Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กุมภาพันธ์ 2557 TOT โดนแรงสุด!! หลัง ไร้รัฐบาลตัวจริงยาว ไร้การอนุมัติงบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาท เน้นการให้บริการ INTERNET เพื่อฟื้นฟูองค์กร


ประเด็นหลัก

โดย 3 โครงการใหม่เป็นไปตามแผนฟื้นฟูองค์กรตามที่ทีโอทีเสนอ รอเพียงการอนุมัติงบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการโทรศัพท์ 2 ล้านพอร์ตจำนวน 30,000 ล้านบาท โครงการสร้างโครงข่ายอัจฉริยะ (เอ็นจีเอ็น) 2,800 ล้านบาท และโครงการสร้างสายเคเบิลใต้น้ำ 5,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามจะเรียกประชุมผู้บริหารเพื่อปรับแผนการดำเนินงาน หลังโครงการใหม่ไม่สามารถผ่านครม.ได้ อาจต้องปรับเปลี่ยนงบประจำปีของทีโอทีในปี 2557 จำนวน 4,000-5,000 ล้านบาท ที่เดิมใช้ในการขยายคอร์เน็ตเวิร์ก

สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพียงอย่างเดียว โดยจะปรับเปลี่ยนการลงทุนในสายธุรกิจตามแผนฟื้นฟูองค์กร


______________________________________

ทีโอที-กสทอ่วมไร้รบ. โปรเจค4หมื่นล.สะดุด

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ทีโอที-กสท"แจงผลกระทบสุญญากาศ "ไม่มี"รัฐบาล ทุบโปรเจคลงทุนใหม่กว่า 4 หมื่นล้าน ขณะที่ กสทช.เผยแผนแก้กฎหมายร่วมไอซีทีส่อเป็นหมัน



นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่าหลังจากรัฐบาลประกาศยุบสภา เมื่อปลายปี 2556 และขณะนี้ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ส่งผลให้ 3 โครงการใหม่งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ที่ทีโอทีรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องเลื่อนออกไป แม้บางโครงการจะผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปแล้ว

โดย 3 โครงการใหม่เป็นไปตามแผนฟื้นฟูองค์กรตามที่ทีโอทีเสนอ รอเพียงการอนุมัติงบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการโทรศัพท์ 2 ล้านพอร์ตจำนวน 30,000 ล้านบาท โครงการสร้างโครงข่ายอัจฉริยะ (เอ็นจีเอ็น) 2,800 ล้านบาท และโครงการสร้างสายเคเบิลใต้น้ำ 5,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามจะเรียกประชุมผู้บริหารเพื่อปรับแผนการดำเนินงาน หลังโครงการใหม่ไม่สามารถผ่านครม.ได้ อาจต้องปรับเปลี่ยนงบประจำปีของทีโอทีในปี 2557 จำนวน 4,000-5,000 ล้านบาท ที่เดิมใช้ในการขยายคอร์เน็ตเวิร์ก

สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพียงอย่างเดียว โดยจะปรับเปลี่ยนการลงทุนในสายธุรกิจตามแผนฟื้นฟูองค์กร

"เอฟทีทีเอ็กซ์"ค้างอนุมัติ

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสิรฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า กสท ยังเหลือโครงการแผนการเช่าใช้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงทูดิเอ็กซ์ (เอฟทีทีเอ็กซ์) มูลค่า 4,000 ล้านบาท ที่รอการอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติหลักการไปตั้งแต่ 14 พ.ย.2556 หลังมีแก้ไขตามคำแนะนำของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งเดิมต้องเสนอต่อไอซีที และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และเสนอเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ภายในปี 2556 แต่เมื่อยุบสภา กสท ก็ต้องรอครม.ชุดใหม่มาพิจารณา

ขณะที่บริษัทพยายามบริหารความเสี่ยงและจัดเตรียมแผนดำเนินงานไปยังสายธุรกิจอื่นๆ ตามแผนงานปี 2557 ซึ่งจะกำหนดดัชนีวัดผลของพนักงานและการตั้งเป้าหมายของรายได้ และการขายของฝ่ายการตลาดเป็นรายเดือน จากเดิมที่กำหนดไว้เป็นรายปี ซึ่งการกำหนดแผนงานดำเนินงานนั้น เป็นไปตามแผนฟื้นฟูองค์กร 5 ปีเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2556-2560

ทั้งนี้ การเจรจากับคู่สัญญาที่ดำเนินการโครงข่ายเอฟทีทีเอ็กซ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 12 สัญญา โดยได้เจรจากับคู่สัญญาทั้งหมด 10 สัญญา และมีข้อตกลงร่วมกันว่า กสท จะทำสัญญาลักษณะเช่าซื้อ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจะโอนอุปกรณ์ทั้งหมดให้กสท และขอปรับอัตราค่าเช่าขึ้นในบางที่ จากแผนเดิมหลังจากสร้างแล้วเสร็จ กสท จะไม่ใช่เจ้าของอุปกรณ์ สำหรับรายละเอียดสัญญานั้น กสทจะจ่ายค่าเช่าในอัตรา 50% หรือตามที่มีการใช้งานจริงจากเดิมเป็นอัตราเหมาจ่าย 100% แต่ กสท ใช้งานเพียง 20-40% เท่านั้น แต่หากพื้นที่ใดที่ กสท ใช้งานเกิน 50% จะปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นให้ตามความเหมาะสมและตกลงกัน

แก้พ.ร.บ.กสทช.3ฉบับเป็นหมัน

ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่าปีที่ผ่านมา กสทช. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันในการดำเนินการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กสทช. จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553(พ.ร.บ.กสทช.) ,พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2544 และพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารจัดสรรคลื่นความถี่ สอดรับกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน และข้อกฎหมายบางประการที่ก่อให้เกิดความคลุมเครือในการตีความ

ล่าสุด กระบวนการดำเนินการแก้กฎหมายดังกล่าวได้ยุติลง เนื่องจากปัญหาทางการเมือง และการยุบสภาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทั้งนี้ ผู้ที่จะดำเนินการยื่นเรื่องแก้กฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวได้ก็คือ กระทรวงไอซีที ส่วน กสทช. มีหน้าที่เป็นผู้เสนอแนะ แต่เมื่อมีการยุบสภา ทำให้กระบวนการแก้กฎหมายหยุดชะงักไปด้วย


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140210/562114/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%9A.-%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%844%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5.%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%94.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.