26 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้อง CAT กรณีออกประกาศซิมดับ ( เรียกค่าเสียหาย 2.7 แสนล้านบาท และขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช. เหตุประกาศ SIM )
ประเด็นหลัก
จนกระทั้ง ศาลปกครองกลาง มีคำสั่ง ไม่รับคำฟ้องบางข้อหาไว้พิจารณา และยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองไว้ชั่วคราวก่อนการพิจารณา ส่งผลให้ข้อหาตามคำฟ้องของ CAT ใน 5 ประเด็นต้องตกไป และคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ CAT ที่ต้องการให้ศาลสั่งระงับการใช้และหรือดำเนินการใดตามประกาศห้ามซิมดับเป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จึงต้องตกไปเช่นกันนั้น เรื่องดังกล่าว นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่ารู้สึกพอใจกับผลของคำตัดสินของศาลปกครองกลาง ซึ่งได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้อย่างละเอียด ครบถ้วน โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า การออกประกาศห้ามซิมดับเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ซึ่งจะต้องคุ้มครองบริการโทรคมนาคมอันเป็นบริการสาธารณะไม่ให้ต้องสะดุดหยุดลง โดยได้มีกระบวนการออกประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นในชั้นนี้ จึงยังไม่มีเหตุอันสมควรที่จะสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวตามที่ CAT ขอเพื่อระงับการใช้ประกาศนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
16 กุมภาพันธ์ 2557 CAT ฟ้อง กสทช. ยื่นฟ้องและขอคุ้มครองฉุกเฉิน เรียกค่าเสียหาย 2.7 แสนล้านบาท และขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช. เหตุประกาศ SIM ( สัมปทานชี้ชัด ลูกค้า 17 ล้านเลขหมาย เป็นของ CAT และ CAT ต้องเป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป )
http://magawn19.blogspot.com/2014/02/16-2557-cat-27-sim-17-cat-cat.html
17 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลยกคำร้อง CAT ฟ้อง กสทช. ยื่นฟ้องยกเลิกและขอคุ้มครองฉุกเฉิน เรียกค่าเสียหาย 2.7 แสนลบ. ( CAT เตรียมอุทอรณ์ใน 30 วัน)
http://magawn19.blogspot.com/2014/02/17-2557-cat-27-cat-30.html
______________________________________
กสทช.พอใจศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้อง CAT กรณีออกประกาศซิมดับ
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย
จากกรณีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้ยืนฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (บอร์ด กสทช.) ต่อศาลปกครองกลาง เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของ กสทช. กทค. และสำนักงาน กสทช. ในการออกประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 หรือ (ประกาศห้ามซิมดับ) และการออกคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับคลื่นความถี่ 1800 MHz โดยขอให้เพิกถอนประกาศฯเรียกค่าเสียหายกว่า 2 แสนล้านบาท พร้อมขอให้ กสทช.อนุญาตให้ CAT ใช้คลื่นความถี่ ได้ตลอดไป โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่
จนกระทั้ง ศาลปกครองกลาง มีคำสั่ง ไม่รับคำฟ้องบางข้อหาไว้พิจารณา และยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองไว้ชั่วคราวก่อนการพิจารณา ส่งผลให้ข้อหาตามคำฟ้องของ CAT ใน 5 ประเด็นต้องตกไป และคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ CAT ที่ต้องการให้ศาลสั่งระงับการใช้และหรือดำเนินการใดตามประกาศห้ามซิมดับเป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จึงต้องตกไปเช่นกันนั้น เรื่องดังกล่าว นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่ารู้สึกพอใจกับผลของคำตัดสินของศาลปกครองกลาง ซึ่งได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้อย่างละเอียด ครบถ้วน โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า การออกประกาศห้ามซิมดับเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ซึ่งจะต้องคุ้มครองบริการโทรคมนาคมอันเป็นบริการสาธารณะไม่ให้ต้องสะดุดหยุดลง โดยได้มีกระบวนการออกประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นในชั้นนี้ จึงยังไม่มีเหตุอันสมควรที่จะสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวตามที่ CAT ขอเพื่อระงับการใช้ประกาศนี้
การวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง แม้จะเป็นเรื่องการวินิจฉัยให้ไม่รับฟ้องในบางประเด็นและยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเท่านั้น โดยยังไม่มีผลต่อการแพ้ชนะในเนื้อหาของคดี แต่จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางในครั้งนี้ก็จะส่งผลดีต่อประโยชน์ของผู้บริโภคจำนวนมากที่ยังใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ให้ต้องผวากลัวว่าซิมจะดับอีกต่อไป เนื่องจากคำขอที่CAT ต้องการให้ระงับการใช้ประกาศนี้ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกไปแล้วและไม่สามารถอุทธรณ์คำสั่งของศาลในส่วนนี้ได้ จึงเป็นผลให้ขณะนี้ประกาศห้ามซิมดับยังมีผลคุ้มครองผู้บริโภคตลอดอายุการคุ้มครองชั่วคราวตามประกาศอยู่ ซึ่งจากนี้ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการต่อสู้ในเนื้อหาของคดีโดยเฉพาะในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งตนมั่นใจว่า กสทช. มีพยานหลักฐานที่ชัดเจนที่จะพิสูจน์หักล้างข้อกล่าวหาของ CAT ในทุกประเด็น
“ผลจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า การนำคดีมาฟ้องต่อศาล จะต้องระมัดระวัง ต้องตรวจสอบประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยไม่ควรเร่งรีบฟ้องคดีเร็วจนเกินไป เพราะแม้ในเบื้องต้นจะมีการรับคำฟ้องไว้ แต่เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิฟ้อง ศาลปกครองก็จะมีอำนาจสั่งให้ไม่รับคำฟ้องในข้อหาที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิฟ้องได้ ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีนี้ ทั้งๆ ที่สามารถตรวจสอบให้รอบคอบก่อนได้” นายสุทธิพลกล่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393404649&grpid=&catid=05&subcatid=0504
ไม่มีความคิดเห็น: