Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กุมภาพันธ์ 2557 กสทช. ชี้ วิทยุ FM 300 สถานี พ.ร.บ.กสทช. และกำหนดให้สัมปทาน ไม่เกิน 40% ของเวลาออกอากาศ ต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแบ่งเวลาให้เอกชนเช่าช่วงไม่ต่ำกว่า 10% ของเวลาออกอากาศด้วย


ประเด็นหลัก


       โดยแนวปฏิบัติคือให้ผู้ที่ได้รับสัญญาสัมปทานที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐอื่นๆ จะต้องประกอบกิจการด้วยตัวเองตาม พ.ร.บ.กสทช. และกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถแบ่งเช่าช่วงเวลาให้เอกชนจะต้องดำเนินการได้ไม่เกิน 40% แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแบ่งเวลาให้เอกชนเช่าช่วงไม่ต่ำกว่า 10% ของเวลาการให้บริการกระจายเสียงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ บอร์ด กสท.ยังมีมติให้สำนักงาน กสทช.ไปจัดทำร่างสัญญามาตรฐานเพื่อให้สัญญาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และให้สำนักงาน กสทช.แจ้งให้ผู้ประกอบกิจการรายเดิมรับทราบ
   
       “ปัจจุบันสถานีวิทยุที่ยังอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานมีอยู่ราว 38 สถานี จากทั้งหมดที่สถานีวิทยุในประเทศราว 300 กว่าสถานี”

______________________________________

กสท.สั่ง อสมท แก้สัญญา “เพลย์เวิร์ค”


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.)
       “พ.อ.นที” ลุยล้างบางสัญญาเก่าไม่ชอบด้วยกฏหมาย สั่ง อสมท แก้ไขสัญญาเพลย์เวิร์ค นำความถี่โทรคมนาคมมาให้บริการบรอดคาสต์ พร้อมเตือนสถานีวิทยุ 38 สถานีที่อยู่ภายใต้สัมปทานห้ามปล่อยเอกชนเช่าช่วงเวลาเกิน 40% ในการบริหารเวลา
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 10 ก.พ. มีมติให้ บริษัท อสทม จำกัด (มหาชน) ไปดำเนินการแก้ไขสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ที่ทำไว้กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด เนื่องจากสัญญาดังกล่างคณะอนุกรรมการพิจารณาว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ อสมท ปล่อยให้เพลย์เวิร์คไปให้บริการโทรทัศน์บนเทคโนโลยีแบบบรอดแบนด์ไร้สาย (BWA) จึงเป็นการให้บริการโทรทัศน์ประเภทอื่นแทนที่จะให้บริการบนระบบ MMDS เท่านั้น กสทช.จึงสั่งการให้ อสมท ไปดำเนินการแก้ไขการใช้งานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในทันที ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
     
       ทั้งนี้ สัญญาระหว่าง อสมท กับ เพลย์เวิร์ค เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นการทดลองทดสอบ LTE ซึ่งการทดลองทดสอบไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นการทดลองให้บริการ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA หรือการใช้เทคโนโลยี LTE หรือ 4G ในกิจการโทรคมนาคมมาให้บริการรับชมโทรทัศน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากคลื่น 2500-2690 MHz ตามตารางคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้เป็นคลื่นที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม จึงไม่สามารถอนุญาตให้ได้เพราะไม่ใช่คลื่นในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
     
       ก่อนหน้านี้บริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิล เอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี ซึ่งมีการทำสัญญากับทาง อสมท ก็โดนพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ อสมท กลับไปแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน
     
       ที่ประชุมมีมติออกคำสั่งให้ผู้ประกอบกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ยังอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานรายเดิม จะต้องดำเนินการตามมาตรา 43 วรรคสอง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
     
       โดยแนวปฏิบัติคือให้ผู้ที่ได้รับสัญญาสัมปทานที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐอื่นๆ จะต้องประกอบกิจการด้วยตัวเองตาม พ.ร.บ.กสทช. และกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถแบ่งเช่าช่วงเวลาให้เอกชนจะต้องดำเนินการได้ไม่เกิน 40% แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแบ่งเวลาให้เอกชนเช่าช่วงไม่ต่ำกว่า 10% ของเวลาการให้บริการกระจายเสียงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ บอร์ด กสท.ยังมีมติให้สำนักงาน กสทช.ไปจัดทำร่างสัญญามาตรฐานเพื่อให้สัญญาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และให้สำนักงาน กสทช.แจ้งให้ผู้ประกอบกิจการรายเดิมรับทราบ
     
       “ปัจจุบันสถานีวิทยุที่ยังอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานมีอยู่ราว 38 สถานี จากทั้งหมดที่สถานีวิทยุในประเทศราว 300 กว่าสถานี”

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016042

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.