Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มกราคม 2557 (บทความ) "สมาร์ทดีไวซ์+ไวไฟ" เปิดช่อง ธุรกิจไล่เก็บข้อมูลเกาะติดชีวิตผู้บริโภค // ระบุ ข้อมูลดังกล่าวทำให้ร้านออกโปรโมชั่นเจาะจงไปยังลูกค้าแต่ละคนได้ แทนที่จะทำแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้


ประเด็นหลัก



"เดอะวอลล์ สตรีต เจอร์นัล" ยกตัวอย่างกรณี "ฟาน แซง" เจ้าของร้านอาหารสไตล์เอเชีย "แฮปปี้ไชด์" ในเมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ที่รู้ว่าลูกค้าในร้านกี่คนทำกิจกรรมอะไร และเดินทางไปไหนบ้างโดยไม่ต้องถามสักคำ แถมลูกค้าก็ไม่รู้ตัวว่า โดนเก็บข้อมูลตอนไหน เพราะเจ้าของร้านแฮปปี้ไชด์เป็นลูกค้า "เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" บริษัทอายุ 1 ปีที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับข้อมูลไว้ในร้านต่าง ๆ กว่า 200 แห่งภายในรัศมีหนึ่งกิโลเมตรของเมืองโทรอนโต เพื่อติดตามว่า เหล่านักช็อปมีพฤติกรรมการเดินทางอย่างไรบ้าง

อุปกรณ์เก็บข้อมูลเหล่านี้มีขนาดเท่าไพ่สำรับหนึ่ง มันคอยติดตามสัญญาณที่ส่งออกมาจากสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อเครือข่ายไวไฟได้ ทำให้วาดภาพนิสัยคร่าว ๆ ของคนทั่วไปกว่า 2 ล้านคนได้ว่า แต่ละวันไปไหนบ้าง เช่น เดินจากห้องฝึกโยคะไปร้านอาหาร ไปร้านกาแฟ หรือไปสนามกีฬา เป็นต้น

"ฟาน แซง" ยอมรับว่า ข้อมูลดังกล่าวทำให้ร้านออกโปรโมชั่นเจาะจงไปยังลูกค้าแต่ละคนได้ แทนที่จะทำแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้

"เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" เป็นรายแรก ๆ ที่เริ่มขยับในธุรกิจติดตามข้อมูลผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่ตนเองอยู่แทบตลอดเวลา บริษัทเกิดใหม่อย่าง "ยูคลิด อะนาไลติกส์" ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกาใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลวิเคราะห์รูปแบบการเดินเท้าของคนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่บริเวณใกล้เคียงร้านค้าปลีกต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า

ความสำเร็จของบริษัทสตาร์ตอัพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งนับวันยิ่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ

ปีที่แล้วบริษัทเวอไรซัน ไวร์เลส เริ่มประมวลข้อมูลสถานที่ของฐานลูกค้าเพื่อช่วยให้ร้านค้าปลีกรู้ว่า ลูกค้ามาจากย่านไหน ขับรถไปกินข้าวร้านใด ขณะที่"แอปเปิล"เพิ่งเปิดตัวเทคโนโลยี "ไอบีคอน" ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลซึ่งจะอ่านสัญญาณจากสมาร์ทโฟนของลูกค้าที่เข้ามาในร้านค้าปลีกได้

"เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" ถือเป็นผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในวงกว้าง ส่งผลให้พวกเขาติดตามได้ว่าคนทั่วไปอยู่ที่ไหน ทำงานที่ใด และเลือกช็อปปิ้งตรงไหน บริษัทจะรายงานข้อมูลให้ฐานลูกค้ารับทราบเป็นรายสัปดาห์ โดยบอกเป็นตัวเลขจำนวนลูกค้า แต่ไม่พ่วงชื่อผู้ที่โดนเก็บข้อมูลไปด้วย

