03 มีนาคม 2557 SCS โทรศัพท์มือถือรายใหญ่จึงมีสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 250 แห่ง เปิดสาขาเพิ่มปีนี้จะมี 20-30 แห่ง ร้านเกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนสัดส่วนการขายมือถือ 70% // สาขาที่อยู่ในตึกไอทียังเน้นสินค้าไอที 70%
ประเด็นหลัก
ฟาก "วงศ์สมรรถ สรรเพชุดาญาณ" รองประธานบริหาร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยขายแต่สินค้าไอที แต่เมื่อหันมาทำตลาดโทรศัพท์มือถือ แม้เป็นหน้าใหม่ในตลาด แต่ได้เปรียบกว่ารายอื่น เพราะเข้าซื้อหน้าร้านของบลิสเทล ซึ่งในอดีตเป็นร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือรายใหญ่จึงมีสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 250 แห่ง และได้สิทธิ์ในการจำหน่ายและสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือแบรนด์ระดับท็อปด้วย
"การเปิดสาขาเพิ่มปีนี้จะมี 20-30 แห่ง ร้านเกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนสัดส่วนการขายมือถือ 70% ที่เหลือเป็นไอที แต่สาขาที่อยู่ในตึกไอทียังเน้นสินค้าไอที 70% เหมือนเดิม แต่จะนำโทรศัพท์มือถือไปวางไว้ในจุดที่เห็นชัดแทน และร่วมมือกับค่ายมือถือเอไอเอสนำจุดบริการมาตั้งในร้าน ในเบื้องต้นจะมี 10 สาขา"
ทำนองเดียวกันกับกลุ่มแอดไวซ์ "ณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์" ผู้บริหาร "แอดไวซ์" (Advice) เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาตั้งเป้ายอดขายโทรศัพท์มือถือเกือบ 4,000 ล้านบาท แต่ทำได้พันล้านบาท เพราะมั่นใจในสาขาที่มีเยอะถึง 230 แห่ง แต่ลูกค้าไม่เข้ามาซื้อในร้านไอที
ดังนั้นในปีนี้จึงปรับใหม่ ด้วยการเปิดร้านเพิ่มอีก 100 แห่ง เน้นจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ เน้นต่างจังหวัดในอำเภอที่ห่างไกล เพราะยังหาซื้อยาก
"หน้าร้านในเครือข่ายแอดไวซ์ แบ่งเป็นแอดไวซ์ดิสทริบิวชั่นอยู่ในตัวเมือง เป็นร้านขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์กระจายสินค้าให้ระดับอำเภอ อีกแบบคือแอดไวซ์ช็อปและแอดไวซ์มินิจะอยู่นอกอำเภอเมือง ร้านมีขนาด 1-2 คูหา เป็นศูนย์กระจายสินค้าระดับตำบล และร้านแอสวัน เป็นร้านขนาดเล็กในตำบลต่าง ๆ"
______________________________________
"ค้าปลีก (ไอที) มือถือ" รุกประชิดลูกค้า ชิงเค้กสมาร์ทดีไวซ์ 3G
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เป็นที่คาดหมายกันว่าตลาดโทรศัพท์มือถือปีนี้ยังโตต่อเนื่องจากหลายปัจจัยบวก ทั้งความต้องการของผู้บริโภค ราคาที่ปรับลดลง และแรงผลักดันของโอเปอเรเตอร์ ท่ามกลางสารพัดปัจจัยลบอย่างที่รู้กันดี
"สมาร์ทโฟน" เป็นพระเอกที่มีสัดส่วนยอดขายเกินกว่ากึ่งหนึ่งของยอดขายในตลาดรวม ทั้งผู้ค้า, ค่ายมือถือ และบริษัทวิจัยการตลาดคาดการณ์ตรงกันว่า ตลาดรวมอย่างน้อยต้องได้เห็น 18 ล้านเครื่อง หรืออาจทะลุไปไกลถึง 20 ล้านเครื่อง
ชัดเจนว่าการแข่งขันเพื่อแย่งชิงเค้กก้อนนี้คงร้อนแรงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นในธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องที่มีเชนสโตร์ค้าปลีกไอทีทั้งเล็กใหญ่ตบเท้าเข้าสู่ธุรกิจนี้หรือการขับเคี่ยวแข่งขัน และหรือเพิ่มลูกค้าให้เข้าสู่ระบบ 3G ของค่ายมือถือ ทั้งที่ดึงจาก 2G เดิมของตัวเองเข้ามา หรือดึงข้ามค่าย ด้วยสารพัดโปรโมชั่นยั่วใจ
ผู้ค้าไอทีลุยเต็มสูบ
ชัดเจนมาตั้งแต่ปีก่อนว่าเจ้าของร้านค้าปลีกสินค้าไอทีเข้ามาขายสมาร์ทดีไวซ์โดยถ้วนหน้ากัน เริ่มจาก "แท็บเลต" ที่ฮอตฮิตจนเบียด "โน้ตบุ๊ก" ไปจนถึง "สมาร์ทโฟน" แต่ที่ผ่านมาผู้บริโภคคุ้นเคยกับการเดินไปซื้อในร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือมากกว่าถึงกระนั้นผู้ค้าปลีกไอทีไม่ถอยปรับแผนหันมารุกตลาดสมาร์ทโฟนชัดเจน
เริ่มจาก "ไอทีซิตี้" ที่หันมาขยายสาขา โดยปรับขนาดให้เล็กลง เพราะโฟกัสการขายสินค้าไปที่สมาร์ทดีไวซ์ตามพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งในแง่ความนิยมในการใช้ที่เพิ่มขึ้นมาก และเน้นความสะดวกในการเลือกซื้อ เนื่องจากโปรดักต์และราคาไม่ได้แตกต่างกันมาก
"ไอทีซิตี้" จึงต้องปรับตัวเองจากที่เคยเน้นความใหญ่ระดับไอทีซูเปอร์สโตร์มาขยายสาขาที่มีขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 100 ตร.ม.) เน้นขายสมาร์ทดีไวซ์ ภายใต้ชื่อ "ไอทีซิตี้ โมบาย" โดยปีนี้จะเปิดให้ครบ 30 แห่ง เช่นกันกับ "คอมเซเว่น" เจ้าของร้านค้าปลีก "บานาน่าไอที"โดย "สุระ คณิตทวีกุล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น จำกัด เปิดเผยว่า ช่วงแรกเริ่มนำโทรศัพท์มือถือเข้ามาจำหน่ายในร้านบานาน่าไอที แต่กว่าจะขายได้แต่ละเครื่องใช้เวลานาน แม้จะมีสาขามากกว่า 150 แห่ง
ทำให้ในปีนี้หันมาปรับใหม่ โดยส่งร้าน"บานาน่าโมบาย" ที่ขายแต่สมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ เจาะพื้นที่ไปในห้างสรรพสินค้าและคอมมิวนิตี้มอลล์ คาดว่าจะขายได้ดีกว่าเดิม รวมถึงร่วมกับทรูนำ "ทรูช้อป" มาตั้งไว้ในร้าน
ฟาก "วงศ์สมรรถ สรรเพชุดาญาณ" รองประธานบริหาร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยขายแต่สินค้าไอที แต่เมื่อหันมาทำตลาดโทรศัพท์มือถือ แม้เป็นหน้าใหม่ในตลาด แต่ได้เปรียบกว่ารายอื่น เพราะเข้าซื้อหน้าร้านของบลิสเทล ซึ่งในอดีตเป็นร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือรายใหญ่จึงมีสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 250 แห่ง และได้สิทธิ์ในการจำหน่ายและสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือแบรนด์ระดับท็อปด้วย
"การเปิดสาขาเพิ่มปีนี้จะมี 20-30 แห่ง ร้านเกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนสัดส่วนการขายมือถือ 70% ที่เหลือเป็นไอที แต่สาขาที่อยู่ในตึกไอทียังเน้นสินค้าไอที 70% เหมือนเดิม แต่จะนำโทรศัพท์มือถือไปวางไว้ในจุดที่เห็นชัดแทน และร่วมมือกับค่ายมือถือเอไอเอสนำจุดบริการมาตั้งในร้าน ในเบื้องต้นจะมี 10 สาขา"
ทำนองเดียวกันกับกลุ่มแอดไวซ์ "ณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์" ผู้บริหาร "แอดไวซ์" (Advice) เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาตั้งเป้ายอดขายโทรศัพท์มือถือเกือบ 4,000 ล้านบาท แต่ทำได้พันล้านบาท เพราะมั่นใจในสาขาที่มีเยอะถึง 230 แห่ง แต่ลูกค้าไม่เข้ามาซื้อในร้านไอที
ดังนั้นในปีนี้จึงปรับใหม่ ด้วยการเปิดร้านเพิ่มอีก 100 แห่ง เน้นจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ เน้นต่างจังหวัดในอำเภอที่ห่างไกล เพราะยังหาซื้อยาก
"หน้าร้านในเครือข่ายแอดไวซ์ แบ่งเป็นแอดไวซ์ดิสทริบิวชั่นอยู่ในตัวเมือง เป็นร้านขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์กระจายสินค้าให้ระดับอำเภอ อีกแบบคือแอดไวซ์ช็อปและแอดไวซ์มินิจะอยู่นอกอำเภอเมือง ร้านมีขนาด 1-2 คูหา เป็นศูนย์กระจายสินค้าระดับตำบล และร้านแอสวัน เป็นร้านขนาดเล็กในตำบลต่าง ๆ"
ค่ายมือถือรุกประชิดลูกค้า
ในสมรภูมิการแข่งขันระหว่างค่ายมือถือต่างฝ่ายต่างเร่งสปีดดึงลูกค้ามาใช้งาน 3G เต็มพิกัด
"ฐิติพงศ์ เขียวไพศาล" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานการตลาด และการขาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (เอไอเอส) บอกว่า การขยายศูนย์บริการเป็นกลยุทธ์ที่จะเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น โดยจะเพิ่มตามสถานที่จำเป็น เช่น ห้างสรรพสินค้าเปิดใหม่ และบริเวณผู้คนหนาแน่น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ารายเดือนที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันมีอยู่ 440 แห่ง แบ่งเป็นร้านที่บริหารเอง ภายใต้ "เอไอเอสช้อป" 40 แห่ง และบริหารโดยแฟรนไชส์ "เทเลวิซ" อีก 400 แห่ง ทั่วประเทศ
"เอไอเอสช้อปจะมีขนาดใหญ่กว่า ตกแต่งด้วยสีเขียว เพื่อความชัดเจนของแบรนด์ ส่วนเทเลวิซใช้สีฟ้า มีบริการเหมือนเอไอเอสช้อป และจะเปิดเพิ่ม 3G ServicePoint เป็นร้านตู้มือถือในเครือข่ายเอไอเอส จาก 300 แห่ง เป็น 700 แห่ง เพื่อเข้าถึงระดับอำเภอตามต่างจังหวัด แต่จะให้บริการแค่เปลี่ยนแพ็กเกจ, สมัครบริการ และมีเครื่องบางรุ่นวางขาย รวมถึงจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ 700 ตำแหน่ง ไปตั้งบูทตามจุดสำคัญทั่วประเทศไทย เพื่อโปรโมตแบรนด์"
ด้าน "ชัยยศ จิรบวรกุล" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บอกตรงกันว่า มีแผนขยายร้านรวม 100 แห่ง แบ่งเป็นแฟรนไชส์ "ดีแทคเซ็นเตอร์" 50% ที่เหลือเป็นดีแทคฮอลล์ และดีแทคเอ็กซ์เพรส เน้นในห้างสรรพสินค้าเปิดใหม่ และย่านชุมชน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานขายให้เข้าใจเรื่องสมาร์ทโฟน และการใช้อุปกรณ์เหล่านี้บนโลกออนไลน์
โดยมีงบประมาณในการลงทุนทั้งหมดต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา รวม 800 ล้านบาท เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ารายเดือนที่เพิ่มเป็น 3 ล้านเลขหมาย
เชนสโตร์ดังรักษาพื้นที่ขาย
ฟากกลุ่มผู้ค้าปลีกโทรศัพท์มือถือก็จำเป็นต้องรักษาที่ทางของตัวเองเช่นกัน แม้จะไม่ต้องปรับตัวมากนัก เพราะที่ผ่านมาหลายเจ้าปรับตัวรับความนิยมของสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นโดยลำดับมาแล้วไม่น้อย ประสาผู้สันทัดกรณีในวงการค้าปลีกโทรศัพท์มือถือ เรียกว่าต่างเป็นเจ้าถิ่นอยู่ในวงการนี้มายาวนาน
"อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจมาร์ท บอกว่า ยังเน้นขยายสาขาตามห้างสรรพสินค้าเปิดใหม่ เน้นพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อแสดงสมาร์ทโฟนได้ครบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ มีทั้งที่ขยายสาขาเพิ่มในรูปแบบแฟรนไชส์ และลงทุนเองในอัตราเท่า ๆ กัน รวม 45 แห่ง จะทำให้มีสาขาทั้งหมด 300 แห่ง
ขณะที่ "ไพโรจน์ ถาวรสภานันท์" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีจีโฟน จำกัด เจ้าของร้านทีจีโฟน กล่าวว่า ปีนี้ยังคงรุกตลาดโดยขยายสาขาเป็นหลักเหมือนปีที่ผ่านมา โดยเน้นขยายไปในจุดที่คนเยอะ และต้องจัดหน้าร้านให้ดึงดูดลูกค้ามากที่สุด ปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 50 แห่ง เน้นจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นและยี่ห้อที่ผู้บริโภคนิยม และใช้งาน 3G ได้ รองรับกระแสการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393824568
ไม่มีความคิดเห็น: