23 กุมภาพันธ์ 2557 การสำรวจร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบ APP Lifestyle มีสัดส่วนมากที่สุด และคนไทยยอมเงินโดยเฉลื่ยประมาณ 68 บาท
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่าโมบายแอพพลิเคชั่นไทยถูกจัดอยู่ในประเภทรองรับรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) มากที่สุด โดยมีสัดส่วนประมาณ 26.7% ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ขณะที่แอพพลิเคชั่นสำหรับความบันเทิง (Entertainment) และการศึกษา (Education) มีสัดส่วนอยู่ที่ 20.1% แล 19% ตามลำดับ โดยโมบายแอพพลิเคชั่นไทยในปัจจุบัน มักถูกแจกจ่ายให้ดาวน์โหลดฟรี หรือจำหน่ายในราคาเฉลี่ยประมาณ 2.1 ดอลลาร์ต่อแอพพลิเคชั่น (ประมาณ 68 บาท) โดยมีสัดส่วนการดาวน์โหลดในรูปแบบฟรีมากถึง 81.5%
ขณะที่การดาวน์โหลดแบบชำระเงิน มีสัดส่วนเพียง 18.5% จากจำนวนแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีรูปแบบเฉพาะ หรือมีฟังก์ชั่นพิเศษ อาทิ แอพพลิเคชั่นอ่านหนังสือเพื่อการศึกษา หรือเพื่อเสริมสร้างทักษะแก่เด็กแบบออนไลน์ หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการแปลภาษา เป็นต้น โดยมีสัดส่วนสูงถึง 29.9% ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินทั้งหมด
______________________________________
คาดธุรกิจพัฒนาโมบายแอพฯไทย ปีนี้ทะลุ 800 ล้านบาท
"ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" เผยหมวดไลฟ์สไตล์ ครองแชมป์โมบายแอพพลิเคชั่น กว่า 81.5% เป็นแบบแจกฟรี ชี้ ปีนี้การพัฒนาแอพฯ ใหม่ชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองกดดัน...
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นในประเทศไทย โดยระบุว่า ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร ทั้งเครือข่ายโทรคมนาคมและความนิยมในอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ส่งผลให้โมบายแอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้น มีบทบาทต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ ดูรายการโทรทัศน์ย้อนหลัง หรือดูซีรีส์ต่างประเทศผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ หรือหน่วยงานของรัฐก็สามารถใช้โมบายแอพพลิเคชั่นเป็นช่องทางติดต่อสื่อสาร หรือทำการตลาด
ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่าโมบายแอพพลิเคชั่นไทยถูกจัดอยู่ในประเภทรองรับรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) มากที่สุด โดยมีสัดส่วนประมาณ 26.7% ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ขณะที่แอพพลิเคชั่นสำหรับความบันเทิง (Entertainment) และการศึกษา (Education) มีสัดส่วนอยู่ที่ 20.1% แล 19% ตามลำดับ โดยโมบายแอพพลิเคชั่นไทยในปัจจุบัน มักถูกแจกจ่ายให้ดาวน์โหลดฟรี หรือจำหน่ายในราคาเฉลี่ยประมาณ 2.1 ดอลลาร์ต่อแอพพลิเคชั่น (ประมาณ 68 บาท) โดยมีสัดส่วนการดาวน์โหลดในรูปแบบฟรีมากถึง 81.5%
ขณะที่การดาวน์โหลดแบบชำระเงิน มีสัดส่วนเพียง 18.5% จากจำนวนแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีรูปแบบเฉพาะ หรือมีฟังก์ชั่นพิเศษ อาทิ แอพพลิเคชั่นอ่านหนังสือเพื่อการศึกษา หรือเพื่อเสริมสร้างทักษะแก่เด็กแบบออนไลน์ หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการแปลภาษา เป็นต้น โดยมีสัดส่วนสูงถึง 29.9% ของโมบายแอพพลิเคชั่นไทยที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินทั้งหมด
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคาดการณ์ว่า ในปี 2557 ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันกดดันให้ผู้ประกอบการเอกชนบางส่วน ชะลอการลงทุนพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ และเลือกที่จะปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยผลักดันการเติบโตตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจากความต้องการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นจากการเปิดให้บริการ 3จี 4จี และราคาสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตลดลงสู่จุดที่ผู้บริโภคทุกระดับ สามารถจับจ่ายได้มากขึ้น เป็นต้น โดยปัจจัยกดดันตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมีสาเหตุจากผู้ประกอบการบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ชะลอการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ อาจเลือกที่จะปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิมแทนการพัฒนาขึ้นมาใหม่
ส่วนปัจจัยผลักดันตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น มีสาเหตุจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเปิดให้บริการ 3จี 4จี และการขยายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายของภาครัฐ ประกอบกับราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ลดลงสู่จุดที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในวัยกลางคนถึงวัยเกษียณอายุที่หันมาใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่กันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นน่าสนใจที่คาดว่า เป็นประเด็นสนับสนุนให้โมบายแอพพลิเคชั่นไทยเติบโตต่อเนื่องในอนาคต ทั้งจากปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่องตามเทรนด์ในรูปแบบที่สร้างสรรค์และแตกต่าง การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้ รวมถึงความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการพัฒนานักพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น
นอกจากนี้ แม้ปัจจุบันจะมีหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ของไทย สนใจทำโมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น แต่ยังถือเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ส่งผลให้บุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีอยู่ในระดับสูง ซึ่งผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น อาจทำการร่วมมือกับสถานศึกษาในการเปิดหลักสูตรการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เพื่อเตรียมพัฒนาและเตรียมความ พร้อมของบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาด
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/405221
ไม่มีความคิดเห็น: