Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กุมภาพันธ์ 2557 Samart i-mobile 3GX เจรจาเป็น MVNO AIS !! กรณีสัญญาเช่าคลื่น 2100 จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ของ TOT กับ AIS กำลังรอการอนุมัติจาก กสทช.


ประเด็นหลัก


นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ต้องเลื่อนพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างทีโอที

และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จากวันที่ 20 ก.พ. 2557 ออกไป เนื่องจากมีข้อท้วงติงว่า ควรนำ MOU ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาก่อน ฝ่ายบริหารจึงจะนำเสนอบอร์ดในวันที่ 26 ก.พ.นี้ ในเบื้องต้น MOU มีระยะเวลา 1 ปี แต่กำลังพิจารณาขยายเวลาให้นานขึ้น



อย่างไรก็ตาม ในการแก้ปัญหาเบื้องต้น ทางทีโอทีมีแผนสำรองในการให้เอไอเอส เช่าใช้คลื่นความย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ของทีโอที จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเบื้องต้นเจรจากับเอไอเอสเรียบร้อย โดยจากนี้จะเข้าสู่การพิจารณาความถูกต้องทางด้านกฎหมาย ความเห็นชอบของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และบอร์ดทีโอที ตามลำดับ ทั้งนี้ ทีโอทียังมีธุรกิจอื่นๆที่เตรียมทำร่วมกับเอไอเอส ประกอบด้วย ให้เอไอเอสเช่าใช้อุปกรณ์เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ต ให้เอไอเอสใช้จุดบริการเชื่อมต่อบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (ไวไฟ) และบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

"สาเหตุที่เราทำสัญญาร่วมกับเอไอเอส เนื่องจากการทำโครงการ 3จี ที่ผ่านมายอมรับว่าล้มเหลว มีการลงทุน 2 หมื่นล้านบาท แต่รายได้ปีแรกกลับมีแค่ 300 ล้านบาทเท่านั้น ด้วยสาเหตุข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสถานีฐานที่ล่าช้า พื้นที่ครอบคลุมให้บริการ และการที่เราทำตลาดไม่เก่ง" นายยงยุทธกล่าว

นายยงยุทธกล่าวว่า นอกจากนี้ จากเดิมที่ทีโอที มีแผนจะดำเนินโครงการให้บริการ 3จี ทีโอที ในเฟส 2 แต่ล่าสุดตัดสินใจยกเลิกแล้ว เนื่องจากจะเน้นไปที่แผนธุรกิจผ่านการใช้พันธมิตรทางธุรกิจแทน ซึ่งทีโอทีเองไม่มีศักยภาพพอที่จะลงทุนด้วยตนเอง อีกทั้งหากต้องกู้เงิน ก็เชื่อว่าคงไม่มีสถาบันการเงินยอมปล่อยกู้ให้ เมื่อเทียบจากความล้มเหลวในเฟสแรก




เอไอเอสแล้ว ยังเจรจากับกลุ่มล็อกซเล่ย์ เพื่อเช่าใช้อุปกรณ์อินเตอร์เนตด้วย  รวมทั้งกลุ่มสามารถ คอร์ปอเรชั่น เพื่อบริการการขายส่งขายต่อ (เอ็มวีเอ็นโอ) 3G เช่นกัน



______________________________________











"AIS"ลุ้นบอร์ดทีโอทีไฟเขียว แชร์ใช้ไวไฟ-ADSL-คลื่น2.1


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"ทีโอที" รอบอร์ดอนุมัติ MOU ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วม "เอไอเอส" เหมาหมดทั้ง "ไวไฟ-บรอดแบนด์ ADSL-คลื่น 2.1 GHz" 26 ก.พ.นี้ หวังโกยรายได้จากค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ฟากสัญญา MVNO 3G รอ "ซีอีโอ" ตัดสินใจ



นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ต้องเลื่อนพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างทีโอที

และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จากวันที่ 20 ก.พ. 2557 ออกไป เนื่องจากมีข้อท้วงติงว่า ควรนำ MOU ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาก่อน ฝ่ายบริหารจึงจะนำเสนอบอร์ดในวันที่ 26 ก.พ.นี้ ในเบื้องต้น MOU มีระยะเวลา 1 ปี แต่กำลังพิจารณาขยายเวลาให้นานขึ้น

สาระสำคัญของ MOU เป็นข้อตกลงในการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ทั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL อินเทอร์เน็ตไร้สาย Wi-Fi และการโรมมิ่งคลื่น 2.1 GHz โดยเอไอเอสจะจ่ายค่าตอบแทนการใช้ให้ทีโอทีในรูปแบบเหมาจ่าย คาดว่าทีโอทีจะได้รายได้เข้ามาไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

โดยทีโอทีมีหน้าที่อัพเกรดโครงข่ายให้ได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน อาทิ เพิ่มสปีดความเร็ว Wi-Fi ทั่วประเทศ จาก 2 Mbps เป็น 10 Mbps ปรับปรุงโครงข่าย ADSL ในพื้นที่ที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นการบำรุงรักษาโครงข่ายที่ต้องดำเนินการทุกปีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องตั้งงบประมาณเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ส่วนการโรมมิ่งคลื่น 2.1 GHz เอไอเอสขอสิทธิ์ในการให้ลูกค้าของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ผู้ให้บริการ "AIS 3G" โรมมิ่งบนโครงข่ายทีโอที 500,000 เลขหมาย เสนอค่าตอบแทนเป็นแพ็กเกจ ไม่ได้คิดเป็นนาทีตามรูปแบบการโรมมิ่งทั่วไป แม้โครงข่าย TOT3G เฟสแรกจะมีสถานีฐานแค่ 5,320 แห่ง แต่อยู่ในเขตเมืองที่มีการใช้ดาต้าหนาแน่น ขณะที่มีการใช้งานจริงแค่ 5 แสนกว่าเลขหมาย ทั้งที่รองรับได้ถึง 7.2 ล้านเลขหมาย

ส่วนการเจรจา เพื่อให้เอไอเอสเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ในบริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz แม้ได้ข้อตกลงร่วมกันเบื้องต้นว่า จะใช้โมเดลเดียวกับการทำสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น (กรณี BFKT) โดยเอไอเอสเป็นผู้ขยายโครงข่าย ให้ทีโอทีเช่าใช้แล้วนำความจุของโครงข่ายที่ได้ไปขายส่งให้โอเปอเรเตอร์ที่ สนใจเข้ามาซื้อเพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย แต่ต้องรอให้มีคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ

ด้านความคืบหน้าของการทำ สัญญาขายส่งขายต่อบริการ (MVNO) TOT3G แหล่งข่าวระดับสูงภายในทีโอทีเปิดเผยว่า ฝ่ายบริหารได้ปรับปรุงรายละเอียดสัญญา MVNO รวมถึงผลตอบแทนตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดท้วงติง ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาร่างสัญญาฉบับใหม่ และส่งกลับมาให้ทีโอทีแล้ว ขณะนี้รอแค่กรรมการผู้จัดการใหญ่จะตัดสินใจว่าจะทำสัญญาเมื่อใด

ปัจจุบัน ลูกค้า TOT3G มี 530,000 เลขหมาย เป็นลูกค้าที่ทีโอทีทำตลาดเอง 120,000 เลขหมาย ที่เหลือเป็นลูกค้าในระบบ MVNO โดยปีที่ผ่านมามีรายได้ราว 300 ล้านบาท แต่ปีนี้ตามแผนธุรกิจต้องมีรายได้ 2,900 ล้านบาท แต่จะได้ต้องทำสัญญาขายความจุโครงข่ายให้ MVNO 80-90% โดยมีสัญญาที่จะทำกับ บมจ.สามารถฯ เป็นต้นแบบ เนื่องจากขอสิทธิความจุโครงข่ายถึง 40% หรือ 2.8 ล้านเลขหมาย

"MVNO เป็นหัวใจสำคัญในการทำตลาด 3G ทีโอที จากการแข่งขันในตลาด ขณะนี้ดุเดือดมากระหว่าง 3 ค่าย ขณะที่งบฯทำตลาดบริการ TOT3G ในปีนี้ของทีโอทีแค่ 25 ล้านบาทเท่านั้น"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393309935

______________________________



"ทีโอที" เลิกทำตลาดมือถือ 3จี พลิกแผนให้เอไอเอสเช่าคลื่น ปีนี้อ่วมขาดรายได้สัมปทาน


ทีโอทีหมดยุคเสือนอนกิน โชว์กำไรปี′56 แค่ 4.1 พันล้าน ลดฮวบ 62% แถมปีนี้คาดขาดทุน 5 พันล้าน ชี้เหตุรายได้สัมปทานมือถือเกลี้ยง เปิดแผนผนึก"เอไอเอส" เป็นหลัก หวังให้เช่าคลื่นทำ 3จี ออกตัวทำเองแล้วเจ๊ง ลงทุน 2 หมื่่นล้าน ปีแรกได้เงินแค่ 300 ล้าน

นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2556 ว่า มีกำไรสุทธิ รวมรายได้จากสัญญาสัมปทาน 4,128 ล้านบาท ลดลง 62% เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 10,874 ล้านบาท สาเหตุเกิดจากการด้อยค่าสินทรัพย์ตามสัญญาร่วมการงานเพิ่มขึ้น 87.9% คิดเป็นมูลค่า 14,728 ล้านบาท และกรณีที่ไม่รวมรายได้สัมปทานจะมีผลขาดทุน 13,993 ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มขึ้น 5.3% ส่วนปี 2557 ทีโอทีคาดมีรายได้ 31,744 ล้านบาท จากปัจจัยให้บริการ 3จีเป็นหลัก แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ จะมีผลประกอบการขาดทุนราว 5 พันล้านบาท จากปัจจัยการขาดรายได้จากในส่วนของสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปีแรก

"ส่วนในปี 2557 เบื้องต้นจะเน้นไปที่ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะสร้างรายได้มาทดแทนที่หายไป พร้อมกับการหาพันธมิตรทำธุรกิจร่วมกัน โดยเฉพาะธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และธุรกิจอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์)" นายยงยุทธกล่าว

นายยงยุทธกล่าวว่า ทางทีโอทียังมีแผนธุรกิจใหม่ ที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญในอนาคต ที่ทำร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส ซึ่งเดิมมีแผนในการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ร่วมกัน เพื่อให้บริการ 3 จี โดยทั้งเอไอเอสและทีโอทีต่างมีอยู่รายละ 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมไปถึงแผนให้อีกฝ่ายเช่าใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน หรือสถานีฐานเพื่อให้บริการ ที่ในปี 2557 ทีโอทีมีสถานีฐานให้บริการอยู่ 5,320 สถานีฐาน และเอไอเอสมี 15,000 สถานีฐาน ซึ่งเบื้องต้นจะส่งผลให้ทีโอที มีรายได้จากค่าเช่าใช้อุปกรณ์ราว 4 พันล้านบาท โดยไม่ต้องลงทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้แผนดังกล่าวต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่มีการยุบสภา จึงต้องชะลอแผนไปก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่

อย่างไรก็ตาม ในการแก้ปัญหาเบื้องต้น ทางทีโอทีมีแผนสำรองในการให้เอไอเอส เช่าใช้คลื่นความย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ของทีโอที จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเบื้องต้นเจรจากับเอไอเอสเรียบร้อย โดยจากนี้จะเข้าสู่การพิจารณาความถูกต้องทางด้านกฎหมาย ความเห็นชอบของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และบอร์ดทีโอที ตามลำดับ ทั้งนี้ ทีโอทียังมีธุรกิจอื่นๆที่เตรียมทำร่วมกับเอไอเอส ประกอบด้วย ให้เอไอเอสเช่าใช้อุปกรณ์เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ต ให้เอไอเอสใช้จุดบริการเชื่อมต่อบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (ไวไฟ) และบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

"สาเหตุที่เราทำสัญญาร่วมกับเอไอเอส เนื่องจากการทำโครงการ 3จี ที่ผ่านมายอมรับว่าล้มเหลว มีการลงทุน 2 หมื่นล้านบาท แต่รายได้ปีแรกกลับมีแค่ 300 ล้านบาทเท่านั้น ด้วยสาเหตุข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสถานีฐานที่ล่าช้า พื้นที่ครอบคลุมให้บริการ และการที่เราทำตลาดไม่เก่ง" นายยงยุทธกล่าว

นายยงยุทธกล่าวว่า นอกจากนี้ จากเดิมที่ทีโอที มีแผนจะดำเนินโครงการให้บริการ 3จี ทีโอที ในเฟส 2 แต่ล่าสุดตัดสินใจยกเลิกแล้ว เนื่องจากจะเน้นไปที่แผนธุรกิจผ่านการใช้พันธมิตรทางธุรกิจแทน ซึ่งทีโอทีเองไม่มีศักยภาพพอที่จะลงทุนด้วยตนเอง อีกทั้งหากต้องกู้เงิน ก็เชื่อว่าคงไม่มีสถาบันการเงินยอมปล่อยกู้ให้ เมื่อเทียบจากความล้มเหลวในเฟสแรก




ที่มา : นสพ.มติชน

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393298718

_________________________


\


นายยงยุทธ  วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือTOT เปิดเผยว่า ปี 2557 นี้ถือเป็นปีครบรอบก่อตั้งทีโอที 60 ปี โดย ทีโอที เน้นที่จะยกระดับการให้บริการด้วยคุณภาพ และจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานเพื่อกระตุ้นยอดขายเพิ่มรายได้ ทั้งเร่งการขยายตลาดอินเตอร์เนตความเร็วสูง การต่อยอดโทรศัพท์พื้นฐาน  การให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G  ด้วยการเจรจาหาพันธมิตร

