Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กุมภาพันธ์ 2557 วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัลมูลค่า 980 ล้านบาท ควรจัดซื้อโดยการประมูลมากกว่าซื้อพิเศษ ( เชื่อ ไม่ทัน กสทช. ก็ไม่ยึดใบอนุญาติ )


ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ การหารือดังกล่าวสืบเนื่องมาจากกรมประชาสัมพันธ์มีการจัดซื้ออุปกรณ์ส่งสัญญาณ เพื่อติดตั้งในสถานีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ ให้เป็นระบบทีวีดิจิทัล วงเงิน 980,950,000 บาท โดยได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในช่วงปลายเดือน ก.ค.56 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ข้อครหาคือ การนำวิธีพิเศษมาใช้ในการดำเนินการแทนที่จะเป็นการเปิดประมูล เพื่อเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันสู้ราคาของผู้ประกอบการ ขณะที่การตั้งงบประมาณจัดซื้อก็สูงกว่าสถานีโทรทัศน์อื่นที่มีการจัดซื้อเหมือนกัน เช่น ททบ.5 และ ไทยพีบีเอส ด้วย

นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวว่า หากเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จะทำให้กรรมาธิการและประชาชนที่มีความกังวลไม่สบายใจ หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบเวลา ตนเห็นว่า ควรรอรัฐบาลชุดต่อไปก่อน เพื่อความโปร่งใส อะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ก็ให้เปลี่ยน เชื่อว่า กสทช.ไม่มีบทลงโทษและไม่ยึดใบอนุญาตของกรมประชาสัมพันธ์แน่นอน กรณีดังกล่าววุฒิสภาจะร่วมหารือกับกสทช.หากต้องยืดระยะเวลาการประมูลและติดตั้งโครงข่ายของกรมประชาสัมพันธ์หลังวันที่ 1 เม.ย.57 ตามกำหนดเดิม

"อยากให้กรมประชาสัมพันธ์ นำรายละเอียดพร้อมคำแนะนำข้อร้องเรียนจากประชาชนในร่างสัญญาจัดซื้อจัดจ้างขึ้นเว็บไซต์เปิดเผยแก่สาธารณชน เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา และเลื่อนระยะเวลาการประมูล ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจที่ต้องการจะร่วมประมูลได้ทราบรายละเอียดอย่างทั่วถึง" นายบุญชัย กล่าว


______________________________________







?วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัล?
?วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัล?
?วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัล?
Previous
Next
?วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัล??วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัล??วุฒิสภา แนะ กรมประชาฯ ชะลอจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบทีวีดิจิทัล?
วุฒิสภา แนะกรมประชาสัมพันธ์เลื่อนระยะเวลาการจัดซื้ออุปกรณ์การส่งสัญญาณและติดตั้งสถานีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัลด้วยวิธีพิเศษมูลค่ากว่า 980 ล้านบาท ควรทำให้โปรงใสไร้ข้อครหา พร้อมเจรจากับ กสทช.หากติดตั้งไม่ทัน เม.ย.นี้

วันอังคาร 18 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00 น.
วันนี้ (18 ก.พ.) ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับกรณีที่กรมประชาสัมพันธ์ได้มีการจัดซื้ออุปกรณ์ในการส่งสัญญาณและเพื่อติดตั้งในสถานีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคาทราบรายละเอียด ขอบเขตของงาน รวมทั้งการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ จึงอาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นได้

ทั้งนี้ การหารือดังกล่าวสืบเนื่องมาจากกรมประชาสัมพันธ์มีการจัดซื้ออุปกรณ์ส่งสัญญาณ เพื่อติดตั้งในสถานีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ ให้เป็นระบบทีวีดิจิทัล วงเงิน 980,950,000 บาท โดยได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในช่วงปลายเดือน ก.ค.56 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ข้อครหาคือ การนำวิธีพิเศษมาใช้ในการดำเนินการแทนที่จะเป็นการเปิดประมูล เพื่อเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันสู้ราคาของผู้ประกอบการ ขณะที่การตั้งงบประมาณจัดซื้อก็สูงกว่าสถานีโทรทัศน์อื่นที่มีการจัดซื้อเหมือนกัน เช่น ททบ.5 และ ไทยพีบีเอส ด้วย

นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวว่า หากเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จะทำให้กรรมาธิการและประชาชนที่มีความกังวลไม่สบายใจ หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบเวลา ตนเห็นว่า ควรรอรัฐบาลชุดต่อไปก่อน เพื่อความโปร่งใส อะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ก็ให้เปลี่ยน เชื่อว่า กสทช.ไม่มีบทลงโทษและไม่ยึดใบอนุญาตของกรมประชาสัมพันธ์แน่นอน กรณีดังกล่าววุฒิสภาจะร่วมหารือกับกสทช.หากต้องยืดระยะเวลาการประมูลและติดตั้งโครงข่ายของกรมประชาสัมพันธ์หลังวันที่ 1 เม.ย.57 ตามกำหนดเดิม

"อยากให้กรมประชาสัมพันธ์ นำรายละเอียดพร้อมคำแนะนำข้อร้องเรียนจากประชาชนในร่างสัญญาจัดซื้อจัดจ้างขึ้นเว็บไซต์เปิดเผยแก่สาธารณชน เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา และเลื่อนระยะเวลาการประมูล ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจที่ต้องการจะร่วมประมูลได้ทราบรายละเอียดอย่างทั่วถึง" นายบุญชัย กล่าว

นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ กรรมาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า อยากให้มีความระมัดระวังและมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ หากมีข้อท้วงติงหรือข้อสงสัยควรนำข้อมูลทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์แล้วอธิบายให้ละเอียดทั้งหมด นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดวันประมูลให้ชัดเจน เพื่อจะให้กลุ่มที่จะเข้าประมูลโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจวงนอกที่อาจรับทราบข้อมูลช้ากว่าได้เตรียมใจ เพราะจากที่ทราบมาคนที่ประมูลเป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่วงในและได้เปรียบ ทุกอย่าง ควรทำให้โปรงใส หากพบมีการทุจริต ตนจะส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ตัดสิน

นายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล เป็นงบประจำปี การเร่งพิจารณาด้วยวิธีพิเศษถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันต่อประกาศของ กสทช.ในเดือนเม.ย.นี้ และเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีดิจิทัลขององค์กรและระเบียบของกสทช. อีกทั้ง ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตการดำเนินธุรกิจต่างมีอายุใบอนุญาต 15 ปี หากมีความล่าช้าเกรงว่าจะเสียโอกาส อย่างไรก็ตาม พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะของวุฒิสภาและจะประสานกับกสทช.เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/216942/%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2+%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0+%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AF+%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.