Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มีนาคม 2557 THAIpbs.มงคล ารเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ทั่วโลกใช้งานสูงถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีในอีก 3-5 ปีข้างหน้าเกิดการหลอมรวม INTERNET และ สมาร์ทโฟน


ประเด็นหลัก


นายมงคล ลีลาธรรม รองผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (DTT Workshop : DVB-T2 Implementation) ว่า หลังออกอากาศทีวีดิจิตอล เม.ย.2557 นี้ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ระบบดีวีบีทีทู (DVB-T2) ที่ทั่วโลกใช้งานสูงถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีในอีก 3-5 ปีข้างหน้าเกิดการหลอมรวม และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคอนเทนต์โดยผ่านสมาร์ทโฟน หรืออินเทอร์เน็ต สามารถเลือกช่องทางรับชมได้ทั้งฝั่งโทรคมนาคม และบรอดคาสท์ โดยในไม่ช้าอาจเข้าสู่เทคโนโลยีโมบายล์ทีวี ในฐานะผู้ประกอบการโครงข่ายจึงต้องเตรียมความพร้อมในการลงทุน เพื่อให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง โดยตั้งงบประมาณสำหรับโครงไว้ 100 ล้านบาท



______________________________________








คาดทีวีดิจิตอลจะหลอมรวมเทคโนโลยีบรอดคาสท์-โทรคมฯใน5ปี


ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล คาดในช่วง 3-5 ปี จะเกิดการหลอมรวมเรื่องการรับชมทีวีดิจิตอล ระหว่างเทคโนโลยีกลุ่มแพร่ภาพ กระจายเสียงกับกลุ่มโทรคมนาคม เชื่อคนดูทีวีผ่านมือถือมากขึ้น แต่ยังห่วงราคาอุปกรณ์แพง...

นายมงคล ลีลาธรรม รองผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (DTT Workshop : DVB-T2 Implementation) ว่า หลังออกอากาศทีวีดิจิตอล เม.ย.2557 นี้ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ระบบดีวีบีทีทู (DVB-T2) ที่ทั่วโลกใช้งานสูงถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีในอีก 3-5 ปีข้างหน้าเกิดการหลอมรวม และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคอนเทนต์โดยผ่านสมาร์ทโฟน หรืออินเทอร์เน็ต สามารถเลือกช่องทางรับชมได้ทั้งฝั่งโทรคมนาคม และบรอดคาสท์ โดยในไม่ช้าอาจเข้าสู่เทคโนโลยีโมบายล์ทีวี ในฐานะผู้ประกอบการโครงข่ายจึงต้องเตรียมความพร้อมในการลงทุน เพื่อให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง โดยตั้งงบประมาณสำหรับโครงไว้ 100 ล้านบาท



นายปีเตอร์ ไซเบิร์ท ผู้อำนวยการบริหารโครงการการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลในระบบดีวีบี กล่าวว่า เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและเติบโตจนได้รับความนิยมในแถบยุโรปมี 4 ประเภท ได้แก่ 1. ซีไอพลัส เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการเข้าถึงสัญญาณภาพ สามารถป้องกันลิขสิทธิ์ และรองรับฟีเจอร์ใหม่ได้ 2.สเปคตรัมในการส่งรับสัญญาณผ่านดาวเทียม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและทางเลือกเรื่องการใช้คลื่นความถี่ ดาต้าเบส และเหมาะสำหรับทีวีดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 3.การเข้ารหัสของสัญญาณวิดีโอ เป็นมาตรฐานกลางแบบใหม่ สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่ เหมาะสำหรับบริการแบบใหม่ และ 4. อัลตร้าไฮเดฟฟินิชั่น เป็นมาตรฐานใหม่ในการรับชมทั้งความละเอียดของภาพและสี

ด้านนายถิรายุทธ เพ็ชรรัตนมุณี ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศระบบออกอากาศ บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด เผยว่า มีความกังวลข้อจำกัดของเทคโนโลยี เรื่องอุปกรณ์ที่ใช้งานอาจมีราคาแพง และผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการโครงข่าย ผู้ผลิตทีวี เซตท็อปบ็อกซ์ และผู้บริโภค อาจจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น 4-5 เท่า หากตามเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเข้ามาในประเทศไทย 4-5 ปี ข้างหน้า

"ยอมรับว่า แนวโน้มของเทคโนโลยีเกี่ยวกับธุรกิจทีวีดิจิตอลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในแถบยุโรป สามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้ อย่างซีไอพลัส ที่เป็นตัวป้องกันลิขสิทธิ์คอนเทนต์ ไม่ให้หลุดออกไป ซึ่งเหมาะกับธุรกิจเพลย์ทีวี แต่ไม่เหมาะสำหรับฟรีทีวีและทีวีดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ เทคโนโลยีอัลตร้าไฮเดฟฟินิชั่น จะช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงให้คมชัดยิ่งขึ้น ช่วยให้การส่งภาพและเสียงมีประสิทธิภาพ เพราะการบีบอัดจะลดลงในขณะที่ปริมาณของภาพมีจำนวนมากขึ้น" ผอ.ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศระบบออกอากาศ บ.ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ กล่าว .



โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/407353

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.