บริษัทสามารถเก็บข้อมูลรายชื่อ, อายุ, เพศ และข้อมูลอื่น ๆ บนโซเชียลมีเดียได้จากคนที่เชื่อมต่อเข้าเฟซบุ๊กจากฟรีไวไฟที่เทิร์นสไตล์โซลูชั่นจัดเตรียมไว้ให้ตามร้านค้า ไล่ตั้งแต่ร้านอาหารทั่วไป, กาแฟ และร้านแฮปปี้ไชด์ และจะนำข้อมูลเหล่านี้มาผสานกับข้อมูลการเดินเท้าและวิเคราะห์ออกมาเป็นไลฟ์สไตล์ 12 แบบ เช่น กลุ่มที่ชอบเล่นโยคะ, กลุ่มชอบดูหนัง และกลุ่มฮิปสเตอร์ (พวกที่ชอบตามเทรนด์และแฟชั่น)

ในเวลาที่ธุรกิจกลุ่มนี้เริ่มเติบโตขึ้น การติดตามข้อมูลสถานที่ของลูกค้า จุดประเด็นให้เกิดความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะอาจมีการติดตามพฤติกรรมการเข้าพบแพทย์เฉพาะทางตามโรงพยาบาลแล้วนำข้อมูลไปจำหน่ายให้นักการตลาด




______________________________________

"สมาร์ทดีไวซ์+ไวไฟ" เปิดช่อง ธุรกิจไล่เก็บข้อมูลเกาะติดชีวิตผู้บริโภค



คอลัมน์ Click World



สมาร์ทดีไวซ์ติดตัวเราไปทุกหนแห่งเพราะตอบสนองการใช้งานได้ครบ ทั้งการงานและบันเทิง แต่สิ่งที่เรามักมองข้ามคือการที่เจ้าสมาร์ทดีไวซ์สุดฉลาดเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลในชีวิตประจำวันของเจ้าของเครื่อง เป็นช่องทางในการสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ให้ผู้ประกอบการที่หูไวตาไว

"เดอะวอลล์ สตรีต เจอร์นัล" ยกตัวอย่างกรณี "ฟาน แซง" เจ้าของร้านอาหารสไตล์เอเชีย "แฮปปี้ไชด์" ในเมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ที่รู้ว่าลูกค้าในร้านกี่คนทำกิจกรรมอะไร และเดินทางไปไหนบ้างโดยไม่ต้องถามสักคำ แถมลูกค้าก็ไม่รู้ตัวว่า โดนเก็บข้อมูลตอนไหน เพราะเจ้าของร้านแฮปปี้ไชด์เป็นลูกค้า "เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" บริษัทอายุ 1 ปีที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับข้อมูลไว้ในร้านต่าง ๆ กว่า 200 แห่งภายในรัศมีหนึ่งกิโลเมตรของเมืองโทรอนโต เพื่อติดตามว่า เหล่านักช็อปมีพฤติกรรมการเดินทางอย่างไรบ้าง

อุปกรณ์เก็บข้อมูลเหล่านี้มีขนาดเท่าไพ่สำรับหนึ่ง มันคอยติดตามสัญญาณที่ส่งออกมาจากสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อเครือข่ายไวไฟได้ ทำให้วาดภาพนิสัยคร่าว ๆ ของคนทั่วไปกว่า 2 ล้านคนได้ว่า แต่ละวันไปไหนบ้าง เช่น เดินจากห้องฝึกโยคะไปร้านอาหาร ไปร้านกาแฟ หรือไปสนามกีฬา เป็นต้น

"ฟาน แซง" ยอมรับว่า ข้อมูลดังกล่าวทำให้ร้านออกโปรโมชั่นเจาะจงไปยังลูกค้าแต่ละคนได้ แทนที่จะทำแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้

"เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" เป็นรายแรก ๆ ที่เริ่มขยับในธุรกิจติดตามข้อมูลผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่ตนเองอยู่แทบตลอดเวลา บริษัทเกิดใหม่อย่าง "ยูคลิด อะนาไลติกส์" ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกาใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลวิเคราะห์รูปแบบการเดินเท้าของคนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่บริเวณใกล้เคียงร้านค้าปลีกต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า

ความสำเร็จของบริษัทสตาร์ตอัพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งนับวันยิ่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ

ปีที่แล้วบริษัทเวอไรซัน ไวร์เลส เริ่มประมวลข้อมูลสถานที่ของฐานลูกค้าเพื่อช่วยให้ร้านค้าปลีกรู้ว่า ลูกค้ามาจากย่านไหน ขับรถไปกินข้าวร้านใด ขณะที่"แอปเปิล"เพิ่งเปิดตัวเทคโนโลยี "ไอบีคอน" ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลซึ่งจะอ่านสัญญาณจากสมาร์ทโฟนของลูกค้าที่เข้ามาในร้านค้าปลีกได้

"เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" ถือเป็นผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในวงกว้าง ส่งผลให้พวกเขาติดตามได้ว่าคนทั่วไปอยู่ที่ไหน ทำงานที่ใด และเลือกช็อปปิ้งตรงไหน บริษัทจะรายงานข้อมูลให้ฐานลูกค้ารับทราบเป็นรายสัปดาห์ โดยบอกเป็นตัวเลขจำนวนลูกค้า แต่ไม่พ่วงชื่อผู้ที่โดนเก็บข้อมูลไปด้วย

บริษัทสามารถเก็บข้อมูลรายชื่อ, อายุ, เพศ และข้อมูลอื่น ๆ บนโซเชียลมีเดียได้จากคนที่เชื่อมต่อเข้าเฟซบุ๊กจากฟรีไวไฟที่เทิร์นสไตล์โซลูชั่นจัดเตรียมไว้ให้ตามร้านค้า ไล่ตั้งแต่ร้านอาหารทั่วไป, กาแฟ และร้านแฮปปี้ไชด์ และจะนำข้อมูลเหล่านี้มาผสานกับข้อมูลการเดินเท้าและวิเคราะห์ออกมาเป็นไลฟ์สไตล์ 12 แบบ เช่น กลุ่มที่ชอบเล่นโยคะ, กลุ่มชอบดูหนัง และกลุ่มฮิปสเตอร์ (พวกที่ชอบตามเทรนด์และแฟชั่น)

ในเวลาที่ธุรกิจกลุ่มนี้เริ่มเติบโตขึ้น การติดตามข้อมูลสถานที่ของลูกค้า จุดประเด็นให้เกิดความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะอาจมีการติดตามพฤติกรรมการเข้าพบแพทย์เฉพาะทางตามโรงพยาบาลแล้วนำข้อมูลไปจำหน่ายให้นักการตลาด

"อีลอยส์ แกรตตอน" ทนายความด้านสิทธิส่วนบุคคลแสดงความเห็นว่า ข้อมูลสถานที่มีความหมายในตัวมันเอง นักการตลาดอาจตีความได้ว่าเจ้าของข้อมูลเป็นโรคอะไรจากการดูพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ส่วนบริษัทเก็บข้อมูลสถานที่ก็ดูข้อมูลได้ว่าเจ้าของข้อมูลไปหาหมอที่ไหน เมื่อนำข้อมูลสองส่วนมาผสมกันทำให้การคาดเดาโรคแม่นยำขึ้นไปอีก แต่ร้านที่ใช้บริการบริษัทเก็บข้อมูลเหล่านี้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ข้อมูลในมือพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลการแพทย์ ทั้งต้องการค่อย ๆ เก็บข้อมูลไปทีละเล็กละน้อย ไม่ให้ก้าวก่ายลูกค้ามากไป

ในแคนาดาผู้เก็บข้อมูลจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคเพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย ในสหรัฐอเมริกา บริษัทเก็บข้อมูลไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้บริโภค ทั้งแชร์ข้อมูลต่อให้ผู้อื่นได้ (รวมถึงเก็บข้อมูลชื่อบัญชีผู้ใช้งาน) แต่กำลังเกิดความเคลื่อนไหวเพื่อออกกฎหมายควบคุมการเก็บข้อมูลสถานที่จากผู้บริโภค (รวมถึงป้องกันไม่ให้นักพัฒนาแอปนำไปขายต่อให้นักการตลาด) ฝั่งผู้บริโภคเกิดความกังวลเช่นกัน

"อาจทิน" นักเรียน และลูกค้าร้านอาร์สแควร์คาเฟ่ ประหลาดใจเมื่อพบว่าการใช้ไวไฟในร้านกาแฟทำให้เทิร์นสไตล์โซลูชั่นเก็บข้อมูลการเคลื่อนที่ของเขา และนำข้อมูลเหล่านี้ไปส่งต่อให้เจ้าของกิจการอื่น ๆ

ทั้งผู้เก็บข้อมูลแจ้งเพียงว่า จะโดนเก็บบันทึกข้อมูลแต่ไม่ได้บอกว่าจะนำไปใช้ทำอะไร

บริษัทหน้าใหม่ "เวียเซ้นส์" ในโทรอนโตสร้างแฟ้มประวัติไลฟ์สไตล์ของคนทั่วไป โดยรวมข้อมูลสถานที่เข้ากับแหล่งข้อมูลอื่น รวมถึงข้อมูลจากบริษัทวิจัยการตลาด โดยเวียเซ้นส์ติดตามข้อมูลจากอุปกรณ์ 3-6 ล้านชิ้น/วัน ในรัศมี 400 กิโลเมตรรอบเมืองโทรอนโต ระบบเก็บข้อมูลลงลึกได้ถึงระดับตารางเมตรและระบุได้ว่า ผู้บริโภคที่เล่นกอล์ฟเป็นแค่ผู้เล่นชั่วครั้งชั่วคราวหรือขาประจำ (วัดจากจำนวนครั้งที่ไปสนามกอล์ฟ) หรือระบุว่าเจ้าของมือถือที่มักไปสวนสาธารณะตีห้าถึงแปดโมงเช้าเป็น "นักวิ่งยามเช้า"

"เวียเซ้นส์" เปิดเผยว่า ลูกค้าคือเชนร้านขายของชำ, เจ้าของสถานที่จัดคอนเสิร์ต และบริษัทป้ายบิลบอร์ด ซึ่งนำข้อมูลไปเทียบกับผู้จำหน่ายข้อมูลรายอื่น เช่น สรุปออกมาว่า เจ้าของมือถือเครื่องนั้นอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีฐานะร่ำรวยหรือไม่ ข้อมูลของเวียเซ้นส์ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล และชื่อของผู้บริโภครายนั้น ๆ

"มอสแซบ บาเซอร์" ซีอีโอเวียเซ้นส์กล่าวว่า ข้อมูลส่วนนี้เดาได้ไม่ยาก แค่หาจากการแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็รู้ได้แล้ว เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นประเด็นอ่อนไหวที่บริษัทต้องจัดการให้ดี

วิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ผู้บริโภครายนั้น ไม่โดนเก็บข้อมูลสถานที่ของตนเอง มี 2 แบบ แบบแรกคือ ปิดการใช้ไวไฟ แบบ 2 คือ เขียนคำร้องในเว็บไซต์ของบริษัทเก็บข้อมูลเหล่านี้ บริษัทอย่าง "เทิร์นสไตล์โซลูชั่น" มีตัวเลือกให้ผู้บริโภคปกป้องข้อมูลไม่ให้โดนบันทึกได้

น่าจับตา "กูเกิลและแอปเปิล" เจ้าของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส เพราะทั้งคู่รู้ตำแหน่งลูกค้าทุกคนที่ใช้โทรศัพท์รองรับการเชื่อมต่อไวไฟ แต่ยังไม่เคยปล่อยข้อมูลให้บุคคลภายนอกองค์กร


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390195037

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.