24 มกราคม 2557 AIS บุกตลาดไวร์บรอดแบนด์!! (ใช้กลยุทธสู่ TRUE 3BB TOT เรื่องคุณภาพปูพรมคาดส่วนแบ่ง10%ใน3ปี) // (เกาะติดประมูล4G) AIS ระบุคนใช้ต้องการใช้ 4G อาจจะเหลือแค่ 10% ของ 3G
ประเด็นหลัก
การรุกเข้าสู่ไวร์บรอดแบนด์ของเอไอเอส เริ่มจากการศึกษาวิจัยพบว่าลูกค้าไวร์บรอดแบนด์กับไวร์เลสบรอดแบนด์จะไม่มาทับซ้อนกัน และมีขีดความสามารถต่างกัน ไวร์เลสมีขีดความสามารถด้านโมบิลิตี ในขณะที่ไวร์บรอดแบนด์มีขีดความสามารถด้านสปีดและวอลุ่ม ซึ่งเอไอเอสจะไม่เอา 2 บริการนี้มาทับซ้อนกัน ฐานลูกค้าของไวร์บรอดแบนด์จะเป็นพวกอาคารสำนักงานทั้งหมด องค์กรธุรกิจ โฮมออฟฟิศ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ หมู่บ้าน แต่จะถามว่าหมู่บ้านไหน คอนโดฯ ไหนเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ก็ต้องมีการศึกษากันว่าสายที่มีอยู่ผ่านตรงไหน งานสำรวจของไวร์บรอดแบนด์ซึ่งไปตามบ้านจึงต้องใช้เวลามาก ซึ่งต่างจากไวร์เลสเมื่อตั้งเสาสัญญาณก็ไปถึงเลย โดยที่ไวร์บรอดแบนด์จะใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เพราะเอไอเอสมีไฟเบอร์ออปติก มีสถานีฐานอยู่ร่วม 2 หมื่นแห่งแล้ว กับบางส่วนที่เอไอเอสยกให้ทีโอที ซึ่งถ้าต้องการใช้ก็จะเช่ามาได้ เท่ากับไม่ได้เริ่มบริการจากศูนย์
“เราไม่ต้องการให้ทั้ง 2 บริการกินตลาดกันเอง แต่เราต้องการให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ของทั้ง 2 บริการที่แตกต่างกัน ลูกค้าของไวร์บรอดแบนด์จะมี 2 ประเภท คือที่เกิดใหม่อย่างคอนโดมิเนียม กับลูกค้าที่มีการใช้งานอยู่แล้ว แต่ต้องการสปีดที่เร็วขึ้น อย่างนักวิเคราะห์ต้องการการดาวน์โหลดข้อมูลที่เร็วขึ้น”
ผู้บริหารอินทัชมองว่า การที่เอไอเอสเพิ่งเปิดตัวเป็นผู้ให้บริการไวร์บรอดแบนด์ในช่วงนี้ไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่ช้ากว่ารายอื่น โดยมองว่าจำนวนลูกค้าที่มีอยู่เดิมเป็นหลักแสนรายจากจำนวนครัวเรือนโดยรวมในปัจจุบันหลักล้าน อีกทั้งเมื่อมองถึงอาคารสำนักงานที่เกิดขึ้นใหม่ เรียกได้ว่าตลาดที่เกิดใหม่ยังมีอีกมาก กับอีกตลาดที่ต้องการความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้นยังมีอีกมากเช่นกัน
'ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ดาวน์โหลดเท่านั้นแต่ต้องการอัปโหลดด้วย เราจะเสนอโปรโมชันในตลาดได้อย่างไรเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะสร้างความแตกต่างในตลาดให้เกิดขึ้น'
*** ลุยแหลกฟิกซ์บรอดแบนด์
จุดเริ่มต้นของการทำฟิกซ์บรอดแบนด์หรือไวร์บรอดแบนด์ในช่วงนี้ แทนที่จะเริ่มมาตั้งนานแล้ว เป็นเพราะก่อนหน้านี้เอไอเอสอาจยุ่งอยู่กับ 2G กับ 3G มากทำให้ไม่มีเวลากับเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นความต้องการของเอไอเอสที่จะทำบริการแต่ละอย่างให้ดีที่สุด ดีกว่าทำหลายๆเรื่องไปพร้อมๆ กัน แต่ในอดีตก็มีทำอยู่บ้างและมีลูกค้าเป็นหมื่นรายในชินบรอดแบนด์ “บัดดี้”
สำหรับฟิกซ์บรอดแบนด์เริ่มจากแนวคิดที่ว่าปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคการใช้งานดาต้าหรือบริโภคข้อมูลมากยิ่งขึ้น เอไอเอสจึงมีความต้องการขยายธุรกิจในส่วนฟิกซ์บรอดแบนด์มากยิ่งขึ้น โดยจะมีการตั้งทีมงานขึ้นมาแยกจากไวร์เลสเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ มีเป้าหมายทางการตลาดที่ชัดเจน ไม่ใช่เป็นงานฝากที่เอาไปฝากอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องการให้มีการทำงานที่เต็มที่
“จากปัจจุบันที่มีลูกค้าอยู่ประมาณ 1 หมื่นราย เราคาดว่าจะมีลูกค้าประมาณ 5 แสนรายภายใน 3 ปี (ถึงปี 2558) ซึ่งไม่ได้ทำแบบแมสคอนซูเมอร์ แต่จะจับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการเข้าถึงข้อมูลจริง ไม่ได้แค่ขายอินเทอร์เน็ตแข่งกัน แต่ต้องเป็นสายที่มีคุณภาพ ไม่ได้เป็นธุรกิจเหมือน 3BB หรือทรูออนไลน์ แต่เราเป็นโมบายล์โอเปอเรเตอร์ที่มีฟิกซ์บรอดแบนด์เป็นตัวเสริมให้ลูกค้าใช้ดาต้าคอนเวอร์เจนซ์ที่สมบูรณ์แบบ”
สมชัยกล่าวว่า ฟิกซ์บรอดแบนด์ที่เอไอเอสทำเป็นคนละตลาดกับที่ผู้เล่นรายอื่นอย่างทรู 3BB และทีโอทีให้บริการอยู่ โดยจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสปีดหรือความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงๆ โดยเอไอเอสหวังส่วนแบ่งในตลาดนี้ประมาณ 10% ภายใน 3 ปี
“ถ้าเราทำเน็ตเวิร์กโมบายล์ได้ดี เขาย่อมอยากได้ฟิกซ์บรอดแบนด์เราเช่นกัน เห็นได้ชัดจากการที่เราลากสายไปตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งก็มีการใช้งานจากรายเดิมอยู่แล้ว พบว่าส่วนใหญ่มีความต้องการใช้งานของเอไอเอส บวกกับอุปกรณ์เจ้าเดิมที่ลงไปเก่ามากแล้ว เทคโนโลยีในปัจจุบันเปลี่ยนไปมากแล้ว ยังไงก็ต้องเปลี่ยน ทำให้วันนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสม จากของเดิมส่วนใหญ่เป็น ADSL เรานำเสนอ VDSL หรือ ไฟเบอร์ทูโฮม ให้ลูกค้าตามความต้องการลูกค้า”
สมชัยกล่าวถึงอัตราค่าบริการว่าจะไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกกระทบกระเทือน ในทางกลับกันจะได้รับบริการที่ดีขึ้นมากกว่าและตลาดก็จะเกิดการแข่งขัน ซึ่งในส่วนนี้เอไอเอสจะใช้ความแข็งแกร่งของโมบายล์แอปพลิเคชันทั้งเน็ตเวิร์กและบริการซึ่งทำได้ดีมาเป็นจุดขาย ทำให้ลูกค้าอยากเปลี่ยนมาใช้บริการของเอไอเอส
“ฟิกซ์บรอดแบนด์จะอยู่ภายใต้บริการ SBN เราเชื่อว่าภายหลังผ่านช่วงการสร้างธุรกิจแล้ว ฟิกซ์บรอดแบนด์จะเป็นคีย์มาร์เกตติ้งของเอไอเอสตัวหนึ่ง”
** พร้อมเดินหน้า 4G เมื่อตลาดพร้อม
สมชัยกล่าวว่า 4G เป็นสิ่งที่เอไอเอสต้องทำอยู่แล้วสักวันหนึ่ง ซึ่งก็ต้องรอเรื่องคลื่นความถี่ เหมือนการเอาถนนใหม่มาทำ 4G วันนี้อาจมองว่าเอไอเอสเสียเปรียบคู่แข่งในเรื่องคลื่นความถี่ในภาพว่าไม่ได้ให้บริการ 4G เชิงพาณิชย์รายแรกเท่านั้น ซึ่งหากมองในเรื่องช่วงเวลา จริงๆ แล้วคิดว่ายังพอมีเวลาอยู่ เพราะ 4G เป็นแค่ความต้องการของลูกค้ากลุ่มหนึ่งเท่านั้น ถ้าเอไอเอสได้ความถี่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เชื่อได้ว่าเอไอเอสยังตามคนอื่นได้ทัน ในส่วนการลงทุนอาจไม่ได้มากถึง 9 หมื่นล้านเหมือน 3G คนที่ต้องการใช้ 4G อาจจะเหลือแค่ 10% ของ 3G (40 ล้าน) หรือประมาณ 10 ล้านเลขหมายก็ได้
______________________________________
ถอดรหัสเอไอเอสปี 2557
ถอดรหัสเอไอเอสปี 2557
สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น หรือ อินทัช (ซ้าย) และ สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด เอไอเอส (ขวา)
เปิดแนวคิด “สมประสงค์” ประธานอินทัช ยึดมั่น 8 แกนธุรกิจ 4 อุตสาหกรรมหลัก ไม่หวั่นประมูลทีวีดิจิตอลพลาด ไม่กระทบแผนธุรกิจที่วางไว้ ชูธงไวร์บรอดแบนด์ ภารกิจที่อยากเห็นเอไอเอสเป็น “โทเทิล เทเลคอม เซอร์วิส โพรวายเดอร์” ด้าน “สมชัย” ซีเอ็มโอ เอไอเอส ปั้นไวร์บรอดแบนด์ภายใต้ชื่อ “SBN” ตั้งเป้า 3 ปีลูกค้า 5 แสนราย เน้นตลาดพรีเมียม จับลูกค้าที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สร้างดาต้าคอนเวอร์เจนซ์สมบูรณ์แบบ
สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น หรืออินทัช กล่าวว่า ถึงแม้กลุ่มอินทัชประมูลทีวีดิจิตอลไม่ได้ แต่ก็คงไม่ต้องมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจที่ได้วางไว้ โดยแผนธุรกิจทั้ง 8 แนวทางหลักยังคงเดินหน้าต่อไป และมีความคืบหน้าไปมาก
“การที่กลุ่มอินทัชประมูลทีวีดิจิตอลไม่ได้ในคราวนี้เพราะเรามีขีดจำกัดของความต้องการที่วางไว้ จากการศึกษาและวิจัยมาก่อนหน้านี้แล้วว่าราคาที่รับได้ควรเป็นเท่าไร หากเกินจากนี้ก็ไม่ทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าในคราวต่อไปจะไม่สนใจ เมื่อมีโอกาสในครั้งต่อไปก็จะเข้าร่วมประมูล”
สำหรับแผนธุรกิจที่วางในปีที่ผ่านมาซึ่งประกอบด้วย 8 ส่วนธุรกิจ คือ 1. บริการ 3G ความถี่ 2.1GHz 2. การได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมประเภทที่ 3 จาก กสทช. 3. การสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยด้านธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคมและสื่อในฐานะเวนเจอร์ แคปปิตอล 4. ให้บริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิตอลในระบบคลาวด์คอมพิวติ้งกับลูกค้าองค์กรและบุคคลทั่วไป 5. เข้าร่วมในการประมูลทีวีดิจิตอล 6. บริการ 4G ความถี่ 1800MHz 7. ธุรกิจดิจิตอล คอนเทนต์ และ 8. ฟิกซ์บรอดแบนด์ หรือไวร์บรอดแบนด์ โดยทั้ง 8 ธุรกิจอยู่ใน 4 อุตสาหกรรม คือ โทรคมนาคม มีเดีย ไอที และดิจิตอล คอนเทนต์
