Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 กุมภาพันธ์ 2557 จาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรี(ศธ.) ชี้ (แท็บเล็ต)เซิ่นเจิ้น แจ้งขอยกเลิกสัญญาเหตุกลัวส่งของไม่ทัน,ความเข้าใจต่อทีโออาร์ (TOR) และสัญญาไม่ตรงกัน


ประเด็นหลัก


        นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปีการศึกษา 2556 กรณีบริษัทเซิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ที่ชนะการประมูลจัดซื้อแท็บเล็ตชั้น ป.1และ ม.1 โซน 1 ภาคกลางและภาคใต้ จำนวน 431,105 เครื่อง มูลค่า 842 ล้านบาท และโซน 2 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 373,637 เครื่อง เป็นเงิน 786 ล้านบาท วงเงินรวม วงเงิน 1,628 ล้านบาท ได้ทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาซื้อขายแท็บเล็ตโดยให้เหตุผลถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ความเข้าใจต่อทีโออาร์ (TOR) และสัญญาไม่ตรงกัน รวมถึงการติดต่อสื่อสารมีปัญหาอุปสรรค จนกระทั่งบริษัทส่งมอบของล่าช้า และถูกเรียกค่าปรับ ว่า ได้มอบให้คณะกรรมการตรวจรับแท็บเล็ต และคณะกรรมการจัดซื้อของ สพฐ. ไปทำการรวบรวมประมวลและวิเคราะห์บทเรียนจากการดำเนินการที่ผ่านมาทุกด้าน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ การจัดส่ง สเปกของเครื่อง ประโยชน์ของการใช้งาน โดยเฉพาะให้ไปดูเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ทีโออาร์ หลักเกณฑ์ในการประมูล และการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งในกรณีที่เป็นบริษัทต่างประเทศจะต้องมีหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติเช่นไรบ้าง ทั้งที่สอดคล้องกับหลักสากลและสร้างความมั่นใจว่าได้ผู้ขายผู้ผลิตที่ทำงานได้จริง

______________________________________

“อ๋อย” รับโครงการแท็บเล็ตล่มจริง ยันไร้ทุจริต



        “จาตุรนต์” ลั่น! กล้าพูดเต็มปากโครงการแท็บเล็ตไร้ทุจริต รับกระทบรัฐบาลในแง่นโยบายไม่สัมฤทธิผล แต่ปัญหาใหญ่เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

“อ๋อย” รับโครงการแท็บเล็ตล่มจริง ยันไร้ทุจริต
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (แฟ้มภาพ)

        นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปีการศึกษา 2556 กรณีบริษัทเซิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ที่ชนะการประมูลจัดซื้อแท็บเล็ตชั้น ป.1และ ม.1 โซน 1 ภาคกลางและภาคใต้ จำนวน 431,105 เครื่อง มูลค่า 842 ล้านบาท และโซน 2 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 373,637 เครื่อง เป็นเงิน 786 ล้านบาท วงเงินรวม วงเงิน 1,628 ล้านบาท ได้ทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาซื้อขายแท็บเล็ตโดยให้เหตุผลถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ความเข้าใจต่อทีโออาร์ (TOR) และสัญญาไม่ตรงกัน รวมถึงการติดต่อสื่อสารมีปัญหาอุปสรรค จนกระทั่งบริษัทส่งมอบของล่าช้า และถูกเรียกค่าปรับ ว่า ได้มอบให้คณะกรรมการตรวจรับแท็บเล็ต และคณะกรรมการจัดซื้อของ สพฐ. ไปทำการรวบรวมประมวลและวิเคราะห์บทเรียนจากการดำเนินการที่ผ่านมาทุกด้าน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ การจัดส่ง สเปกของเครื่อง ประโยชน์ของการใช้งาน โดยเฉพาะให้ไปดูเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ทีโออาร์ หลักเกณฑ์ในการประมูล และการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งในกรณีที่เป็นบริษัทต่างประเทศจะต้องมีหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติเช่นไรบ้าง ทั้งที่สอดคล้องกับหลักสากลและสร้างความมั่นใจว่าได้ผู้ขายผู้ผลิตที่ทำงานได้จริง
     
        นอกจากนี้ ให้ไปดูในประเด็นการประมูลจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชัน ครั้งใหม่ว่าควรจะให้เป็นหน่วยราชการเดียวแบบเดิม หรือจะแยกการประมูลของแต่ละหน่วยงาน เพราะการจัดซื้อแท็บเล็ตครั้งนี้มีของส่วนราชการอื่นด้วยประมาณ 7- 8 หน่วยงานที่เป็นเจ้าของงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ต้องประเมินมาให้ดีที่สุด และต้องรีบตัดสินใจบนพื้นฐานของการสรุปบทเรียน และป้องกันปัญหา
     
        “ที่ผ่านมาพูดได้เต็มปากว่าไม่มีปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน กรณีมีการทักท้วงก็หาทางตรวจสอบเพื่อให้หมดข้อสงสัย บางเรื่องที่เห็นว่าจะมีการทุจริตก็ระงับยับยั้ง ทำการตรวจสอบจนกระทั่งคณะกรรมการจัดซื้อฯ มีมติยกเลิกบางสัญญาไป แต่ก็ยังไม่เป็นผลเพราะมีข้อทักท้วงมาอีก เพราะฉะนั้น โดยรวมแล้วตลอดกระบวนการไม่มีการทุจริต และไม่มีข้อกล่าวหาเรื่องทุจริต แต่กลับพบปัญหาใหญ่คือความไม่สำเร็จในการจัดซื้อ เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดจากความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพของระบบการจัดซื้อจึงต้องไปดูกฎระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องทั้งหมดทำให้เกิดความเสียโอกาสต่อนักเรียนที่ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องสรุปบทเรียนให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้จัดซื้อ ผู้ตรวจรับ เป็นต้น ได้มาร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบต่อรัฐบาลอยู่บ้างในแง่นโยบายที่ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์แต่ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของนโยบาย แต่เกิดจากระบบการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ความล้มเหลวของการบริหารจัดการ ที่แม้ตนจะมาในช่วงหลังก็ต้องร่วมรับผิดชอบหาทางแก้ปัญหา เพราะฉะนั้น สพฐ.ต้องสรุปรายงาน และข้อเสนอเพื่อนำมาหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ซึ่งตั้งใจว่าจะต้องให้ได้ข้อสรุปทั้งหมด โดยเฉพาะการจัดประมูลแท็บเล็ตรอบใหม่ในโซนที่มีปัญหาทั้งหมด
     
        ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับเกณฑ์ให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการจัดซื้อเอง ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวว่า เป็นประเด็นหนึ่งที่สามารถจะคิดได้เพราะเดิมได้ดำเนินการจัดซื้อรวมมาแล้ว และต่อมามาแบ่งเป็นโซนเพื่อคำนึงถึงความสะดวกในการซ่อม ดังนั้น ตอนนี้ต้องชั่งน้ำหนักการรวมให้ สพฐ.ดำเนินการจัดซื้อให้ซึ่งทำให้องค์กรเล็กที่หากดำเนินการเองป่านนี้คงเสร็จไปแล้ว แต่ก็อาจจะเจอปัญหาจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่า การจัดซื้อราคาต่างกันจะได้หรือไม่ โดยทั้งหมดนี้ต้องมาหารือเพื่อหาข้อสรุปกัน

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000014124

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.