Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กุมภาพันธ์ 2557 กสท. ชงกฤษฎีกาตีความอำนาจ การออกประกาศคุมเนื้อหา เกรงการออกประกาศอาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ


ประเด็นหลัก



“เมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ ถึง กสทช. เรื่องการออก(ร่าง)ประกาศ กสทช.ควบคุมเนื้อหารายการ ว่า ไม่มีอำนาจในการจัดทำร่างประกาศฯ เนื่องจากอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย (อ่านความเห็น คปก.เพิ่มเติมได้ที่นี่) ซึ่ง กสท. ได้พิจารณาและมีมติส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความทางกฎหมายต่ออำนาจ และขอบเขตการออกประกาศกำกับเนื้อหาฉบับนี้ เพื่อความรอบคอบต่อการใช้อำนาจของ กสทช.ที่อาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรายใหม่ 24 ช่อง และสื่อวิทยุ – ทีวี จึงขอฝากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบและติดตาม พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับแนวความคิดเรื่องเสรีภาพสื่อกันต่อ เพราะดูเหมือนว่าอาจจะมีการนำร่างประกาศฉบับเดิมที่วิชาชีพสื่อ และนักวิชาการเคยคัดค้านกลับมาเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง”





______________________________________

จับตาวาระ กสท. ครั้งที่ 5/57 : ชงกฤษฎีกาตีความอำนาจ การออกประกาศคุมเนื้อหาและอื่นๆ

กสท.กสทช.จับตาวาระกสท.สุภิญญา กลางณรงค์


อนุฯเนื้อหาเสนอทบทวนมติ กสท. ชงกฤษฎีกาตีความอำนาจ การออกประกาศคุมเนื้อหา//รอเคาะเกณฑ์กำกับแข่งขันอีกครั้งก่อนเปิดฟังความเห็นสาธารณะ//เตรียมออกแนวปฏิบัติเจ้าของสัมปทานรายเดิมและแนวทางการออกใบอนุญาตทีวีดิจิตอล

สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 10 ก.พ. นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 5/57 มีการพิจารณาวาระสำคัญและน่าจับตา ได้แก่ ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ เสนอขอทบทวนมติ กสท.ครั้งที่ 1/2557 เรื่อง การส่ง(ร่าง)ประกาศเนื้อหาตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 หรือ หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. … ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาในประเด็น “กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ อย่างไร และ เนื้อหาในร่างประกาศฯ มีลักษณะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของกสทช. หรือไม่ อย่างไร” เนื่องเพราะเห็นว่า คปก.ไม่มีอำนาจตรวจสอบกฎหมายในลำดับรอง อย่าง ประกาศ พร้อมเสนอให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช.พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องแทน

“เมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ ถึง กสทช. เรื่องการออก(ร่าง)ประกาศ กสทช.ควบคุมเนื้อหารายการ ว่า ไม่มีอำนาจในการจัดทำร่างประกาศฯ เนื่องจากอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย (อ่านความเห็น คปก.เพิ่มเติมได้ที่นี่) ซึ่ง กสท. ได้พิจารณาและมีมติส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความทางกฎหมายต่ออำนาจ และขอบเขตการออกประกาศกำกับเนื้อหาฉบับนี้ เพื่อความรอบคอบต่อการใช้อำนาจของ กสทช.ที่อาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรายใหม่ 24 ช่อง และสื่อวิทยุ – ทีวี จึงขอฝากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบและติดตาม พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับแนวความคิดเรื่องเสรีภาพสื่อกันต่อ เพราะดูเหมือนว่าอาจจะมีการนำร่างประกาศฉบับเดิมที่วิชาชีพสื่อ และนักวิชาการเคยคัดค้านกลับมาเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง”

นอกจากนี้ กสท. เตรียมพิจารณาร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการแข่งขัน 2 ฉบับ แบบมาตรการบังคับก่อน(Ex-ante) (ร่าง)ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องกับกิจการฯ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. … และ แบบมาตรการบังคับหลัง(Ex-post) (ร่าง)ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณาและกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการฯ พ.ศ. …. หลังจากที่มติครั้งที่แล้วได้เห็นชอบในหลักการ และมอบหมายทีมที่ปรึกษาโครงการนำร่างฯดังกล่าว เข้าหารือกับ กสท. เพื่อพิจารณาปรับปรุงและเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญต่างๆ ก่อนนำกลับเข้าที่ประชุมเพื่อเห็นชอบ และดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะต่อไป

วาระอื่นน่าติดตาม ได้แก่ แนวปฏิบัติต่อผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อยู่ในวันที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ใช้บังคับซึ่งมีลักษณะการประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา และ วาระการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาร่วมดำเนินการให้บริการทางสายระบบบอกรับสมาชิกระหว่าง บริษัท อสมท.จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท ทรูวิชั่นส์ เคเบิ้ล จำกัด(มหาชน) วาระการพิจารณาสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ระหว่าง บ.อสมท. จำกัด(มหาชน) กับ บ.เพลย์เวิร์ค จำกัด นอกจากนี้ มีวาระที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอล ได้แก่ แนวทางการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งรายละเอียดและผลการประชุมทั้งหมดเป็นอย่างไรชวนจับตา…


http://www.adslthailand.com/news/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-557-%E0%B8%8A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.