ปัจจุบันทั้ง 8 สายงานมีความคืบหน้าไปมาก เริ่มจาก 3G 2.1GHz ดำเนินการไปด้วยดี ดาวเทียมไทยคม 6 ส่งแล้ว ส่วนไทยคม 7จะดำเนินการส่งในปีนี้เช่นกัน ส่วนเวนเจอร์แคปปิตอลก็ดำเนินการต่อเนื่อง ด้านคลาวด์คอมพิวติ้งกำลังจะเปิดตัว ส่วนดิจิตอลทีวีเมื่อประมูลไม่ได้ก็ยุติไว้ก่อนรอโอกาสในอนาคต ด้านดิจิตอลคอนเทนต์ก็เริ่มดำเนินการแล้วเพื่อให้เกิดธุรกิจนี้ขึ้นมา ในส่วน 4G คาดว่าปีนี้น่าจะมีการประมูลความถี่ 1800 MHz กับอีกส่วนธุรกิจที่มีความคืบหน้าไปมากคือฟิกซ์บรอดแบนด์ หรือไวร์บรอดแบนด์อยู่ในระหว่างการประกอบแผนธุรกิจ
“ถึงแม้เราไม่ได้ไลเซนส์ แต่ความต้องการทำดิจิตอลทีวีก็ยังคงอยู่ แต่คงต้องรอโอกาสในอนาคต ทุกอย่างยังเปิดกว้างแล้วแต่ละกรณีไป และยินดีศึกษาทุกเรื่อง โดยจะคงยึดอยู่ใน 4 อุตสาหกรรมที่วางไว้ตั้งแต่แรก ไม่แตกไปสู่ธุรกิจอื่น”
เขาเชื่อว่าดิจิตอลทีวีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ส่วน คือ 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนเพราะไม่เคยมีมาก่อน 2. การทำงาน ด้านคนปฏิบัติงานจะเปลี่ยนไป และ 3. พฤติกรรมคนจะเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่จะไม่ได้ดูทีวีผ่านจอทีวีอย่างเดียว แต่จะดูผ่านดีไวส์อื่นๆ จากการศึกษาพบว่าทีวีในบ้านก็ยังมีอยู่ แต่จะกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งไป คนจะดูทีวีผ่านโน้ตบุ๊ก ผ่านมือถือมากกว่าผ่านทางจอทีวี คนจะเริ่มไม่สนใจช่วงเวลาของทีวี หรือติดตามรายการตามช่วงเวลานั้นๆ แต่จะดูเมื่อมีเวลา โดยการโหลดผ่านยูทิวบ์ลงมาดู พฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ช่วงเปลี่ยนผ่านจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องติดตามในปีนี้ โดยเฉพาะในมุมผู้บริโภค
สมประสงค์กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่ามนุษย์เราต่อไปในอนาคตจะอยู่กับข้อมูลมากขึ้น จึงต้องการสปีดที่เร็วขึ้น ซึ่งข้อมูลก็ต้องมาพร้อมแอปพลิเคชัน โดยที่มาของข้อมูลมาได้ 2 ทาง คือ ทางคลื่นความถี่ กับมาทางสาย การที่มาทำไวร์บรอดแบรนด์เพราะเป็นเรื่องที่กลุ่มอินทัชมีโครงสร้างพื้นฐานอย่างไฟเบอร์ออปติก (เคเบิลใยแก้ว) อยู่แล้ว การหยิบยกสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นบริการจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย อยู่ที่ว่าจะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างไรในการนำเสนอเข้าให้ถึงตัวลูกค้า และในส่วนคอนเทนต์ก็มีการทำในระดับกลุ่มองค์กรอยู่แล้ว
“อยากให้เอไอเอสเป็นโทเทิล เทเลคอม เซอร์วิสโพรวายเดอร์ ขาหนึ่งทำไวร์บรอดแบนด์ อีกขาทำไวร์เลสบรอดแบนด์”
การรุกเข้าสู่ไวร์บรอดแบนด์ของเอไอเอส เริ่มจากการศึกษาวิจัยพบว่าลูกค้าไวร์บรอดแบนด์กับไวร์เลสบรอดแบนด์จะไม่มาทับซ้อนกัน และมีขีดความสามารถต่างกัน ไวร์เลสมีขีดความสามารถด้านโมบิลิตี ในขณะที่ไวร์บรอดแบนด์มีขีดความสามารถด้านสปีดและวอลุ่ม ซึ่งเอไอเอสจะไม่เอา 2 บริการนี้มาทับซ้อนกัน ฐานลูกค้าของไวร์บรอดแบนด์จะเป็นพวกอาคารสำนักงานทั้งหมด องค์กรธุรกิจ โฮมออฟฟิศ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ หมู่บ้าน แต่จะถามว่าหมู่บ้านไหน คอนโดฯ ไหนเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ก็ต้องมีการศึกษากันว่าสายที่มีอยู่ผ่านตรงไหน งานสำรวจของไวร์บรอดแบนด์ซึ่งไปตามบ้านจึงต้องใช้เวลามาก ซึ่งต่างจากไวร์เลสเมื่อตั้งเสาสัญญาณก็ไปถึงเลย โดยที่ไวร์บรอดแบนด์จะใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เพราะเอไอเอสมีไฟเบอร์ออปติก มีสถานีฐานอยู่ร่วม 2 หมื่นแห่งแล้ว กับบางส่วนที่เอไอเอสยกให้ทีโอที ซึ่งถ้าต้องการใช้ก็จะเช่ามาได้ เท่ากับไม่ได้เริ่มบริการจากศูนย์
“เราไม่ต้องการให้ทั้ง 2 บริการกินตลาดกันเอง แต่เราต้องการให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ของทั้ง 2 บริการที่แตกต่างกัน ลูกค้าของไวร์บรอดแบนด์จะมี 2 ประเภท คือที่เกิดใหม่อย่างคอนโดมิเนียม กับลูกค้าที่มีการใช้งานอยู่แล้ว แต่ต้องการสปีดที่เร็วขึ้น อย่างนักวิเคราะห์ต้องการการดาวน์โหลดข้อมูลที่เร็วขึ้น”
ผู้บริหารอินทัชมองว่า การที่เอไอเอสเพิ่งเปิดตัวเป็นผู้ให้บริการไวร์บรอดแบนด์ในช่วงนี้ไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่ช้ากว่ารายอื่น โดยมองว่าจำนวนลูกค้าที่มีอยู่เดิมเป็นหลักแสนรายจากจำนวนครัวเรือนโดยรวมในปัจจุบันหลักล้าน อีกทั้งเมื่อมองถึงอาคารสำนักงานที่เกิดขึ้นใหม่ เรียกได้ว่าตลาดที่เกิดใหม่ยังมีอีกมาก กับอีกตลาดที่ต้องการความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้นยังมีอีกมากเช่นกัน
'ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ดาวน์โหลดเท่านั้นแต่ต้องการอัปโหลดด้วย เราจะเสนอโปรโมชันในตลาดได้อย่างไรเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะสร้างความแตกต่างในตลาดให้เกิดขึ้น'
ถอดรหัสเอไอเอสปี 2557
จำนวนลูกค้าเอไอเอสล่าสุด
*** ถอดรหัสเอไอเอส
สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาดเอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสมีความมั่นใจอย่างมากในปีนี้ว่าจะมีเน็ตเวิร์ก 3G ที่ดีที่สุดของเมืองไทย ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสเท่ากับกลุ่มทรูแล้ว ทั้งๆ ที่ทรูทำมาก่อนเอไอเอส 2 ปี สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดในปีนี้คือเน็ตเวิร์ก 3G เอไอเอสจะดีเหมือนในยุค 2G หรือมีความครอบคลุม 97% ของพื้นที่ ซึ่งถือว่าดีมากแล้ว จากปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 70% คือทุกจังหวัด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่มีประเทศใดในโลกที่ทำได้ครอบคลุมพื้นที่ 100%
