23 กุมภาพันธ์ 2557 กองบังคับการปราบปรามฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ที่จำหน่ายในประเทศไทยนั้นเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึง 70% สหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องจับตา
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ซึ่งกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ที่จำหน่ายในประเทศไทยนั้นเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึง 70% และสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องจับตา (Priority Watch List) ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ หอการค้าสหรัฐอเมริกายังได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับรองสุดท้ายในเรื่องของการเคารพลิขสิทธิ์ โดยมีอินเดียเพียงประเทศเดียวที่อยู่ในอันดับต่ำกว่า
______________________________________
เตือนใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เสี่ยงติดไวรัส-มัลแวร์ สูง
ไมโครซอฟท์ เตือนใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนสร้างความเสี่ยงให้ข้อมูลและเครื่อง แนะ 4 ขั้นตอนง่ายๆ สังเกตซอฟต์แวร์แท้หรือเถื่อน...
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยแพร่บทความเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้และจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยระบุว่า ในยุคที่ทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคชาวไทยกำลังเผชิญกับภัยคุกคามใหม่ๆ ที่มาในรูปแบบของไวรัสคอมพิวเตอร์และมัลแวร์ ซึ่งสามารถขโมยอัตลักษณ์บุคคลออนไลน์ ทำให้ข้อมูลสูญหายหรืออาจทำให้ระบบล่มได้ ขณะเดียวกันก็มีคนบางกลุ่มพยายามหาเงินจากการขายและติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมองข้ามภัยและอันตรายดังกล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ซึ่งกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ที่จำหน่ายในประเทศไทยนั้นเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึง 70% และสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องจับตา (Priority Watch List) ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ หอการค้าสหรัฐอเมริกายังได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับรองสุดท้ายในเรื่องของการเคารพลิขสิทธิ์ โดยมีอินเดียเพียงประเทศเดียวที่อยู่ในอันดับต่ำกว่า
แม้จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่การละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของไทยอย่างต่อเนื่อง และยังส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานด้วย ซึ่งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ได้รับผลกระทบ โดยมีการเปิดเผยรายงานการสำรวจด้านความปลอดภัยจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า 63% ของดีวีดีซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์และคอมพิวเตอร์ที่มีการลงโปรแกรมวินโดวส์แบบผิดกฎหมายนั้น มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดมัลแวร์และไวรัส
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา มีผู้บริโภคกว่า 400,000 คนทั่วโลก ติดต่อไมโครซอฟท์ผ่านเว็บไซต์ How to Tell เพื่อแจ้งว่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทำให้เครื่องของพวกเขาติดไวรัสและมัลแวร์นั้นมีลักษณะอย่างไร นอกจากนี้สินค้าเหล่านั้นยังทำให้เครื่องทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนที่โฆษณาไว้ด้วย โดยไมโครซอฟท์ได้รับรายงานเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์จากลูกค้าในราว 4,500 เรื่องต่อเดือน
ด้วยเทคโนโลยีที่เหล่าอาชญากรนำมาใช้ในการผลิตซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้บริโภคที่จะรู้เท่าทันว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อมานั้นถูกลิขสิทธิ์หรือไม่ ด้วยข้อสังเกตง่ายๆ 4 ประการ เพื่อช่วยให้สามารถตรวจสอบซอฟต์แวร์ว่าคุณจะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด อาทิ การเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่เชื่อถือได้ และมีฉลากลิขสิทธิ์แท้จากไมโครซอฟท์หรือฉลากรับรองความถูกต้อง (COA) ซึ่งเป็นสติกเกอร์หรือฉลากที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผลิตภัณฑ์ เช่น Windows, Office หรือ Windows Server โดยทั่วไปจะอยู่บนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือภายในช่องใส่แบตเตอรี่สำหรับแล็ปท็อปรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ต้องมีแผ่นกู้ข้อมูลจัดมาให้พร้อมกับเครื่องที่ซื้อ และสังเกตข้อผิดพลาดง่ายๆ เช่น การสะกดคำผิดบนบรรจุภัณฑ์สามารถช่วยให้คุณระบุได้ว่าซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่องนั้นเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โลโก้และรูปภาพที่ผิดพลาด หรือไม่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่คุณซื้อก็อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ แล้วสงสัยว่าเครื่องของคุณอาจจะได้รับการติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็สามารถส่งเรื่องร้องเรียนไปที่ www.microsoft.com/piracy โดยไมโครซอฟท์อาจทำการส่งสินค้าทดแทนให้ในกรณีที่ลูกค้าโดนหลอกให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/405462
ไม่มีความคิดเห็น: