Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กุมภาพันธ์ 2557 ไทยคมระบุการกวน blueskychannel การกวนทางเทคนิคที่เกิดจากความผิดพลาดในการรับ-ส่งสัญญาณของผู้ให้บริการดาวเทียม หรือ อัพลิงก์ดาวน์ลิงก์ใกล้เคียง


ประเด็นหลัก


การแก้ปัญหาที่ กสทช.จะไปจ้าง ITU (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) มาวัดสัญญาณตามหาผู้ทำผิด หรือลงทุนซื้อรถโมบายออกวิ่งตรวจหาสัญญาณเป็นเงินหลายร้อยล้านบาท เป็นวิธีที่เสียเงินเปล่าเพราะ ITU ทำงานด้านธุรการและวิชาการ อย่างมากคงแค่มาเลกเชอร์ให้ฟังว่า วิธีกวนสัญญาณมีกี่แบบ ต้องทำอะไรบ้าง ฉะนั้นการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการตรวจสอบตั้งแต่กระบวนการส่งสัญญาณ เป็นวิธีที่ง่ายกว่า หรือเอาเครื่องบินถ่ายภาพมุมสูง (UAV) มาบินสำรวจในพื้นที่ต้องสงสัยก็ได้ เพราะตัวเครื่องจะรับรู้ได้ถึงการกวนสัญญาณ"

ฟากผู้ประกอบการดาวเทียมต้นทางในการแพร่ภาพกระจายเสียง "เอกชัย ภัคดุรงค์" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคมบอกว่า การกวนสัญญาณดาวเทียมเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ การกวนทางเทคนิคที่เกิดจากความผิดพลาดในการรับ-ส่งสัญญาณของผู้ให้บริการดาวเทียม หรือผู้ให้บริการอัพลิงก์ดาวน์ลิงก์ใกล้เคียง การกวนแบบนี้ตรวจสอบได้ง่าย เนื่องจากเป็นคลื่นค้าง สัญญาณจะนิ่งอยู่ในจุดเดียวจึงหาได้ง่ายกับแบบตั้งใจกวนคล้ายการจารกรรม จับตัวได้ยาก

และนี่เป็นครั้งแรกที่ไทยคมเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ กรณีดาวเทียมในจีนที่เคยโดนกลุ่ม "ฝ่าหลุนกง" รบกวนสัญญาณก็เป็นลักษณะการยิงสัญญาณค้างให้ใช้งานไม่ได้เป็นเวลานานจนหาต้นตอได้ว่ามาจากไต้หวัน แต่กรณีที่เกิดกับไทยคมในขณะนี้เป็นการยิงสัญญาณเข้ามากวนทุก 10 วินาที

อย่างไรก็ตาม กรณีการตรวจสอบการกวนสัญญาณที่จุด "อัพลิงก์-ดาวน์ลิงก์" รวมสัญญาณเพื่อขึ้นดาวเทียม "ไทยคม" ยินดีให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบกระบวนการส่งสัญญาณของบริษัทได้ เพราะพิสูจน์ได้ไม่ยาก และที่ผ่านมาบริษัทได้ให้ กสทช.เข้าไปตรวจสอบแล้ว และพบว่าปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นจากไทยคม โดยมีช่องรายการที่โดนก่อกวนทั้งหมด 35 ช่อง ใน 2 ทรานสปอนเดอร์

"การกวนสัญญาณโดยการยิงสัญญาณจากภาคพื้นดินไปกวนการอัพลิงก์ของดาวเทียม ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะก็จริง แต่ผู้ให้บริการหลายประเภทมีอุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้อย่าง VSAT (ผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็ก) บรอดแคสเตอร์ และผู้ประกอบการโทรคมนาคมก็ทำได้ คือมีอุปกรณ์สร้างสัญญาณ มีจานดาวเทียมเป็นแบบ Fixed หรือโมบายก็ได้ เท่าที่เข้าไปตรวจสอบเพื่อแก้ไข พบว่าขนาดจานน่าจะสัก 8-10 ฟุต ขนาดกำลังส่งไม่ได้เล็ก ๆ เพราะไทยคมได้ขึ้นกำลังส่งสัญญาณหนีขึ้นไปแล้วยังตามขึ้นไปได้อีก อุปกรณ์แม้ว่าราคาจะเป็นหลักล้าน แต่เป็นอุปกรณ์อัพลิงก์ที่








______________________________________

คลื่นแทรกป่วนทีวีดาวเทียม ลูบหน้า "กสทช." ปะจมูก "ไทยคม"


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

โดนร้องเรียนไม่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะช่วงกระแสการเมืองร้อนแรง กรณีช่องทีวีดาวเทียม "บลูสกาย" โดนปล่อยสัญญาณรบกวนจนทำให้ไม่สามารถรับชมรับฟังการถ่ายทอดสัญญาณได้อย่างปกติ ร้อนถึงสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)

โดย "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.ระบุว่า มีการรบกวนช่องสำรองออกอากาศของบลูสกายด้วยอุปกรณ์ที่แตกต่างกับการรบกวนของช่องสัญญาณหลัก โดยผู้รบกวนมีการใช้อุปกรณ์รบกวนสัญญาณที่แตกต่างกัน จากเบาะแสที่ได้รับจะช่วยเพิ่มโอกาสให้สำนักงาน กสทช.หาตัวผู้ทำผิดมาดำเนินการได้ โดยมาตรการแก้ไขทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ คือ ขอความร่วมมือให้ไทยคมปรับความแรงสัญญาณอัพลิงก์ (Uplink) ของช่องบลูสกายให้แรงขึ้น เพื่อให้การรบกวนทำได้ยากขึ้น หากจะรบกวนต้องส่งสัญญาณที่แรงกว่า ทำให้หาตัวและจับกุมผู้กระทำผิดได้ง่ายขึ้น



ขณะเดียวกัน สำนักงาน กสทช.ได้ส่งรถตรวจสอบและหาทิศทางสัญญาณรบกวนทั้ง 14 เขตออกตรวจสอบตามเบาะแสที่ได้รับแจ้งแล้ว คาดว่าจะได้ตัวผู้ดำเนินการเร็ว ๆ นี้ โดย "เลขาธิการ กสทช." ย้ำด้วยว่า การส่งสัญญาณรบกวนเป็นการดำเนินการผ่าฝืนกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498

และหากการกระทำเช่นว่ามีการนำเข้าหรือใช้เครื่องวิทยุคมนาคม หรือตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย มีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันด้วยอีกกระทง

ขณะที่ "รศ.ดร.สุธี อักษรกิตติ์" ประธานกรรมการสายวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ ผู้คลุกคลีกับวงการดาวเทียมไทยมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก พูดถึงการรบกวนช่องสัญญาณดาวเทียมว่า มีด้วยกัน 2 รูปแบบ แบบแรกคล้าย ๆ กับการกวนสัญญาณวิทยุ โดยมีการส่งสัญญาณกำลังสูงไปยังเป้าหมาย

วิธีนี้ต้องมีสถานีที่เป็นตัวส่งและอุปกรณ์เฉพาะ ไม่ใช่ใคร ๆ ก็ทำได้ ต้องมีเงินลงทุนหลายสิบล้านบาท โดยส่วนใหญ่ภารกิจทางการทหารมักใช้วิธีนี้ด้วยการใช้อุปกรณ์ยิงสัญญาณจากภาคพื้นดิน ซึ่งต้องใช้จานส่งสัญญาณขนาดใหญ่ อีกรูปแบบเป็นการใช้วิธีการรบกวนที่จุดรวมสัญญาณเพื่อส่งอัพลิงก์ขึ้นดาวเทียม เป็นกระบวนการจัดสัญญาณหลาย ๆ ช่องเทียบได้กับการ

จัดคนลงเรือ เมื่อเต็มทรานสปอนเดอร์แล้วก็จะส่งสัญญาณขึ้นดาวเทียมทีเดียว ทำให้สกัดการส่งสัญญาณได้ จะสกัดแค่ภาพหรือเสียง หรือทำให้จอดำทั้งหมดก็ได้

"การแก้ปัญหาที่ กสทช.จะไปจ้าง ITU (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) มาวัดสัญญาณตามหาผู้ทำผิด หรือลงทุนซื้อรถโมบายออกวิ่งตรวจหาสัญญาณเป็นเงินหลายร้อยล้านบาท เป็นวิธีที่เสียเงินเปล่าเพราะ ITU ทำงานด้านธุรการและวิชาการ อย่างมากคงแค่มาเลกเชอร์ให้ฟังว่า วิธีกวนสัญญาณมีกี่แบบ ต้องทำอะไรบ้าง ฉะนั้นการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการตรวจสอบตั้งแต่กระบวนการส่งสัญญาณ เป็นวิธีที่ง่ายกว่า หรือเอาเครื่องบินถ่ายภาพมุมสูง (UAV) มาบินสำรวจในพื้นที่ต้องสงสัยก็ได้ เพราะตัวเครื่องจะรับรู้ได้ถึงการกวนสัญญาณ"

ฟากผู้ประกอบการดาวเทียมต้นทางในการแพร่ภาพกระจายเสียง "เอกชัย ภัคดุรงค์" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคมบอกว่า การกวนสัญญาณดาวเทียมเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ การกวนทางเทคนิคที่เกิดจากความผิดพลาดในการรับ-ส่งสัญญาณของผู้ให้บริการดาวเทียม หรือผู้ให้บริการอัพลิงก์ดาวน์ลิงก์ใกล้เคียง การกวนแบบนี้ตรวจสอบได้ง่าย เนื่องจากเป็นคลื่นค้าง สัญญาณจะนิ่งอยู่ในจุดเดียวจึงหาได้ง่ายกับแบบตั้งใจกวนคล้ายการจารกรรม จับตัวได้ยาก

และนี่เป็นครั้งแรกที่ไทยคมเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ กรณีดาวเทียมในจีนที่เคยโดนกลุ่ม "ฝ่าหลุนกง" รบกวนสัญญาณก็เป็นลักษณะการยิงสัญญาณค้างให้ใช้งานไม่ได้เป็นเวลานานจนหาต้นตอได้ว่ามาจากไต้หวัน แต่กรณีที่เกิดกับไทยคมในขณะนี้เป็นการยิงสัญญาณเข้ามากวนทุก 10 วินาที

อย่างไรก็ตาม กรณีการตรวจสอบการกวนสัญญาณที่จุด "อัพลิงก์-ดาวน์ลิงก์" รวมสัญญาณเพื่อขึ้นดาวเทียม "ไทยคม" ยินดีให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบกระบวนการส่งสัญญาณของบริษัทได้ เพราะพิสูจน์ได้ไม่ยาก และที่ผ่านมาบริษัทได้ให้ กสทช.เข้าไปตรวจสอบแล้ว และพบว่าปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นจากไทยคม โดยมีช่องรายการที่โดนก่อกวนทั้งหมด 35 ช่อง ใน 2 ทรานสปอนเดอร์

"การกวนสัญญาณโดยการยิงสัญญาณจากภาคพื้นดินไปกวนการอัพลิงก์ของดาวเทียม ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะก็จริง แต่ผู้ให้บริการหลายประเภทมีอุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้อย่าง VSAT (ผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็ก) บรอดแคสเตอร์ และผู้ประกอบการโทรคมนาคมก็ทำได้ คือมีอุปกรณ์สร้างสัญญาณ มีจานดาวเทียมเป็นแบบ Fixed หรือโมบายก็ได้ เท่าที่เข้าไปตรวจสอบเพื่อแก้ไข พบว่าขนาดจานน่าจะสัก 8-10 ฟุต ขนาดกำลังส่งไม่ได้เล็ก ๆ เพราะไทยคมได้ขึ้นกำลังส่งสัญญาณหนีขึ้นไปแล้วยังตามขึ้นไปได้อีก อุปกรณ์แม้ว่าราคาจะเป็นหลักล้าน แต่เป็นอุปกรณ์อัพลิงก์ที่

ผู้ประกอบการด้านนี้มีอยู่แล้ว ส่วนที่สงสัยกันว่าทำไมสามารถหาพิกัดทรานสปอนเดอร์เป้าหมายได้ เพราะคลื่นความถี่ของไทยคมไม่ใช่ความลับ ชาวบ้านอาจรู้แค่ความถี่ขาลง แต่คนในวงการรู้ค่าอัพลิงก์ดาวน์ลิงก์ของไทยคมอยู่แล้ว"

สำหรับพื้นที่ที่จะส่งสัญญาณกวนได้เป็นไปตาม Footprint ของดาวเทียม ซึ่งกรณีนี้คือตั้งแต่อินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าน่าจะอยู่ในพื้นที่ไทยมากกว่า เพราะการไปตั้งอุปกรณ์ในลักษณะนี้ในต่างประเทศโดนจับได้ง่าย ๆ

และกับ "ไทยคม" สิ่งที่เกิดขึ้นกระทบภาพลักษณ์ แต่ไม่ได้กระทบรายได้เพราะลูกค้าเข้าใจ ก่อนที่จะเกิดเรื่องก็ได้เตรียมรับสถานการณ์ทั้งแบ็กอัพระบบ เตรียมช่องสัญญาณเพิ่ม และการเพิ่มกำลังส่ง แต่มีข้อจำกัดเพราะถ้าเพิ่มกำลังส่งมากเกินไปจะกระทบกับคุณภาพช่องสัญญาณทั้งทรานสปอนเดอร์ จึงต้องพยายามแก้ปัญหากันไป

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392199672

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.