เมื่อเน็ตเวิร์กดีครอบคลุมพื้นที่ได้ตามต้องการแล้ว เรื่องต่อไปคือการนำเสนอต่อลูกค้าผู้ใช้บริการ ด้วยความเชื่อที่ว่าลูกค้ากว่า 40 ล้านเลขหมายมีความต้องการแตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านข้อมูล ดังนั้นต้องมีการนำเสนอตามเซกเมนต์ตามความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่การนำเสนอแค่การโทร.อย่างเดียว หรือการใช้ข้อมูลอย่างเดียว แต่ต้องมีแอปพลิเคชัน อื่นๆ ด้วย
“เรามั่นใจว่าเอไอเอสทำเรื่องนี้ได้ดีในลักษณะอีโคซิสเต็มส์ คือการดึงพาร์ตเนอร์เข้ามาร่วมธุรกิจกับเราได้ และมั่นใจว่าจะมีมากกว่าคู่แข่ง ในปีนี้เรามีคอนเทนต์บอลโลก โดยมีการจับมือกับ RS ในรูปแบบไลฟ์โมบายล์คอนเทนต์ถ่ายทอดทุกแมตช์บนมือถือ ดูผลบอลได้ ในส่วนบุ๊กสโตร์ที่เอไอเอสมีความแข็งแรงมาตั้งแต่แรก พวกนี้จะมีความหลากหลายในแอปพลิเคชันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เรายังมีความมั่นใจว่าจะมีบริการที่แปลกใหม่ออกมาอีกมาก อย่างโมบายล์แรบบิตจะเห็นการรุกตลาดมากขึ้น จากปีที่ผ่านมาเป็นแค่การเริ่มต้นบัตรใบเดียวใช้ประโยชน์ได้มาก เมื่อสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้จะได้ประโยชน์มาก”
ปัจจุบันเอไอเอสมีฐานลูกค้าประมาณ 40 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็น 3G จำนวน 16 ล้านเลขหมาย และ 2G จำนวน 24 ล้านเลขหมาย โดยในปีนี้คาดว่าจะมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านเลขหมายเป็น 3G ทั้งหมด รวมลูกค้าทั้งหมดประมาณ 44 ล้านเลขหมาย ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นลูกค้าในระบบ 3G จำนวน 33 ล้านเลขหมาย และ 2G จำนวน 11 ล้านเลขหมาย
กลยุทธ์ในการดูแลลูกค้าในปี 2557 คือการย้ายลูกค้าจาก 2G ไป 3G และการหาลูกค้าใหม่ 3G ปัจจุบันเอไอเอสมีลูกค้า 3G ประมาณ 16 ล้านเลขหมาย หลังจบปีนี้ลูกค้า 2G เดิมจะถูกย้ายมา 3G บวกกับลูกค้าใหม่ก็จะกลายเป็น 3G ทั้งหมด โดยสิ้นปีจะเหลือลูกค้า 2G อยู่จำนวนหนึ่ง โดยยังเหลือเวลาอีก 1 ปี ก่อนหมดสัญญาสัมปทานกับทีโอทีในปี 2558 แต่เอไอเอสตั้งใจทำให้เสร็จภายในปีนี้ อีก 1 ปีที่เหลือคือให้ลูกค้าปรับตัว โดยเชื่อว่าจะมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ยังอยากอยู่ใน 2G เดิม จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเยียวยาลูกค้ากลุ่มนี้ว่าเอไอเอสจะดูแลอย่างไรในปี 2558 เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน
การที่ลูกค้าจะเปลี่ยนมาใช้ 3G ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ การครอบคลุมของพื้นที่ต้องไปถึง ซึ่งปีนี้เอไอเอสจะทำให้ได้ 97% เป็นการตอบสนองได้อยู่แล้ว กับอีกส่วนคือความต้องการลูกค้า โดยส่วนนี้ก็จะตอบสนองได้จากการนำเสนอของเอไอเอส เช่น ถ้าต้องการใช้วอยซ์อย่างเดียวก็จะมีโปรโมชันวอยซ์อย่างเดียวนำเสนอเป็นการเชื้อเชิญเข้ามาใน 3G แต่ก็ต้องมีความพร้อมด้านตัวเครื่องโทรศัพท์ด้วย
สมชัยกล่าวว่า ด้านการลงทุนของเอไอเอสนั้นคาดว่าจะมีการลงทุน 7 หมื่นล้าน บวกกับอีก 2 หมื่นล้าน รวมเป็น 9 หมื่นล้านภายใน 3 ปี (2556-57-58) โดยคาดว่าภายในปี 2557 จะใช้เงินลงทุนในส่วนนี้หมด ซึ่งก็หมายถึงว่าภายในปีนี้อีก 4 หมื่นล้าน โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเน็ตเวิร์ก และอินฟราสตรักเจอร์ เช่น ไฟเบอร์ออปติก และขยายฟิกซ์บรอดแบนด์มากยิ่งขึ้น
*** ลุยแหลกฟิกซ์บรอดแบนด์
จุดเริ่มต้นของการทำฟิกซ์บรอดแบนด์หรือไวร์บรอดแบนด์ในช่วงนี้ แทนที่จะเริ่มมาตั้งนานแล้ว เป็นเพราะก่อนหน้านี้เอไอเอสอาจยุ่งอยู่กับ 2G กับ 3G มากทำให้ไม่มีเวลากับเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นความต้องการของเอไอเอสที่จะทำบริการแต่ละอย่างให้ดีที่สุด ดีกว่าทำหลายๆเรื่องไปพร้อมๆ กัน แต่ในอดีตก็มีทำอยู่บ้างและมีลูกค้าเป็นหมื่นรายในชินบรอดแบนด์ “บัดดี้”
สำหรับฟิกซ์บรอดแบนด์เริ่มจากแนวคิดที่ว่าปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคการใช้งานดาต้าหรือบริโภคข้อมูลมากยิ่งขึ้น เอไอเอสจึงมีความต้องการขยายธุรกิจในส่วนฟิกซ์บรอดแบนด์มากยิ่งขึ้น โดยจะมีการตั้งทีมงานขึ้นมาแยกจากไวร์เลสเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ มีเป้าหมายทางการตลาดที่ชัดเจน ไม่ใช่เป็นงานฝากที่เอาไปฝากอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องการให้มีการทำงานที่เต็มที่
“จากปัจจุบันที่มีลูกค้าอยู่ประมาณ 1 หมื่นราย เราคาดว่าจะมีลูกค้าประมาณ 5 แสนรายภายใน 3 ปี (ถึงปี 2558) ซึ่งไม่ได้ทำแบบแมสคอนซูเมอร์ แต่จะจับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการเข้าถึงข้อมูลจริง ไม่ได้แค่ขายอินเทอร์เน็ตแข่งกัน แต่ต้องเป็นสายที่มีคุณภาพ ไม่ได้เป็นธุรกิจเหมือน 3BB หรือทรูออนไลน์ แต่เราเป็นโมบายล์โอเปอเรเตอร์ที่มีฟิกซ์บรอดแบนด์เป็นตัวเสริมให้ลูกค้าใช้ดาต้าคอนเวอร์เจนซ์ที่สมบูรณ์แบบ”
สมชัยกล่าวว่า ฟิกซ์บรอดแบนด์ที่เอไอเอสทำเป็นคนละตลาดกับที่ผู้เล่นรายอื่นอย่างทรู 3BB และทีโอทีให้บริการอยู่ โดยจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสปีดหรือความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงๆ โดยเอไอเอสหวังส่วนแบ่งในตลาดนี้ประมาณ 10% ภายใน 3 ปี
การทำฟิกซ์บรอดแบนด์ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการเดินสายไฟเบอร์หลักจากจุดที่เอไอเอสมีอยู่แล้วสัก 1-3 กิโลเมตรไม่ไกลกว่านี้ ถ้าเป็นบ้านก็เดินไปที่นิติบุคคล และให้นิติบุคคลกระจายต่อ ฟิกซ์บรอดแบนด์จะเป็นทรานสปอร์ต ส่วนใครจะเอาอะไรมาใส่ก็ได้ และถึงแม้จะมีการใช้บริการจากรายอื่นอยู่แล้ว แต่มองว่าปัจจุบันความต้องการเข้าถึงข้อมูลมีมากขึ้นจากการใช้บริการผ่านโมบายล์ ความต้องการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วเมื่อใช้งานที่บ้านจึงเพิ่มขึ้นด้วย ช่องว่างทางการตลาดจึงยังมีอีกมาก
ฟิกซ์บรอดแบนด์จะอยู่ภายใต้ “SBN” ในแง่การทำงานเหมือน 3G ที่อยู่ภายใต้ “AWN” แต่ในแง่ลูกค้าแล้วจะมองว่าอยู่ภายใต้บริการของเอไอเอส โดยลักษณะการให้บริการจะไม่เน้นบริการลักษณะแมส ที่ไหนมีความต้องการถึงจะไปให้บริการ เพราะเอไอเอสมีไฟเบอร์ออปติกทั่วประเทศ โดยจะเน้นตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเป็นหลักมากกว่าการปูพรม
“ถ้าเราทำเน็ตเวิร์กโมบายล์ได้ดี เขาย่อมอยากได้ฟิกซ์บรอดแบนด์เราเช่นกัน เห็นได้ชัดจากการที่เราลากสายไปตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งก็มีการใช้งานจากรายเดิมอยู่แล้ว พบว่าส่วนใหญ่มีความต้องการใช้งานของเอไอเอส บวกกับอุปกรณ์เจ้าเดิมที่ลงไปเก่ามากแล้ว เทคโนโลยีในปัจจุบันเปลี่ยนไปมากแล้ว ยังไงก็ต้องเปลี่ยน ทำให้วันนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสม จากของเดิมส่วนใหญ่เป็น ADSL เรานำเสนอ VDSL หรือ ไฟเบอร์ทูโฮม ให้ลูกค้าตามความต้องการลูกค้า”
สมชัยกล่าวถึงอัตราค่าบริการว่าจะไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกกระทบกระเทือน ในทางกลับกันจะได้รับบริการที่ดีขึ้นมากกว่าและตลาดก็จะเกิดการแข่งขัน ซึ่งในส่วนนี้เอไอเอสจะใช้ความแข็งแกร่งของโมบายล์แอปพลิเคชันทั้งเน็ตเวิร์กและบริการซึ่งทำได้ดีมาเป็นจุดขาย ทำให้ลูกค้าอยากเปลี่ยนมาใช้บริการของเอไอเอส
“ฟิกซ์บรอดแบนด์จะอยู่ภายใต้บริการ SBN เราเชื่อว่าภายหลังผ่านช่วงการสร้างธุรกิจแล้ว ฟิกซ์บรอดแบนด์จะเป็นคีย์มาร์เกตติ้งของเอไอเอสตัวหนึ่ง”
** พร้อมเดินหน้า 4G เมื่อตลาดพร้อม
สมชัยกล่าวว่า 4G เป็นสิ่งที่เอไอเอสต้องทำอยู่แล้วสักวันหนึ่ง ซึ่งก็ต้องรอเรื่องคลื่นความถี่ เหมือนการเอาถนนใหม่มาทำ 4G วันนี้อาจมองว่าเอไอเอสเสียเปรียบคู่แข่งในเรื่องคลื่นความถี่ในภาพว่าไม่ได้ให้บริการ 4G เชิงพาณิชย์รายแรกเท่านั้น ซึ่งหากมองในเรื่องช่วงเวลา จริงๆ แล้วคิดว่ายังพอมีเวลาอยู่ เพราะ 4G เป็นแค่ความต้องการของลูกค้ากลุ่มหนึ่งเท่านั้น ถ้าเอไอเอสได้ความถี่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เชื่อได้ว่าเอไอเอสยังตามคนอื่นได้ทัน ในส่วนการลงทุนอาจไม่ได้มากถึง 9 หมื่นล้านเหมือน 3G คนที่ต้องการใช้ 4G อาจจะเหลือแค่ 10% ของ 3G (40 ล้าน) หรือประมาณ 10 ล้านเลขหมายก็ได้
“แนวคิดของเอไอเอสในการดำเนินธุรกิจก็ไม่ได้ต่างจากรายอื่น แต่จะต่างกันตรงที่ว่าใครขับเคลื่อนได้จริงและแตกต่างได้อย่างไรโดยลูกค้าจะเป็นคนตอบโจทย์ อย่างไปที่ไหนก็มีเครือข่ายใช้สะดวก โทร.เข้าหาคอลเซ็นเตอร์ก็มีคนรับไม่ต้องคอย เอไอเอสเชื่อว่าการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าได้จะประสบความสำเร็จในการทำตลาด บวกกับการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้าเห็นได้ว่าเมื่ออยู่กับเอไอเอสได้สิ่งเหล่านี้ ได้ในสิ่งที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นไม่สามารถตอบสนองได้”
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000008867
ไม่มีความคิดเห็น: