Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กุมภาพันธ์ 2557 กสิกรไทย ชี้ราคาเฉลี่ยของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 1,690 บาท โมบายแอพพลิเคชั่นไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทไลฟ์สไตล์มากที่สุด 26.7%


ประเด็นหลัก


•    ราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตลดลงสู่จุดที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้
เนื่องจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเข้ามาในตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้ประกอบการที่หลากหลาย เพื่อทำการตลาดกับผู้บริโภคในระดับกลางและระดับล่างมากขึ้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
 โดยจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในปัจจุบัน ราคาเฉลี่ยของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 9,500 บาท และ 6,500 บาท ตามลำดับ โดยมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 1,690 บาท และ 1,290 บาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้ ส่งผลให้ความนิยมในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และคาดว่าจะขยายไปยังตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งนี้ การขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยดังกล่าว ย่อมมีส่วนผลักดันให้ฐานผู้บริโภคในตลาดโมบายแอพพลิเคชั่นไทยเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน




•    ปัจจุบัน โมบายแอพพลิเคชั่นไทยถูกพัฒนาโดยหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ โดยจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า แอพพลิเคชั่นไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทไลฟ์สไตล์มากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 26.7 ขณะที่แอพพลิเคชั่นไทยกว่าร้อยละ 81.5 จะถูกแจกจ่ายให้ดาวน์โหลดฟรีในร้านค้าแอพพลิเคชั่นออนไลน์












______________________________________








คาดธุรกิจรับจ้างพัฒนาโมบายแอพฯปีนี้โต11.4% โตลดจากปีก่อน เหตุชะลอพัฒนาแอพฯใหม่



ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นปี ‘57... อาจโตไม่เกินร้อยละ 11.4 จากการชะลอพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ของผู้ประกอบการ

ประเด็นสำคัญ
•    ปัจจุบัน โมบายแอพพลิเคชั่นไทยถูกพัฒนาโดยหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ โดยจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า แอพพลิเคชั่นไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทไลฟ์สไตล์มากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 26.7 ขณะที่แอพพลิเคชั่นไทยกว่าร้อยละ 81.5 จะถูกแจกจ่ายให้ดาวน์โหลดฟรีในร้านค้าแอพพลิเคชั่นออนไลน์

•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2557 ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันที่อาจกดดันให้ผู้ประกอบการเอกชนบางส่วนชะลอการลงทุนพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ และเลือกที่จะปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิม อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยผลักดันการเติบโตของตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจากความต้องการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2557 ธุรกิจรับจ้างพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจะมีมูลค่าประมาณ 820-850 ล้านบาท เติบโตในกรอบร้อยละ 7.4-11.4 จากร้อยละ 17.7 ในปี 2556 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 763.8 ล้านบาท

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารทั้งเครือข่ายโทรคมนาคมและความนิยมในอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ส่งผลให้โมบายแอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ โดยมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  อาทิเช่น ผู้บริโภคสามารถฟังเพลง เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ ดูรายการโทรทัศน์ย้อนหลัง หรือดูซีรี่ย์ต่างประเทศที่ชื่นชอบได้ตลอดเวลาที่ต้องการผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐ ก็สามารถใช้โมบายแอพพลิเคชั่นเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการติดต่อสื่อสารหรือการทำการตลาด รวมทั้งเป็นช่องทางในการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและผู้แทนการจัดจำหน่าย  ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสินค้า การแนะนำรายการสินค้าใหม่ๆ โปรโมชั่นต่างๆ ข้อมูลสถานที่จัดจำหน่าย หรือแม้แต่การสั่งซื้อสินค้าและการชำระเงินผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น เป็นต้น

ภาพรวมของตลาดโมบายแอพพลิเคชั่นไทยในปัจจุบัน
 
 altในปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ต้องการผ่านร้านค้าแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Online Application Store) และด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บริโภค โมบายแอพพลิเคชั่นจึงถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างหลากหลายประเภท เพื่อรองรับกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยจากการสำรวจร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า โมบายแอพพลิเคชั่น ไทย  ถูกจัดอยู่ในประเภทรองรับรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นอ่านนิตยสารทางด้านแฟชั่น การท่องเที่ยวหรือด้านสุขภาพแบบออนไลน์ และแอพพลิเคชั่นรวบรวมร้านอาหารหรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 26.7 ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ขณะที่แอพพลิเคชั่นสำหรับความบันเทิง (Entertainment) อย่างแอพพลิเคชั่นสำหรับการดูรายการโทรทัศน์ ดูหนังและฟังเพลง และแอพพลิเคชั่นสำหรับการศึกษา (Education) จะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 20.1 และร้อยละ 19.0 ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ตามลำดับ
     
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจะมีอยู่อย่างหลากหลาย โดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ และบริษัทเอกชนตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ ไปจนถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ติดต่อสื่อสาร อำนวยความสะดวก หรือทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาทิเช่น แอพพลิเคชั่นรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือแอพพลิเคชั่นในการจองตั๋วเครื่องบินและเช็คอินออนไลน์ของผู้ให้บริการสายการบิน เป็นต้น หรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายคอนเทนต์ เช่น แอพพลิเคชั่นจัดจำหน่ายนิตยสารต่างๆ โดยอาจจะทำการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาด้วยตนเอง หรืออาจจะทำการจ้างบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ขณะที่บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น จะเป็นกลุ่มที่รับรายได้จากการรับจ้างพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้กับหน่วยงานของรัฐหรือบริษัทเอกชนอื่นๆ เป็นหลัก หรืออาจจะทำการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาเป็นของตนเอง เพื่อหารายได้ส่วนแบ่งจากร้านค้าแอพพลิเคชั่นออนไลน์และโฆษณา หรืออาจจะพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อแสดงผลงานของตนเองก็เป็นได้

     
altอย่างไรก็ตาม จากการสำรวจโมบายแอพพลิเคชั่นไทยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า โมบายแอพพลิเคชั่นไทยในปัจจุบัน มักถูกแจกจ่ายให้ดาวน์โหลดฟรี หรือจำหน่ายในราคาเฉลี่ยประมาณ 2.1 ดอลลาร์ฯ ต่อแอพพลิเคชั่น โดยมีสัดส่วนการดาวน์โหลดในรูปแบบฟรีมากถึงร้อยละ 81.5 ขณะที่การดาวน์โหลดแบบชำระเงิน มีสัดส่วนอยู่เพียงร้อยละ 18.5 จากจำนวนแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่ จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีรูปแบบเฉพาะหรือมีฟังก์ชั่นพิเศษ อาทิเช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่นอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหรือเพื่อเสริมสร้างทักษะแก่เด็กแบบออนไลน์ หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการแปลภาษา เป็นต้น โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 29.9 ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินทั้งหมด


ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยในปี 2557
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2557 ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันที่อาจกดดันให้ผู้ประกอบการเอกชนบางส่วนชะลอการลงทุนพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ และเลือกที่จะปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิม อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยผลักดันการเติบโตตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจากความต้องการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคไทยที่มีมากขึ้นจากการเปิดให้บริการ 3G/4G และราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตลดลงสู่จุดที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งปัจจัยกดดันและผลักดันดังกล่าว สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

    ปัจจัยกดดันตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น
•    ผู้ประกอบการบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ชะลอการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่
ถึงแม้ว่า ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ SMEs มีแนวโน้มในการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลสื่อสารหรือทำการตลาดกับลูกค้าและตัวแทนการจัดจำหน่าย เช่น การเผยแพร่ข้อมูลสินค้าใหม่ โปรโมชั่นประจำเดือน การสั่งซื้อสินค้า และการชำระเงิน เป็นต้น หรืออาจจะใช้โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในบริษัท เช่น การจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ หรือข้อมูลลูกค้าต่างๆ เป็นต้น
         
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การลงทุนพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ของผู้ประกอบการ SMEs ในปี 2557 จะขยายตัวในกรอบที่จำกัด โดยได้รับแรงกดดันจากสภาวการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs บางส่วนชะลอการลงทุนในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ออกไปก่อน

•    บริษัทเอกชนขนาดใหญ่อาจเลือกที่จะปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิมแทนการพัฒนาขึ้นมาใหม่
ปัจจุบัน บริษัทเอกชนขนาดใหญ่มักมีการพัฒนาและใช้โมบายแอพพลิเคชั่นในเชิงธุรกิจอยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับสภาวการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน ทำให้ในปี 2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า บริษัทเหล่านั้นอาจเลือกที่จะปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิมแทนการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใหม่ ซึ่งเม็ดเงินลงทุนสำหรับการปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นดังกล่าวอาจมีจำนวนไม่สูงมากเมื่อเทียบกับการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาในตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไม่สูงมากนัก

    ปัจจัยผลักดันตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น
•    การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคไทยมากขึ้นจากการเปิดให้บริการ 3G/4G และการขยายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายของภาครัฐ

ด้วยโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายฟรีในที่สาธารณะ (Free Wi-Fi) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว หรือแม้แต่กลุ่มประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยในปัจจุบัน มีจุดให้บริการกว่า 150,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งสามารถรองรับการใช้บริการของผู้บริโภคได้ราว 10 ล้านคน ประกอบกับการเปิดให้บริการ 3G และการเริ่มเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในบางพื้นที่เฉพาะเขตเมืองใหญ่ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคไทยสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น และคาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนา รวมถึงการเข้าใช้โมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น อาทิเช่น การชมรายการโทรทัศน์ย้อนหลังหรือการชมภาพยนตร์แบบออนไลน์ และการเล่นเกมออนไลน์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ผู้บริโภคไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ประมาณ 16.2 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 62.0 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดของไทย และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

•    ราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตลดลงสู่จุดที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้
เนื่องจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเข้ามาในตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้ประกอบการที่หลากหลาย เพื่อทำการตลาดกับผู้บริโภคในระดับกลางและระดับล่างมากขึ้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
 โดยจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในปัจจุบัน ราคาเฉลี่ยของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 9,500 บาท และ 6,500 บาท ตามลำดับ โดยมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 1,690 บาท และ 1,290 บาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้ ส่งผลให้ความนิยมในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และคาดว่าจะขยายไปยังตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งนี้ การขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยดังกล่าว ย่อมมีส่วนผลักดันให้ฐานผู้บริโภคในตลาดโมบายแอพพลิเคชั่นไทยเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
•    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในวัยกลางคนถึงวัยเกษียณอายุที่หันมาใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่กันมากขึ้น
จากการใช้งานของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่อยู่ในรูปแบบการสัมผัสบนหน้าจอที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบาย และง่ายต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะการใช้งานของโมบายแอพพลิเคชั่นที่เอื้อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใช้งานได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเว็บบราวเซอร์ ทำให้การใช้โมบายแอพพลิชั่นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีเช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับการช้อปปิ้ง การทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้แต่การศึกษาออนไลน์ เป็นต้น

สำหรับกลุ่มผู้บริโภควัยกลางคนไปจนถึงวัยเกษียณ ที่มีอายุระหว่าง 35-65 ปี ก็เป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีกำลังซื้อ และเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มหันมาใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้มีมากขึ้นเช่นกัน เช่น แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวและอาหารการกินต่างๆ เป็นต้น
 
จากปัจจัยผลักดันต่างๆ ข้างต้นที่คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนที่อยู่ในเทรนด์ธุรกิจใหม่หรือต้องการขยายฐานลูกค้า อาจทำการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค เช่น ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการช่องรายการทีวีดิจิทัล หรือผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ อาจจะพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการรับชมเนื้อหารายการแบบออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางในการขยายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศอีกทางหนึ่ง เป็นต้น
 
ทั้งนี้ จากปัจจัยกดดันและปัจจัยผลักดันตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2557 ธุรกิจรับจ้างพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจะมีมูลค่าประมาณ 820-850 ล้านบาท เติบโตในกรอบร้อยละ 7.4-11.4 จากร้อยละ 17.7 ในปี 2556 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 763.8 ล้านบาท

ประเด็นที่น่าสนใจ...หนุนให้โมบายแอพพลิเคชั่นไทยเติบโตต่อเนื่องในอนาคต
 
 
ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน จะมีผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยเข้ามาในตลาดมากขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปแบบบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ทำให้โมบายแอพพลิเคชั่นไทยมีความหลากหลายมากขึ้น แต่การที่จะทำให้โมบายแอพพลิเคชั่นไทยมีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนั้น ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ควรพิจารณาถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้

•    ปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่องตามเทรนด์ในรูปแบบที่สร้างสรรค์และแตกต่าง
เนื่องจากตลาดโมบายแอพพลิเคชั่นทั่วโลกมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด โดยมีผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ รวมถึงนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ทั้งในไทยและต่างประเทศเข้ามาในตลาดมากขึ้น ทำให้โมบายแอพพลิเคชั่นในประเภทหนึ่งๆ มีแอพพลิเคชั่นให้เลือกอย่างมากมาย และแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นอาจจะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น จึงควรหมั่นปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นของตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีจุดเด่น แตกต่าง และแปลกใหม่ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ในอนาคต

นอกจากนี้ การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ และบริษัทเอกชนต่างๆ ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นควรทำความเข้าใจและพยายามตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้ว่าจ้างดังกล่าวด้วย

•    พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้
    ด้วยระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีอย่างหลากหลาย ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจึงควรพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับกับระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้ เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น


•    ร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนานักพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น
    ถึงแม้ว่า ในปัจจุบัน จะมีหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ของไทย สนใจทำโมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ส่งผลให้บุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการที่อยู่ในระดับสูง ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอาจทำการร่วมมือกับสถานศึกษาในการเปิดหลักสูตรการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เพื่อเตรียมพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=219827:-114--&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.UwnObvSSwcs





ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.