26 กุมภาพันธ์ 2557 (เกาะติดการประมูล4G) กสทช.กำลังพิจารณาคลื่น 900 MHz ตามสัมปทานเอไอเอส มี 20 MHz คาดแบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz
ประเด็นหลัก
พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้คณะทำงานเตรียมร่าง หลักเกณฑ์เพื่อประกาศเชิญชวนให้เสร็จในต้นเดือน เม.ย.ก่อนนำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ เพื่อให้ทันประกาศเชิญชวนในเดือน ก.ค.นี้ สำหรับประเด็นสำคัญที่ต้องประชาพิจารณ์ ได้แก่ จำนวนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่จะนำมาประมูล
"คลื่น 900 MHz ตามสัมปทานเอไอเอส มี 20 MHz แต่ในเบื้องต้น กทค.ให้นำมาประมูลคลื่น 17.5 MHz ก่อน เพราะต้องกันไว้สำหรับการ์ดแบนด์เพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวน จึงต้องไปรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการก่อนว่าจะตัดการ์ดแบนด์ออกเพื่อให้ ใช้งานได้เต็ม 20 MHz หรือไม่ หากทำได้ การให้ใบอนุญาต 1 ใบ สำหรับ 20 MHz อาจได้คลื่นมากเกินไป คงต้องแบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ซึ่งต้องพิจารณาว่าคลื่นลอตด้านซ้ายอาจมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนจากโอ เปอเรเตอร์ที่ใช้คลื่นซีกนั้นอยู่ ส่วนคลื่นที่จัดประมูลครั้งนี้ไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้บริการต้องนำไปใช้กับ เทคโนโลยีใด แต่หลัก ๆ ที่จะนำไปใช้คงเป็น 4G"
______________________________________
กทค.ชงITUตั้งราคาคลื่น4G ลุ้นแจก4ไลเซนส์1800-900
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"กทค." นำร่องเปิดประมูลคลื่น 4G ส.ค.แบ่งความถี่ 1800 MHz ชิงดำ 2 ใบอนุญาต ถือยาว 19 ปี พร้อมดึงคลื่น 900 MHZ ของเอไอเอส และ 1800 MHz ของดีแทค มาประมูลล่วงหน้าก่อนหมดสัมปทาน แต่อายุไลเซนส์เหลือ 15 ปี สั่ง "สำนักงาน กสทช." พิจารณาการกำหนดเพดานถือครองคลื่นขั้นสูงป้องกันการผูกขาดตลาด และให้ ITU เร่งศึกษามูลค่าคลื่นก่อนกำหนดราคาตั้งต้น
พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กทค. (18 ก.พ.) ได้พิจารณารายงานของคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ 1800 MHz ต่อผลการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เกี่ยวกับนโยบายในการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องแล้วมีมติว่าจะจัดการ ประมูลคลื่น 1800 MHz ในส่วนของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่สิ้นสุดสัมปทานไปแล้วเมื่อ ก.ย. 2556 ในเดือน ส.ค.ปีนี้ จำนวน 2 ใบอนุญาต มีอายุ 19 ปีแถบความถี่ 12.5 MHz และจะออกใบอนุญาตให้เสร็จภายใน 1 ก.ย. 2557
และในเดือน พ.ย.จะจัดประมูลคลื่น 900 MHz ภายใต้สัมปทาน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เป็นการล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย. 2558 จำนวน 1 ใบอนุญาต แถบความถี่ 17.5 MHz อายุ 15 ปี แต่จะออกใบอนุญาตให้หลังสัมปทานเอไอเอสสิ้นสุดลง โดยเอไอเอสมีหนังสือยินยอมให้ กทค.จัดประมูลล่วงหน้ามาแล้ว
ขณะที่ คลื่น 1800 MHz อีก 2 x 50 MHz ที่อยู่ภายใต้สัมปทานให้บริการของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะสิ้นสุดในปี 2561 จะมีการจัดประมูลภายในปี 2558 เป็นการจัดประมูล
ล่วงหน้าก่อนสิ้นสุด สัมปทานเช่นกัน แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีกี่ใบอนุญาต แต่มีอายุ 15 ปี เพื่อให้การสิ้นสุดใบอนุญาตรอบถัดไปเกิดขึ้นพร้อมคลื่น 1800 MHz ที่จะประมูลเดือน ส.ค.
พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้คณะทำงานเตรียมร่าง หลักเกณฑ์เพื่อประกาศเชิญชวนให้เสร็จในต้นเดือน เม.ย.ก่อนนำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ เพื่อให้ทันประกาศเชิญชวนในเดือน ก.ค.นี้ สำหรับประเด็นสำคัญที่ต้องประชาพิจารณ์ ได้แก่ จำนวนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่จะนำมาประมูล
"คลื่น 900 MHz ตามสัมปทานเอไอเอส มี 20 MHz แต่ในเบื้องต้น กทค.ให้นำมาประมูลคลื่น 17.5 MHz ก่อน เพราะต้องกันไว้สำหรับการ์ดแบนด์เพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวน จึงต้องไปรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการก่อนว่าจะตัดการ์ดแบนด์ออกเพื่อให้ ใช้งานได้เต็ม 20 MHz หรือไม่ หากทำได้ การให้ใบอนุญาต 1 ใบ สำหรับ 20 MHz อาจได้คลื่นมากเกินไป คงต้องแบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ซึ่งต้องพิจารณาว่าคลื่นลอตด้านซ้ายอาจมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนจากโอ เปอเรเตอร์ที่ใช้คลื่นซีกนั้นอยู่ ส่วนคลื่นที่จัดประมูลครั้งนี้ไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้บริการต้องนำไปใช้กับ เทคโนโลยีใด แต่หลัก ๆ ที่จะนำไปใช้คงเป็น 4G"
ขณะเดียวกันได้ให้ทาง ITU ศึกษาเกี่ยวกับมูลค่าคลื่นความถี่เพื่อนำมาเป็นราคาตั้งต้นประมูล และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าร่วมประมูล รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขความครอบคลุมโครงข่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตในระดับที่ เหมาะสม แม้ในรายงานของ ITU ก่อนหน้านี้จะมองว่าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อไม่มีความจำเป็น
"กฎหมายระบุให้ กทค.มีหน้าที่ต้องเปิดให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาด ดังนั้นแม้ไม่มีรายใหม่ เพราะ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมจะปิดช่องไม่ให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจได้ แต่ กทค.ต้องเปิดช่องไว้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ส่วนแต้มต่อสำหรับรายใหม่ที่จะทำได้ต้องหลังประมูล อาทิ สิทธิพิเศษในการจ่ายเงินประมูล ไม่สามารถให้แต้มต่อในกระบวนการประมูลที่ทำให้แต่ละรายได้สิทธิไม่เท่ากัน ได้"
นอกจากนี้ได้มอบให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาการกำหนดเพดานการถือครองคลื่นขั้นสูง (Spectrum Caps) ว่าควรกำหนดในรูปแบบใด เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการถือครองคลื่นมากเกินไปจนเกิดการผูกขาดในตลาด หากสำนักงาน กสทช.เห็นว่าควรกำหนดก่อนการจัดประมูลครั้งนี้ต้องเร่งดำเนินการ พร้อมกันนี้ให้ประสานกับ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำคลื่นของเอไอเอสและดีแทคมาประมูลก่อนสัมปทานสิ้นสุดด้วย
สำหรับงบประมาณในการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz สำนักงาน กสทช.ได้เตรียมไว้ 80 ล้านบาท และอีก 50 ล้านบาท สำหรับการจัดประมูลคลื่น 900 MHz
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393399906
ไม่มีความคิดเห็น: