17 กุมภาพันธ์ 2557 กสทช.ระบุ Digital TV มีความสามารถในการบีบอัดสัญญาณออกอากาศได้หลายสิบช่อง รวมถึงการใช้เครื่องส่งสัญญาณที่ใช้กำลังออกอากาศลดลง ความคมชัดที่สม่ำเสมอ
ประเด็นหลัก
“ดิจิตอลทีวี” เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ประยุกต์การส่งคลื่นร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้หนึ่งช่องสัญญาณที่ให้บริการในระบบแอนะล็อกแบบเดิมสามารถส่งสัญญาณแบบดิจิตอลได้มากถึง 40 – 50 ช่อง เพราะระบบดิจิตอลมีความสามารถในการบีบอัดสัญญาณ (Digital Compression) สูง สามารถพัฒนาการถ่ายทอดที่รองรับเทคโนโลยีการผลิตโทรทัศน์ในอนาคตทั้งระบบสัญญาณคมชัด (Full HD) และโทรทัศน์แบบจอกว้าง (Wide Screen) รวมถึงการใช้เครื่องส่งสัญญาณที่ใช้กำลังออกอากาศลดลง “ดิจิตอลทีวี” จึงเป็นเทคโนโลยีอนาคตที่ประหยัดพลังงานไปในตัว ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งตัวเลือกในการรับชมรายการต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ความคมชัดที่สม่ำเสมอ ทำให้การรับชมทั้งแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ในยานพาหนะต่างๆ มีความต่อเนื่องและมีอรรถรสในการรับชมมากขึ้น
______________________________________
กสทช. กับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวี ประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไร ?
พฤติกรรมการรับสื่อของประชาชนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาพบว่า “สื่อโทรทัศน์” เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และเป็นสื่อแรกที่ทุกคนให้ความสำคัญในทุกๆ วัน สังเกตได้จากอัตราการขยายตัวของช่องโทรทัศน์ที่ในยุคเริ่มต้นมีเพียงช่องสาธารณะถ่ายทอดผ่านระบบแอนะล็อกไม่กี่ช่อง ต่อมาเพิ่มขยายเป็นช่องโทรทัศผ่านดาวเทียมเพื่อเพิ่มพื้นที่การนำเสนอตามความต้องการของผู้บริโภคสื่อที่แตกแขนงความชื่นชอบอย่างหลากหลายแปรผันตามการพัฒนาในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ และช่องทางล่าสุดที่พวกเราทุกคนจะได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเดือนเมษายนนี้ก็คือ “ดิจิตอลทีวี” การพัฒนาระบบสื่อสารมวลชนล่าสุด ที่ขจัดปัญหาที่ช่องทางการนำเสนอในระบบก่อนหน้าทั้งภาวะถูกรบกวนจากคลื่นและสัญญาณต่างๆได้ง่าย สัญญาณขาดหาย รวมถึงการมีช่องสัญญาณน้อยเนื่องจากโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดในระบบ แอนะล็อกใช้ช่วงคลื่นที่กว้างมากและไม่สามารถบีบอัดสัญญาณได้
“ดิจิตอลทีวี” เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ประยุกต์การส่งคลื่นร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้หนึ่งช่องสัญญาณที่ให้บริการในระบบแอนะล็อกแบบเดิมสามารถส่งสัญญาณแบบดิจิตอลได้มากถึง 40 – 50 ช่อง เพราะระบบดิจิตอลมีความสามารถในการบีบอัดสัญญาณ (Digital Compression) สูง สามารถพัฒนาการถ่ายทอดที่รองรับเทคโนโลยีการผลิตโทรทัศน์ในอนาคตทั้งระบบสัญญาณคมชัด (Full HD) และโทรทัศน์แบบจอกว้าง (Wide Screen) รวมถึงการใช้เครื่องส่งสัญญาณที่ใช้กำลังออกอากาศลดลง “ดิจิตอลทีวี” จึงเป็นเทคโนโลยีอนาคตที่ประหยัดพลังงานไปในตัว ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งตัวเลือกในการรับชมรายการต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ความคมชัดที่สม่ำเสมอ ทำให้การรับชมทั้งแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ในยานพาหนะต่างๆ มีความต่อเนื่องและมีอรรถรสในการรับชมมากขึ้น
และเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวีในประเทศไทย การจัดประมูลช่องสัญญาณโดย กสทช. ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้จัดให้มีการแบ่งประเภทช่องรายการอย่างชัดเจน เพื่อเป็นกลไกเบื้องต้นในการควบคุมคุณภาพรายการต่างๆ ให้สร้างประโยชน์กับประชาชนทุกคนให้มากที่สุด ทั้งช่องบริการชุมชน ช่องบริการสาธารณะ ช่องบริการธุรกิจในหมวดข่าวสารและสาระ รวมถึงหมวดรายการเด็กและเยาวชน
อย่างไรก็ตามการกำหนดหมวดหมู่และเนื้อหาสาระในการนำเสนอเป็นเพียงการดำเนินการจาก ต้นน้ำ จากต้นทางที่ กสทช. มีเจตนารมณ์ตั้งใจมอบสิ่งดีๆ ให้กับสังคม แต่เส้นทางต่อไปคือกลางน้ำและปลายน้ำจะเป็นเส้นทางน้ำที่สะอาดและบริสุทธิ์สำหรับคนทุกเพศทุกวัยนั้นจำเป็นต้องอาศัยการสอดส่องดูและและคำชี้แนะจากประชาชนผู้รับสื่อทุกคน เพื่อให้ “ดิจิตอลทีวี” เป็นทั้งเครื่องมือในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเครื่องมือสร้างภูมิคุ้มกันให้เราทุกคนดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านการประยุกต์ข้อมูลข่าวสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเติบโตที่มั่นคงของสังคมต่อไปในอนาคต
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=219146:2014-02-17-07-23-30&catid=237:2014-02-06-06-55-02&Itemid=535#.UwHtsEKSwcs
ไม่มีความคิดเห็น: