้วยเป้าหมายที่ 2

ฟากมังกรจีน "เลอโนโว" รุกหนักไม่แพ้ใคร ตามนโยบายบริษัทแม่ด้วยการขนทัพ "สมาร์ทโฟนและแท็บเลต" ลงตลาดตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมา โดย "จีรวุฒิ วงศ์พิมลพร" หัวเรือใหญ่เลอโนโว ประเทศไทยบอกว่า ทำยอดสมาร์ทดีไวซ์ได้มากกว่าพีซีถึง 3 เท่า และปีหน้าจะผลักดันให้มีสัดส่วนรายได้ถึง 30% ของรายได้รวม โดยต้องการมาร์เก็ตแชร์ในตลาดสมาร์ทโฟน 10% ภายใน 2 ปี และขึ้นเป็นที่ 1 ในตลาดแท็บเลตภายใน 2-3 ปีจากนี้

ค้าปลีกปรับทัพจ้าละหวั่น

อย่างที่รู้ว่าปีนี้ตลาดรวมไอทีไม่โตย่อมส่งผลกระทบต่อบรรดาร้านค้าปลีกชัดเจน ไล่มาตั้งแต่พี่ใหญ่ "ไอทีซิตี้" ที่บิ๊กบอส "เอกชัย ศิริจิระพัฒนา" ยอมรับตรงไปตรงมาว่า รายได้ในปีนี้คงทำได้น้อยกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน ขณะที่กำไรก็คงหดหายไปไม่น้อยเช่นกัน เพราะกำลังซื้อและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและผู้บริโภคที่หันมาใช้งานอุปกรณ์ที่เรียกว่า "สมาร์ทดีไวซ์" ซึ่งก็คือแท็บเลตและสมาร์ทโฟน

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ทำให้ "ไอทีซิตี้" ต้องนำสินค้าดังกล่าวมาขายในร้านด้วย แต่ต้องปรับรูปแบบการขยายสาขาให้มีขนาดเล็กลง เนื่องจากสินค้าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่ว่าจะซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกันนัก ดังนั้นร้านค้าปลีกจึงต้องทำอย่างไรให้เข้าใกล้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

"สุระ คณิตทวีกุล" ซีอีโอ "คอมเซเว่น" เจ้าของร้านบานาน่าไอที และไอสตูดิโอบายคอมเซเว่นบอกว่า ปีนี้ฝั่งไอทีค่อนข้างลำบากแม้จะเพิ่มสมาร์ทดีไวซ์ให้มากขึ้น แต่ผู้ซื้อยังเลือกซื้อในร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือ หรือกับโอเปอเรเตอร์มากกว่า

ใครปรับตัวได้ก็เจ็บตัวไม่มาก แต่ปรับไม่ทันก็ไปต่อไม่ไหวหรือต้องเก็บตัวเงียบเชียบรอวันฟื้น

"ไพโรจน์ ถาวรสภานันท์" หัวเรือใหญ่ เชนสโตร์ "ทีจีโฟน" บอกว่า การเปิดใช้3G ของค่ายมือถือ 3 ราย ทำให้ผู้บริโภคต้องการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันเกือบทุกคนต้องการเล่นอินเทอร์เน็ต และเชื่อมต่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่เครื่องลูกข่ายในระบบ 2G เดิมไม่สามารถทำได้ จึงต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ และเดิมสมาร์ทโฟนมีราคาแพง แต่ปีนี้ปรับลดลงเหลือต่ำสุด 2,500 บาท ส่งผลต่อตลาดรวมและบริษัทเองที่มีรายได้โตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20% หรือมีรายได้ประมาณ 9,000 ล้านบาท

อีคอมเมิร์ซ โตไม่ยั้ง

สำหรับตลาด "อีคอมเมิร์ซ" ไม่มีวี่แววว่าจะแผ่วแต่อย่างใด มีผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ เข้ามาสร้างสีสันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนยักษ์จากยุโรปกับการเข้ามาของเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์ "ลาซาด้า" (www.lazada.co.th) ที่มีความพร้อมทั้งเงินทุนและเครือข่าย (เครือเดียวกับ Zalora (เว็บขายสินค้าแฟชั่น) และ Foodpanda บริการสั่งอาหารออนไลน์) ล่าสุด ลาซาด้าเพิ่งย้ายสำนักงานใหญ่จากสิงคโปร์มาไทย พร้อมทั้งประกาศว่า หลังเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยได้เพียงปีเดียว ทำยอดขายเติบโตถึง 5 เท่า

นอกจากเม็ดเงินอัดฉีดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นขาช็อปออนไลน์แล้ว ยังเตรียมลงทุนสร้างเครือข่ายการจัดส่งสินค้า (โลจิสติกส์) ของตนเองโดยไม่ได้มองว่าจะให้บริการเฉพาะการส่งสินค้าที่ซื้อผ่านเว็บตนเองเท่านั้น แต่มองไปไกลถึงการให้บริการบริษัทอื่น ๆ ด้วย

ฟาก "ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" ผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ "ราคูเท็น ตลาดดอทคอม" ขาใหญ่ในวงการซื้อขายสินค้าออนไลน์บ้านเราฟันธงว่า ตลาดปีนี้เติบโต 20-30% และที่มาแรงและมีการใช้งานเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดคือ "โมบายคอมเมิร์ซ" และการขายของผ่าน "โซเชียลเน็ตเวิร์ก"

เฉพาะยอดขายบนเว็บไซต์ตลาดดอทคอมเติบโตถึง 42% ยอดสั่งซื้อเติบโต 117% มีจำนวนคนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 50% และจำนวนร้านค้าบนเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 46% โดยในช่วงปลายปีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน และในปีหน้าจะให้ความสำคัญกับช่องทางการซื้อขายผ่านโทรศัพท์มือถือยิ่งกว่าเดิม เนื่องจากมีสัดส่วนลูกค้าในเว็บไซต์ตลาดดอทคอมที่ซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือแล้ว 25%

ฟากขาใหญ่อีกราย "วีเลิฟช้อปปิ้ง" www.weloveshopping.com "มนสินี นาคปนันท์" ผู้จัดการทั่วไป ทรูไลฟ์ ค่ายทรู กล่าวว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย (B-to-C) น่าจะมีมูลค่าถึง 100,000 ล้านบาท (รวมบริการการเงินและการซื้อกองทุน) ขณะที่อีคอมเมิร์ซกลุ่มทรูมีเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 10,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 30% มีคนเข้ามาดูข้อมูลสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ 20% เป็นต่างชาติกว่า 20,000 คนต่อวัน จึงขยายฐานลูกค้าไปต่างประเทศชัดเจนในปีหน้า

ด้าน "ศิวัตร เชาวรียวงษ์" นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) ระบุว่า โฆษณาดิจิทัลในประเทศไทยน่าจะเติบโตกว่าปีที่แล้ว 50% หรือมีมูลค่า 4,500 ล้านบาท มีสัดส่วน 4% จากเม็ดเงินด้านการตลาดในไทย ซึ่งเจ้าของแบรนด์สินค้าส่วนใหญ่ต่างเห็นความสำคัญแต่ยังไม่ได้หันมาทำผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือเท่าที่ควร ขณะที่การเก็บสถิติของเว็บไซต์ใหญ่ ๆ ในไทยพบว่า ทั้งเว็บคอนเทนต์และอีคอมเมิร์ซมีการเข้าถึงจากโทรศัพท์มือถือ 30-60% ทำให้บางเว็บต้องหันมาออกแบบเว็บโดยมองการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือก่อน ต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิง

"อีกปัจจัยที่มีผลกับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือที่เกิดขึ้นแล้วในปีนี้ แต่ผลจะรุนแรงในปีหน้า คือสมาร์ทโฟนราคาถูก ถ้าไอโฟนเราพูดกันที่ 2 หมื่น ถูกลงมาก็ 7-8 พันบาท แต่ตอนนี้เอเซอร์ 2,590 บาท หรือแอลจีล่าสุด 3,000 กว่าบาท ยังไม่นับแบรนด์จีน ผลกระทบคือคนที่ไม่เคยใช้สมาร์ทโฟนมีโอกาสใช้แล้ว"

ผู้บริหารย้ายค่ายอุตลุด

เป็นอีกปีที่ผู้บริหารย้ายค่ายอุตลุด เริ่มจาก "พรเทพ วัชระอำนวย" ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทไอทีสัญชาติไต้หวัน "เอซุส" ในฐานะผู้บุกเบิกตลาด และสร้างแบรนด์จน "เอซุส" มีที่ยืนอย่างแข็งแกร่งในไทย เจ้าตัวให้เหตุผลว่า อิ่มตัวต้องการไปทำธุรกิจส่วนตัว ล่าสุดโดดมาอยู่ค่ายค้าส่งค้าปลีกสินค้าไอที "แอดไวซ์"

ฟากคู่แข่ง "เอเซอร์" ก็เปลี่ยนครั้งใหญ่ เมื่อ "บุญชัย เงาวิศิษฎ์กุล" ผู้ปลุกปั้นเอเซอร์ในไทยลาออก เช่นกันกับ "วัตสัน ถิรภัทรพงศ์" อดีตผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจการพิมพ์และคอมพิวเตอร์ "เอชพี" ก็ย้ายไปนั่ง "ซิสโก้"

ฝั่งมือถือก็ไม่ต่างกันนัก "เอชทีซี" และ "แอลจี" ได้อดีตผู้บริหารที่คร่ำหวอดในวงการยาวนาน รายแรกได้ "พลณรงค์ วัฒนโพธิธร" อดีตผู้บริหารเอ็มลิ้งค์ แบรนด์ถัดมาก็เป็นมือเก๋าไม่แพ้กัน "อนุพันธ์ ภักดีศุภฤทธิ์"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1388723915

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.