ส่วนแผนการลงทุน 3G นั้น ทีโอที จะไม่ลงทุนอีกต่อไป แต่เน้นจะเน้นการร่วมมือกับพันธมิตรแทนโดยปี 2557 ตั้งเป้าว่าจะมีรายได้ 31,744 ล้านบาท ขาดทุน 5,000 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนมาจากขาดรายได้ที่เคยได้รับจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ (เอไอเอส) ที่หายไปตั้งแต่ธันวาคม ปี 2556 ที่ผ่านมา เป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่ค่าสัมปทานต้องส่งให้ กระทรวงการคลัง

นายยงยุทธกล่าวว่า ในส่วนของการเจรจาหาพันธมิตรทางธุรกิจนั้น ทีโอที ที่ผ่านมาได้เจรจากับ บริษัท เอไอเอส  เพื่อทำสัญญาการให้บริการ 3 G บนคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิตรซ์ (MHz)  จำนวน 15 MHz ร่วมกัน โดยนำเสา และสถานีฐาน 15,000 แห่งของ เอไอเอส และ 5,320 แห่งของทีโอที มาใช้งานร่วมกัน เพื่อให้บริการ 3G ได้ครอบคลุมทุกพื้นฐาน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ทีโอทีปีละ 4,000 ล้านบาท จะทำสัญญาลักษณะเดียวกันกับสัญญา 3G  ของบริษัท  กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แต่โครงการดังกล่างต้องสะดุดลง เนื่องจากมีการยุบสภา ดังนั้นก็ต้องรอครม.ชุดใหม่ ทีโอทีก็จะเสนอครม.พิจารณาอนุมัติต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่สามารถเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้ ทีโอที จึงจำเป็นต้องหาช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้ ด้วยการเจรจากับกลุ่มเอไอเอสอีกรูปแบบอื่นๆ 1.การทำสัญญา 3G ระหว่างทีโอที กับเอไอเอส โดยใช้คลื่นความถี่  5  MHz เอไอเอส เช่าใช้สถานีฐานของทีโอที 5,320 แห่ง สร้างรายได้ปีละ 800 ล้านบาท 2.สัญญาการเช่าใช้โครงข่ายเคเบิล และอุปกรณ์ เพื่อให้บริการอินเตอร์เนต รวมถึงการจ้างทีโอทีติดตั้งอินเตอร์เนตด้วย 3. การทำสัญญาเช่าใช้อุปกรณ์อินเตอร์เนตไร้สาย(ไวไฟ)ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศ  50,000 จุด และ 4.การเช่าใช้โปรแกรมแอพิเคชั่น เอ็ม-เพย์ และจัส-เพย์ เพื่อให้บริการผู้บริโภค โดยจะแบ่งรายได้ที่เกิดขึ้น 50:50 โดยทางเลือกดังกล่าว จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม คณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีก่อนเช่นกัน จึงจะสามารถดำเนินการลงนามในสัญญาได้  ซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องเสนอบอร์ดพิจารณาในเดือนมีนาคม 2557

ส่วนกระแสการเมืองต่อต้านเอไอเอส อาจส่งผลต่อทีโอทีนั้น นายยงยุทธ์ ยืนยันว่า การพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องวางตัว
เป็นกลาง และคำนึงถึงผลประโยชน์องค์กร และประเทศชาติ  เอกชนรายใดที่มีไมตรีจิตที่ดี ก็พร้อมเจรจาด้วย ขณะนี้นอกจาก
เอไอเอสแล้ว ยังเจรจากับกลุ่มล็อกซเล่ย์ เพื่อเช่าใช้อุปกรณ์อินเตอร์เนตด้วย  รวมทั้งกลุ่มสามารถ คอร์ปอเรชั่น เพื่อบริการการขายส่งขายต่อ (เอ็มวีเอ็นโอ) 3G เช่นกัน

“ทีโอที มีทางเลือกไม่มาก  หากไม่ดำเนินการใดๆ ทีโอที ต้องขาดทุน และอาจขาดทุนสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่หากลงนามกับเอไอเอสได้ ปี 2558 ก็จะมีกำไรหลักร้อยล้านบาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมขอย้ำทีโอทีจะลงนามในสัญญาใด  จะต้องถูกต้องและตอบคำถามสังคมได้” นายยงยุทธ กล่าว

http://www.naewna.com/business/92147

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.