06 กุมภาพันธ์ 2557 "ริชาร์ด ไล" คอลัมนิสต์จากเว็บไซต์เอ็นแก็ดเจต ระบุ ผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็น Motorola ที่สามารถพึ่ง Lenovo นการกลับเข้าไปทำตลาดจีนอีกเพิ่มแต่ยังไม่สามารถล้ม Samsung ในจีนได้
ประเด็นหลัก
"ริชาร์ด ไล" คอลัมนิสต์จากเว็บไซต์เอ็นแก็ดเจตให้ข้อมูลว่า หากนำยอดส่งสินค้าสมาร์ทโฟนทั่วโลกของเลอโนโวและโมโตโรล่าในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีที่แล้ว มารวมกันจะพบว่า เลอโนโวจะกระโดดจากการเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 5 มาเป็นแบรนด์อันดับ 3 แซงหน้าแอลจี, โซนี่ และโนเกีย แต่ยังห่างชั้นจาก "ซัมซุงและแอปเปิล"
อย่างไรก็ดี ดีลครั้งนี้ไม่น่ามีส่วนช่วยให้ "เลอโนโว" รักษาส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 หรือโค่นแชมป์ซัมซุงลงในจีนได้เท่าใดนัก โดยเขาอธิบายว่าจุดยืนของโมโตโรล่าในจีนไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่าหลังกูเกิลซื้อไป แม้แต่สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุด "โมโตเอ็กซ์" ก็ไม่มีจำหน่ายในจีนด้วยซ้ำ
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็น "โมโตโรล่า" ที่สามารถพึ่ง "เลอโนโว" ในการกลับเข้าไปทำตลาดจีนอีกครั้งมากกว่า เพราะ "โมโตเอ็กซ์" ของ "โมโตโรล่า" มีดีอยู่แล้วทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เหนือกว่าคู่แข่งในจีน ทั้งให้ลูกค้าเลือกวัสดุโทรศัพท์ด้วยตนเองในราคาค่าตัวที่ไม่สูงมากด้วย
เว็บไซต์ "ออล ติง ดิจิทัล" ในเครือ "เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" มองว่า ดีลนี้จะโดนตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากภาครัฐของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสัญญานี้เกี่ยวกับการขายสินทรัพย์อุปกรณ์โทรคมนาคมให้บริษัทสัญชาติจีนที่รัฐบาลจีนมีส่วนช่วยหนุนหลังอีกต่างหากแม้ทั้งกูเกิลและ
เลอโนโวจะออกมาแสดงความมั่นใจว่า ดีลนี้จะผ่านการตรวจสอบทางกฎหมายแน่นอน แต่วงในกลับมองว่าคงไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเจ้าพนักงานที่ดูแลด้านกฎหมายในกรุงวอชิงตันมองทุนจากจีนที่เข้ามาลงทุนกับบริษัทในสหรัฐอเมริกาด้วยความสงสัยอยู่แล้วยิ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมยิ่งแล้วใหญ่
______________________________________
มังกรจีน "เลอโนโว" ผงาด รับช่วงซื้อ "โมโตโรล่า" จากกูเกิล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์ Click World
หลังซื้อธุรกิจโน้ตบุ๊ก "ทิงค์แพด" ของ "ไอบีเอ็ม" ไปแล้วรอบหนึ่ง คราวนี้บริษัทไอทีสัญชาติจีน
"เลอโนโว" เขย่าวงการไอทีอีกครั้งกับการทำสัญญาซื้อธุรกิจโทรศัพท์มือถือ "โมโตโรล่า" จากยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นโลก
"กูเกิล" ในราคาที่ถูกแสนถูก (ถูกกว่าราคาที่กูเกิลซื้อมาถึง 4 เท่า)
เว็บไซต์แอนดรอยด์ คอมมิวนิตี้ รายงานเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2557 ที่ผ่านมาว่า ธุรกิจโทรศัพท์มือถือของโมโตโรล่า ได้กลายเป็นของเลอโนโวอย่างเป็นทางการแล้ว
หลังมังกรจีนรายนี้ทำสัญญาซื้อจาก "กูเกิล" ในมูลค่า 2,910 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยต้องจ่ายเงินสดเป็นเงิน 1,410 ล้านเหรียญสหรัฐ ในทันทีที่สัญญาเสร็จสิ้น อีก 660 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินสด และ 750 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นหุ้นเลอโนโว ส่วนที่เหลือจะทยอยจ่ายภายใน 3 ปีจากนี้ มีการเปิดเผยดีลนี้ในเวลาไล่เลี่ยกับดีลซื้อธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ "ไอบีเอ็ม" ของ "เลอโนโว"
แฟน ๆ โทรศัพท์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง "กูเกิล และโมโตโรล่า" อาจต้องผิดหวังความสัมพันธ์ของทั้งคู่ที่มีอันต้องสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ตามดีลนี้ยังคงต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติทางกฎหมาย, การสรุปเงื่อนไข และการรับรองอื่น ๆ อีกไม่น้อย ขณะที่กูเกิลยังคงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรส่วนใหญ่ของโมโตโรล่า (มีประมาณ 23,000 สิทธิบัตรทั่วโลก) "กูเกิล" มอบ 2,000 สิทธิบัตรให้เลอโนโว และใช้วิธีอนุญาตให้เลอโนโวนำสิทธิบัตรอื่น ๆ ไปใช้ได้
ซึ่ง "เลอโนโว" บอกว่าจะรับทีมวิศวกรของโมโตโรล่า 2,800 คนจากทั่วโลก มาไว้ในอ้อมกอดอีกด้วย
"หยาง หยวนควิง" ประธานและซีอีโอ "เลอโนโว" ระบุว่า การซื้อแบรนด์ที่มีชื่อเสียง มีสายผลิตภัณฑ์ของตนเอง และมีทีมงานทั่วโลกที่มีความสามารถ จะช่วยให้เลอโนโวแข็งแกร่งมากขึ้นในตลาด
สมาร์ทโฟนโลก และบริษัทมั่นใจว่าจะนำข้อดีของทั้งคู่มาเสริมซึ่งกันและกันได้ ดังที่ทำมาแล้วกับ "ทิงค์แพด" ของไอบีเอ็ม ซึ่งจะทำให้ทั้งโมโตโรล่าและเลอโนโวมีจุดยืนที่แข็งแกร่งด้วยกันในอนาคต
"ลาร์รี่ เพจ" ซีอีโอ "กูเกิล" แสดงความเห็นว่า เลอโนโวมีความเชี่ยวชาญและมีผลงานทำให้เชื่อได้ว่า บริษัทจะผลักดันโมโตโรล่าโมบิลิตี้เป็นผู้เล่นรายหลักในตลาดสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ได้อีกครั้ง และเปิดโอกาสให้กูเกิลทุ่มเทความตั้งใจไปยังการพัฒนาระบบนิเวศของแอนดรอยด์ทั่วโลกแทน
"เดนนิส วูดไซด์" ซีอีโอ "โมโตโรล่า"กล่าวว่า ดีลนี้ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในบริษัท โมโตโรล่ายังให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมและการเข้าถึงฐานผู้ใช้งาน 100 ล้านคนทั่วโลกเช่นเดิม
เว็บไซต์ "ซีเน็ต" วิเคราะห์ว่า ดีลนี้น่าจะสร้างความปวดหัวให้แอปเปิลอย่างแน่นอน เนื่องจากช่วงที่กูเกิลยังเป็นเจ้าของ
โมโตโรล่า ต้องเสียทั้งเงินและส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกูเกิล และผู้ผลิตสมาร์ทโฟน "แอนดรอยด์" รายอื่นเริ่มตึงเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะกับ "ซัมซุง" ทำให้มีผู้ผลิตหลายรายหันไปสร้างซอฟต์แวร์และบริการของตนเองแทนการใช้ "แอนดรอยด์" แต่สถานการณ์กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะหลังจากนี้
"กูเกิล" จะกลับไปจดจ่อกับสิ่งที่ตนถนัดอีกครั้ง คือการพัฒนาระบบปฏิบัติการให้ดียิ่งขึ้น และหันมาเยียวยาความสัมพันธ์กับผู้นำตลาดแอนดรอยด์อย่าง "ซัมซุง" โดยผสานบริการบนแอนดรอยด์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น
แน่นอนว่าคงทำให้ "แอปเปิล" แย่งฐานลูกค้าได้ลำบากกว่าเดิม
"กูเกิล" ยังไม่ใช่คู่แข่งเพียงรายเดียวที่ "แอปเปิล" ต้องกังวล เพราะ "ซัมซุง" คือศัตรูตัวฉกาจในตลาดสมาร์ทโฟน เมื่อ "เลอโนโว" ผสานกับ "โมโตโรล่า" เข้ามาร่วมวงอีกรายยิ่งมีความเสี่ยงว่า คู่แข่งจากจีนรายนี้จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดอีกไม่น้อย แม้จะไม่เห็นผลแบบฉับพลันทันใด แต่อย่าลืมว่าเลอโนโวทำผลงานได้ดีทุกครั้ง ไม่ว่าจะกระโจนเข้าไปในตลาดใดก็ตาม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเข้าไปซื้อธุรกิจพีซีของ "ไอบีเอ็ม" ทำให้เลอโนโวกลายเป็นแบรนด์ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้
ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟน "เลอโนโว" ยังมีอัตราการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
ข้อมูลจาก "สแตรติจี้อะนาไลติกส์" ระบุว่า ปีที่แล้วขยับตัวเองขึ้นมาเป็นแบรนด์อันดับ 2 ในจีน ในแง่ยอดขาย และขึ้นจากอันดับ 8 ในปี 2554 ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดในจีนของ "แอปเปิล" ถดถอยลง ทั้งยังไม่มีผลิตภัณฑ์สำหรับจับตลาดสมาร์ทโฟนระดับล่างด้วย
"ริชาร์ด ไล" คอลัมนิสต์จากเว็บไซต์เอ็นแก็ดเจตให้ข้อมูลว่า หากนำยอดส่งสินค้าสมาร์ทโฟนทั่วโลกของเลอโนโวและโมโตโรล่าในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีที่แล้ว มารวมกันจะพบว่า เลอโนโวจะกระโดดจากการเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 5 มาเป็นแบรนด์อันดับ 3 แซงหน้าแอลจี, โซนี่ และโนเกีย แต่ยังห่างชั้นจาก "ซัมซุงและแอปเปิล"
อย่างไรก็ดี ดีลครั้งนี้ไม่น่ามีส่วนช่วยให้ "เลอโนโว" รักษาส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 หรือโค่นแชมป์ซัมซุงลงในจีนได้เท่าใดนัก โดยเขาอธิบายว่าจุดยืนของโมโตโรล่าในจีนไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่าหลังกูเกิลซื้อไป แม้แต่สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุด "โมโตเอ็กซ์" ก็ไม่มีจำหน่ายในจีนด้วยซ้ำ
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็น "โมโตโรล่า" ที่สามารถพึ่ง "เลอโนโว" ในการกลับเข้าไปทำตลาดจีนอีกครั้งมากกว่า เพราะ "โมโตเอ็กซ์" ของ "โมโตโรล่า" มีดีอยู่แล้วทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เหนือกว่าคู่แข่งในจีน ทั้งให้ลูกค้าเลือกวัสดุโทรศัพท์ด้วยตนเองในราคาค่าตัวที่ไม่สูงมากด้วย
เว็บไซต์ "ออล ติง ดิจิทัล" ในเครือ "เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" มองว่า ดีลนี้จะโดนตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากภาครัฐของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสัญญานี้เกี่ยวกับการขายสินทรัพย์อุปกรณ์โทรคมนาคมให้บริษัทสัญชาติจีนที่รัฐบาลจีนมีส่วนช่วยหนุนหลังอีกต่างหากแม้ทั้งกูเกิลและ
เลอโนโวจะออกมาแสดงความมั่นใจว่า ดีลนี้จะผ่านการตรวจสอบทางกฎหมายแน่นอน แต่วงในกลับมองว่าคงไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเจ้าพนักงานที่ดูแลด้านกฎหมายในกรุงวอชิงตันมองทุนจากจีนที่เข้ามาลงทุนกับบริษัทในสหรัฐอเมริกาด้วยความสงสัยอยู่แล้วยิ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมยิ่งแล้วใหญ่
การขายสินทรัพย์ของบริษัทสัญชาติสหรัฐให้นักลงทุนต่างชาติในกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมาธิการการลงทุนจากต่างชาติ (CFIUS) ซึ่งคณะกรรมาธิการกลุ่มนี้จะเข้ามาตรวจสอบดีลการซื้อขายโมโตโรล่าระหว่างกูเกิลและเลอโนโว
โดยปีที่ผ่านมา CFIUS อนุมัติให้ "ซอฟต์แบงก์" จากญี่ปุ่น ซื้อบริษัทโทรคมนาคมสปรินต์เน็กซ์เทลคอร์ปของสหรัฐ ได้ตามเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ธุรกิจสปรินต์เคลียร์ไวร์ต้องยุติการส่งซัพพลายสินค้าให้หัวเว่ยของจีน เป็นต้น
"พอล กาลแลนท์" นักวิเคราะห์ด้านนโยบาย บริษัทกักเกนไฮม์ พาร์ตเนอร์ส แสดงความเห็นว่า การที่เลอโนโวเป็นบริษัทจีนทำให้หน่วยงานรัฐของอเมริกาต้องเข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียดยิบ หากเป็นบริษัทอื่นคงไม่โดนตรวจสอบขนาดนี้ แต่เชื่อว่าในท้ายที่สุด เรื่องนี้อาจไม่ได้เป็นปัญหาหนักหนาอย่างที่หลายฝ่ายกังวล
หลังจาก "กูเกิล" ซื้อส่วนธุรกิจมือถือของโมโตโรล่า มูลค่า 12,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2555 แบรนด์มือถือ
"โมโตโรล่า" กลับมาเป็นเป้าสายตาอีกครั้ง ซึ่งสายผลิตภัณฑ์ "โมโตเอ็กซ์" และ "โมโตจี" เกิดจากความร่วมมือของทั้งคู่ ถือเป็นสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่ได้รับเสียงวิจารณ์ค่อนข้างดี แต่โมโตโรล่า
ยังต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนไม่กระเตื้องเท่าไร
การที่ "กูเกิล" ขายโมโตโรล่า ในราคาเพียง 1 ใน 4 จากราคาที่ซื้อมา อาจไม่ได้หมายความว่าต้องขาดทุน 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะสิทธิบัตรส่วนใหญ่ยังอยู่ที่กูเกิล จึงยังน่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391667925
ไม่มีความคิดเห็น: